“กนง.” ลงมติไม่เป็นเอกฉันท์ ลดดอกเบี้ยอีก 0.25% มีผลทันที

"กนง." ลงมติไม่เป็นเอกฉันท์ ลดดอกเบี้ยอีก 0.25% มีผลทันที

นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง. ในวันนี้ (26 กุมภาพันธ์ 2568)เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ จากภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่ถูกกดดันจากปัญหาเชิงโครงสร้างและการแข่งขันจากสินค้าต่างประเทศ

รวมทั้งมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากนโยบายการค้าของประเทศเศรษฐกิจหลัก แม้ว่าเศรษฐกิจจะได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศและการท่องเที่ยว

 

ข่าวที่น่าสนใจ

กรรมการส่วนใหญ่เห็นควรให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ต่อปีในการประชุมครั้งนี้ เพื่อให้ภาวะการเงินสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน รวมทั้งรองรับความเสี่ยงด้านต่ำที่ชัดเจนขึ้น

ขณะที่กรรมการ 1 ท่าน เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากให้น้ำหนักมากกว่ากับการรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินเพื่อรองรับความไม่แน่นอนที่สูงขึ้นในระยะข้างหน้า

เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ จากการระบายสินค้าคงคลังที่สูง แม้อุปสงค์ในประเทศ การท่องเที่ยว และการส่งออกสินค้าขยายตัวดี มองไปข้างหน้า เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ จากภาคการผลิตที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างและการแข่งขันจากสินค้านำเข้าที่รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ปิโตรเคมี และวัสดุก่อสร้าง ขณะที่ภาคบริการยังขยายตัวได้

 

 

ด้านอุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวจากการบริโภคภาคเอกชน ส่วนการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้จากสินค้ากลุ่มเทคโนโลยีและเกษตรแปรรูปเป็นหลัก ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามภาคการผลิตที่อาจถูกกดดันต่อเนื่อง โดยเฉพาะ SMEs ที่เผชิญปัญหาความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงผลกระทบจากนโยบายการค้าของประเทศเศรษฐกิจหลักต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทย

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มทรงตัวใกล้เคียงขอบล่างของกรอบเป้าหมาย จากปัจจัยด้านอุปทานโดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบโลกที่มีแนวโน้มลดลง รวมถึงปัจจัยเชิงโครงสร้าง อาทิ การแข่งขันด้านราคาที่สูงจากสินค้านำเข้า โดยอัตราเงินเฟ้อที่ทรงตัวในระดับดังกล่าวไม่ได้มีสัญญาณนำไปสู่ภาวะเงินฝืดหรือภาวะที่เงินเฟ้อติดลบต่อเนื่อง และยังมีส่วนช่วยบรรเทาค่าครองชีพและต้นทุนของผู้ประกอบการ ด้านอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังทรงตัวในกรอบเป้าหมาย ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อมีความเสี่ยงด้านต่ำจากแนวโน้มราคาน้ำมันดิบโลกและการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ

ภาวะการเงินยังตึงตัว แม้การขยายตัวและคุณภาพของสินเชื่อในภาพรวมเริ่มมีสัญญาณทรงตัวบ้าง แต่สินเชื่อ SMEs โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างยังหดตัวต่อเนื่อง ด้านการขยายตัวของสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนใหญ่ปรับลดลง ส่วนหนึ่งจากครัวเรือนที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้สูง

ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์ สรอ. เคลื่อนไหวผันผวนจากความไม่แน่นอนของนโยบายประเทศเศรษฐกิจหลัก คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามพัฒนาการในตลาดการเงินโลกและการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด

ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยที่ปรับลดลงอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ประเมินในครั้งนี้ และสามารถรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าได้อย่างเหมาะสม

โดยเห็นว่าแนวโน้มเศรษฐกิจที่ปรับลดลงเป็นผลจากปัจจัยเชิงโครงสร้างซึ่งจำเป็นต้องใช้นโยบายเพิ่มขีดความสามารถของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในการยกระดับศักยภาพอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะติดตามพัฒนาการแนวโน้มเศรษฐกิจการเงินอย่างใกล้ชิด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายแตะระดับ 2.00 % ในรอบ 2 ปี นับจากเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2566

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"กองทัพบก" เสียใจ สูญเสีย "พ.อ.พิฆราช" นายทหารจิตอาสาพระราชทาน ร่วมกู้ภัยเหตุตึกสตง.ถล่ม ตั้งแต่ 28 มี.ค.จนนาทีสุดท้าย ไม่เคยหยุดภารกิจ
อย่าหลงเชื่อ "คลิปวัดร่องขุ่นถล่ม" ว่อนโซเชียลฯ "อ.เฉลิมชัย" ลั่น AI มันร้าย
"ไพศาล" เผย "อนุทิน" พูดเองภท.ไม่มีปัญหาร่วมรัฐบาล ยังสนิทแน่นแฟ้น "ทักษิณ"
"ท็อป วราวุธ"นำประชุมพรรคชาติไทยพัฒนา เผยยึดคำพ่อบรรหาร เน้นทำงานให้ปชช. สร้างพันธมิตรการเมือง
"นายกฯ" ขอบคุณทุกภาคส่วน พอใจนโยบายลดตายเจ็บ 7 วันอันตราย ลดลงกว่าปีที่แล้วกว่า 25%
"นทท.ต่างชาติ" ต้องลงทะเบียนบัตร ตม.6 แบบดิจิทัล เริ่ม 1 พ.ค.นี้ ตามกฎใหม่
เปิดเทอมนี้ ครูทุกคนต้องมี “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู” หลังออกมาตรการ 5 ต. คุมเข้มทุกโรงเรียนทั่วไทย
"อุตุฯ" เตือน 49 จังหวัด รับมือฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง กทม.โดนด้วย
ชายแดนไทย-เมียนมา ระอุต่อเนื่อง "ทหารเมียนมา" ใช้เครื่องบินรบทิ้งระเบิด ใส่กกล.KNLA ก่อนถูกบุกโจมตีตอบโต้ หนีเข้าไทยอื้อ
"ลักลอบ" นำเข้าสัตว์ต่างถิ่น ปัญหาโลกแตกของไทย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น