จับตา “บอร์ดคดีพิเศษ” นัด 6 มี.ค. ถกปมฮั้วเลือก สว. อนุกลั่นกรองฯ ดีเอสไอ ยันเข้าข่ายผิดอาญา อั้งยี่ ฟอกเงิน

จับตา "บอร์ดคดีพิเศษ" นัด 6 มี.ค. ถกปมฮั้วเลือก สว. อนุกลั่นกรองฯ ดีเอสไอ ยันเข้าข่ายผิดอาญา อั้งยี่ ฟอกเงิน

วันนี้ ( 3 มี.ค.) ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ มีรายงานว่า คณะอนุกรรมการกลั่นกรองด้านอาชญากรรมระหว่างประเทศและอาชญากรรมพิเศษ นำโดย ร้อยตำรวจเอกสุรวุฒิ รังไสย์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในฐานะประธานอนุกรรมการ ร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่ผู้แทน 4 หน่วย ประกอบด้วย สำนักงานอัยการสูงสุด, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางในการรับคดีฮั้วเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ปี 67 เป็นคดีพิเศษ เพื่อพิจารณากรอบอำนาจ และฐานความผิดคดีอาญา ก่อนนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ หรือ กคพ. ในวันที่ 6 มี.ค.2568

 

ข่าวที่น่าสนใจ

 

ร้อยตำรวจเอก สุรวุฒิ เปิดเผยว่า ประเด็นที่จะมีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาและพูดคุยกันวันนี้ คือ เรื่องที่เสนอนั้น เป็นการกระทำความผิดอาญาหรือไม่ และเป็นความผิดฐานใด ซึ่งเดิมที่ประชุมคณะอนุกรรมการ ฯ พบว่าเป็นความผิดฐานอั้งยี่ ,ฟอกเงิน และ ม.116 ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ค่อนข้างชัดเจน ส่วนความผิด ตามข้อหาได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือสว. จะเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต.ที่จะดำเนินการ ส่วนบอร์ดจะมีความเห็นอย่างไร อนุกรรมการฯ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ และจะต้องมีการลงมติ 2 ใน 3 โดยอาจจะมีความเห็นแย้งกับคณะอนุกรรมการฯได้

 

 

ส่วนการพิจารณาประเด็น รายชื่อ 1,200 รายชื่อ ที่มีการเผยแพร่ก่อนหน้านี้ ยืนยันว่า เอกสารหลักฐานดังกล่าวไม่ได้ถูกเปิดเผยจาก กรมสอบสวนคดีพิเศษ ส่วนจะมีต้นทางมาจากที่ใดไม่สามารถตอบได้ และจะมีการนำรายชื่อดังกล่าวมาตอบตรวจสอบหรือไม่ คงต้องรอให้มีการรับคดีนี้เป็นคดีพิเศษก่อน จึงจะมีอำนาจในการตรวจสอบข้อเท็จจริง

สำหรับการประชุมวันนี้ ได้มีการนำพยานหลักฐานทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้มาพิจารณาควบคู่ไปกับสำนวนการสืบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษว่า การกระทำดังกล่าว เข้าข่ายความผิดใดบ้าง

 

 

โดยแนวทางการทำงานหลังมีการพิจารณาของบอร์ด กคพ. หากรับเป็นคดี กรมสอบสวนคดีพิเศษร่วมกับสำนักงานอัยการสูงสุด จะมีการตั้งคณะกรรมการคดีพิเศษ เพื่อทำคดีนี้ แต่หากไม่รับเป็นคดีพิเศษ ก็จะมีการส่งสำนวนต่อ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการ ตามอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

 

 

ด้านนายนาเคนทร์ ทองไพวัลย์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด ระบุว่า จากการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทั้งหมด จากกรมสอบสวนคดีพิเศษเป็นหลัก ทำให้ที่ประชุมเชื่อว่า น่าจะมีความผิดทางอาญาตามพ.ร.ป. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสว. ซึ่งส่วนนี้จะมีการนำเสนอที่ประชุมกคพ.พิจารณาอีกครั้ง.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ขนลุก! มูลนิธิร่วมกตัญญู จัดโต๊ะจีนเชิญดวงวิญญาณตึกสตง.ถล่ม "หนุ่มกู้ภัย" ร้องลั่น "หิว ช่วยด้วย"
"เอกสิทธิ์" เผยมาตรฐาน-คุณภาพภาคอสังหาริมทรัพย์ ปัจจัยสำคัญสร้างเชื่อมั่นความปลอดภัย รองรับพิบัติภัยในอนาคต
"รมว.ท่องเที่ยว" ระดมภาครัฐ-เอกชน ถกปัญหาความปลอดภัย ฟื้นภาพลักษณ์เที่ยวไทย หลังเจอกระแสข่าวด้านลบ
นาทีชีวิต! ส่งเฮลิคอปเตอร์ EC-725 ช่วยผู้ป่วยวิกฤต ส่งถึงมือแพทย์ได้ทันเวลา
วธ. จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระกุศล "เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ" วันคล้ายวันประสูติ
"สก.นภาพล" ซัดกระทู้ถาม "กทม." เมื่อไหร่จะจ่ายคืนหนี้ BTS ย้ำดอกเบี้ยเพิ่มวันละ 4.5 ล้าน แฉฟาดรายได้ค่าโดยสาร 3 เดือน กว่า 2 พันล้าน แต่ให้เอกชนแบกภาระวิ่งรถไฟฟ้า
จีนสั่งยกเว้นภาษีสินค้านำเข้าบางประเภทจากสหรัฐ
"รองผอ." คดีฮั้วประมูล เผย "3 วิศวกร" รับลงชื่อตรวจงานสร้างตึกสตง.จริง เร่งสอบลายมืออีก 7 ราย ยังปฏิเสธ
"นายกฯ" รับมอบเงิน 5 ล้าน มูลนิธิเรนวูด ช่วยผู้ได้รับผลกระทบแผ่นดินไหว
"อดีตผู้พิพากษา" ชี้ตรง ป.ป.ช.-อสส.ไม่ทำหน้าที่โจทก์ เหตุศาลฎีกาฯ ต้องออกโรงไต่สวนเอง "ทักษิณ"ไม่ติดคุกจริงตามคำพิพากษา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น