“ประมงจังหวัดจันทบุรี” มอบ “ปลากะพงขาว” ช่วยเกษตรกรบรรเทาผลกระทบปลาหมอคางดำ

สำนักงานประมงจังหวัดจันทบุรี มอบลูกพันธุ์ปลากะพงขาว จำนวน 5,000 ตัวให้แก่เกษตรกรกลุ่มเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล และชาวประมงพื้นบ้าน จำนวน 20 ราย เพื่อลดประชากรปลาหมอคางดำในบ่อเลี้ยงกุ้ง ไม่เพียงแค่เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร แต่ยังช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งน้ำธรรมชาติอีกด้วย

นายสมพร รุ่งกำเนิดวงศ์ ประมงจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า การสนับสนุนลูกพันธุ์ปลากะพงขาวแก่กลุ่มเกษตกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งทะเล และชาวประมงพื้นบ้าน เป็นส่วนหนึ่งการจัดการปัญหาปลาหมอคางดำในพื้นที่เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรและชาวประมง ปลากะพงขาวจะทำหน้าที่เป็นนักล่า ช่วยควบคุมและตัดวงจรการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ ขณะเดียวกัน เกษตรกรยังสามารถทำการจับปลาเหล่านี้มาจำหน่ายหรือใช้บริโภคในครัวเรือน ซึ่งประมงจันทบุรีได้สนับสนุนลูกพันธุ์ปลากะพงจำนวน 5,000 ตัวจากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เพื่อมอบให้กลุ่มเกษตรกรเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลนำไปปล่อยในบ่อพักน้ำเพื่อลดประชากรปลาหมอคางดำในพื้นที่บ่อเลี้ยงสัตว์ และปลากะพงยังเป็นปลาเศรษฐกิจ ที่เกษตรกรมีผลพลอยได้จากการจำหน่ายปลากะพงเมื่อโตเต็มวัย

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนกลุ่มประมงพื้นบ้านนำลูกพันธุ์ปลากะพงไปปล่อยตามลำคลองธรรมชาติ ซึ่งปลากะพงขาวมีพฤติกรรมเป็นนักล่าช่วยกำจัดลูกปลาหมอคางดำ ตัดวงจรการแพร่ระบาดของปลา ขณะเดียวกัน เกษตรกรยังสามารถจับปลามาจำหน่าย หรือบริโภคในครัวเรือนได้อีกด้วย ที่ผ่านมา จังหวัดจันทบุรีบูรณาการทุกภาคส่วนหน่วยงานในพื้นที่ ภาคเอกชน เกษตรกร และชาวประมงพื้นบ้านดำเนินยุทธวิธีแบบมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาปลาหมอคางดำ ทั้งการกำจัดออกจากแหล่งน้ำธรรมชาติ พร้อมทั้งให้ความรู้ความเข้าใจเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเกิดความตระหนักและให้ความสำคัญกับการป้องกันและกำจัดปลาหมอคางดำในบ่อเพาะเลี้ยงอย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมการนำมาใช้ประโยชน์และการบริโภค เช่น การนำไปทำน้ำหมักเป็นน้ำหมักชีวภาพสำหรับเกษตรกรสวนยาง ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาวิจัยและแปรรูปปลาหมอคางดำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ สร้างรายได้เสริมให้กับชุมชน เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส พัฒนาและสร้างความยั่งยืนในชุมชน

 

นอกจากนี้ ประมงยังร่วมมือกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริส่งเสริมให้เกษตรกรในแปลงนาโครงการศูนย์ฯ คุ้งกระเบน นำจุลินทรีย์น้ำหมักปลาหมอคางดำไปใช้ประโยชน์โดยการคลุกผสมอาหารให้กุ้งกิน มีคุณสมบัติเป็นโพรไบโอติกช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับสัตว์น้ำ สามารถป้องกันและควบคุมโรคที่ยังสามารถช่วยลดต้นทุนของเกษตรกรได้อีกด้วย

นอกจากนี้ จังหวัดยังดำเนินการสำรวจติดตามการระบาดปลาหมอคางดำสม่ำเสมอ ซึ่งในการสำรวจแต่ละครั้งยังพบปลาชนิดอื่นอีกหลายชนิด อาทิ ปลานวลจันทร์ ปลาสาก ปลาขนุน ปลากะพง จึงมองว่าแหล่งน้ำธรรมชาติในจันทบุรียังมความหลากหลายทางชีวภาพ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

จับตา! “แม่ทัพภาค2” สั่งปิดตาเมือนธม หลัง “บิ๊กอ้วน” ยื่นดาบให้ปรามเขมร
"ตราด" เปิดด่านผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ส่งผู้ป่วยฉุกเฉินชาวกัมพูชา เข้ารักษาที่รพ.ฝั่งไทย
“Thai Festival 2025 เอกลักษณ์ไทยในมุมมองที่สร้างสรรค์ ณ กรุงลิสบอน สาธารณรัฐโปรตุเกส
มติครม.เห็นชอบ แผนลดค่าใช้จ่ายพลังงาน "พีระพันธุ์" ดันติดตั้ง Solar Rooftop หักลดหย่อนภาษีได้ 2 แสน
ทรัมป์โวยลั่นชี้อิสราเอล-อิหร่านละเมิดหยุดยิงทั้งคู่
จีนขานรับทรัมป์เสนอข้อตกลงหยุดยิง
กาตาร์ยื่นหนังสือถึงยูเอ็นประณามอิหร่านโจมตีฐานทัพสหรัฐ
อิสราเอลสั่งถล่มอิหร่านต่อหลังกล่าวหาละเมิดหยุดยิง
"ฉก.ทพ. 31" ไล่สกัดจับรถกระบะ 2 คัน ยึดยาบ้า 3 ล้านเม็ด ซุกใต้กระสอบปุ๋ยขี้ไก่
ผบ.ฉก.นย.ตราดส่งผู้ป่วยฉุกเฉินชาวกัมพูชา เข้าทำการรักษาที่โรงพยาบาลเพื่อมนุษยธรรม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น