ผอ.รพ.แจงแล้ว ปมผู้ป่วยบัตรทอง รอคิวใส่ฟันเทียมนาน 8 ปี ชี้เข้าใจคลาดเคลื่อน สสจ.นนทบุรี เตรียมส่งตัวเข้ารักษา

ผอ.รพ.แจงแล้ว ปมผู้ป่วยบัตรทอง รอคิวใส่ฟันเทียมนาน 8 ปี ชี้เข้าใจคลาดเคลื่อน สสจ.นนทบุรี เตรียมส่งตัวเข้ารักษา

ผอ.รพ.แจงแล้ว ปมผู้ป่วยบัตรทอง รอคิวใส่ฟันเทียมนาน 8 ปี ชี้เข้าใจคลาดเคลื่อน สสจ.นนทบุรี เตรียมส่งตัวเข้ารักษา

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

จากกรณีผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากนายภาคิน หรือคราม อายุ 44 ปี นักแสดง ตัวประกอบชื่อดัง ว่าได้พาคุณป้าน้อง อายุ 62 ปี ไปหาหมอ แผนกทันตกรรมชั้น 2 ที่ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี จำนวนเกือบ 10 ครั้ง แต่ไม่เคยได้รับการรักษา โดยคุณป้าน้องใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท รักษาทุกโรค ซึ่งมีพยาบาลบอกให้รอคิวนานถึง 8 ปี

เกี่ยวกับเรื่องนี้ วานนี้ (18 ก.พ. 68) ผู้สื่อข่าวเดินทางไปที่ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เพื่อสอบถามความคืบหน้ากรณีดังกล่าว โดยมี ผศ.นพ.สุรสิทธิ์ ตั้งสกุลวัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน และ ทันตแพทย์หญิงอารยา หรรษา หัวหน้างานทันตกรรม ฯ ได้ชี้แจงข้อมูลข้อเท็จจริงกับเรื่องที่เกิดขึ้น

ผศ.นพ.สุรสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน เผยว่า จากที่มีข่าวว่ามีผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลร้องเรียนถึงการเข้ามารับบริการ ขอชี้แจงว่า น่าจะเป็นการรับข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง โดยเฉพาะแผนกทันตกรรม ทางศูนย์ฯ มีระบบคิวให้ทุกวัน สำหรับผู้ป่วย Walk in จำนวน 12 คิว และผู้ป่วยนัดหมาย จำนวน 38 คิว ที่เหลือจะเป็นด้านเฉพาะทางของกลุ่มโรค กรณีที่มีภาวะฉุกเฉิน ผู้เข้ามารับบริการสามารถแจ้งกับเจ้าหน้าที่ได้ และจะมีการตรวจประเมินเบื้องต้น โดยไม่ต้องใช้ระบบคิว ถ้าจำเป็นต้องมีการรักษาต่อเนื่อง จะมีการจัดเข้าระบบคิวเหมือนคนไข้นัดหมายทั่วไป

กรณีที่บอกว่าเข้ามาจองคิวตั้งแต่ตี 2 ตนเองคิดว่า น่าจะเป็นการเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะระบบคิวของโรงพยาบาลจะเปิดรับตอน 6 โมงเช้า จนกระทั่งคิวหมดและจะปิดระบบรับคิว ไม่แน่ใจว่าได้รับข้อมูลจากที่ไหน และขอชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีทำฟันปลอมแบบถอดได้ จะมีคิวรอประมาณ 2 ปีเศษ ไม่ใช่ 8 ปี ตามที่เป็นข่าว

ทางโรงพยาบาลมีหมอเฉพาะทางในด้านการทำฟันปลอมแบบถอดได้ จำนวน 2 คน ซึ่งจะสามารถทำฟันปลอมได้ประมาณ 8 คน ต่อสัปดาห์ และกว่าจะทำฟันปลอมเสร็จ คนไข้ต้องเข้ามารับการปรับแต่งและเคลียร์ช่องปากก่อน ซึ่งต้องใช้เวลารักษาอย่างต่อเนื่อง และมีนัดหมายประมาณ 5-6 ครั้ง จนกว่าจะทำฟันปลอมเสร็จ ไม่ใช่ทำครั้งเดียวแล้วจบ ทำให้บริการทำฟันปลอมจึงต้องรอคิวนาน

ตอนนี้เบื้องต้นทางโรงพยาบาลได้ประสานไปยังผู้รับบริการทั้ง 2 คน ให้เข้ามารับบริการและมีนัดหมายคิววันศุกร์ที่ 21 ก.พ. นี้ สามารถเข้ามาติดต่อกับทางโรงพยาบาลได้ ทางศูนย์ฯ จะตรวจเบื้องต้น กรณีมีภาวะฉุกเฉินก็จะทำการเคลียร์ช่องปากให้ก่อน จากนั้นจะเข้าระบบนัดหมายของโรงพยาบาล

โดยสรุป คือ ผู้รับบริการทั้ง 2 คน ยังไม่เคยได้เข้ารับบริการตามระบบของโรงพยาบาล อาจจะเข้ามาดูและไม่มีคิวจึงกลับไป แต่หากมีการแจ้งกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจะมีการตรวจเบื้องต้นให้ก่อน ถ้าจำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อเนื่อง ก็จะเข้าระบบนัดทำฟันปลอม ทุกคนที่เข้ามารับบริการที่โรงพยาบาล มีสิทธิขั้นพื้นฐานการบริการ โดยไม่ได้แยกสิทธิ ส่วนกรณีที่ใช้สิทธิ 30 บาท และต้องรอคิวทำฟันนานถึง 8 ปี น่าจะเป็นการให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน

 

ด้านทันตแพทย์หญิงอารยา หัวหน้างานทันตกรรมฯ  เผยว่า จากที่คนไข้ให้สัมภาษณ์ว่ามารอคิวตั้งแต่ตี 2 ถึงเที่ยงวัน อยากแนะนำว่าระหว่างที่รอถ้าไม่ทราบว่าจะต้องทำอย่างไรแล้วจะได้คิว หรือหากเข้ามาหลายครั้งและไม่ได้คิว ขอให้เข้ามาติดต่อที่แผนกทันตกรรมโดยตรงได้เลย ไม่ต้องไปแค่ที่จุดรับคิว เพราะแผนกทันตกรรมจะได้แนะนำขั้นตอน ทางศูนย์ฯ มีทางออกอื่นอีกหลายด้าน ทั้งคลินิกนอกเวลา เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับทุกเคส ไม่ใช่เฉพาะเคสนี้ หรือเข้าระบบนัดหมาย ไม่ต้อง Walk in หรือจับบัตรคิวตลอด
ต่อมา นางวิมลรัตน์ เชาวินัย พยาบาลชำนาญการพิเศษ หัวหน้าหน่วยบริหารความเสี่ยง ฯ ได้พาผู้สื่อข่าวเดินสำรวจบริเวณแผนกทันตกรรม มีจุดรับคิวบริการ ที่ชั้น 1 โดยมีป้ายติดประกาศเปิดรับคิวเวลา 06.00 น. และปิดให้บริการเวลา 15.00 น. จำนวน 12 คิวต่อวัน ซึ่งมีจุดให้บริการแผนกทันตกรรมที่ชั้น 2 มีป้ายระบุไว้ชัดเจนถึงขั้นตอนการให้บริการต่างๆ
ซึ่งเมื่อนอกเวลาทำการแผนกทันตกรรมจะทำการปิดระบบและไม่มีเจ้าหน้าที่ให้บริการในช่วงเวลา ตี 2 ตามที่เป็นข่าว เบื้องต้นยังไม่ทราบว่าทางผู้เข้ามารับบริการได้มีการสื่อสารกับใครว่าต้องรอคิวทำฟันปลอมนานถึง 8 ปี และในช่วงเวลาดังกล่าวทางแผนกทันตกรรมไม่มีพยาบาลให้บริการ

 

 

 

 

 


ขณะที่ทางด้านทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะโฆษก สปสช. กล่าวว่า ตามที่มีการนำเสนอข่าวกรณีผู้ป่วยทันตกรรม สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท) เข้ารับบริการทำฟันที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน จ.นนทบุรี และได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่าต้องรอคิวบริการนานถึง 8 ปีนั้น เรื่องนี้น่าจะเกิดจากข้อมูลที่ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการบริหารจัดการคิวบริการของโรงพยาบาลดังกล่าว แต่ในส่วนของระบบบัตรทองนั้น สปสช. ยืนยันในสิทธิประโยชน์บริการทันตกรรมที่ครอบคลุมเพื่อมอบให้กับประชาชนคนไทยผู้มีสิทธิทุกคน

อย่างไรก็ดีหลังจากทราบข้อมูล ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 4 สระบุรี ได้พูดคุยกับผู้ป่วยแล้ว และได้มีประสานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนนทบุรี (สสจ.) โดยแนวทางเบื้องต้นจะนำผู้ป่วยเข้ารับบริการที่โรงพยาบาลปากเกร็ด เนื่องจากสภาวะในช่องปากจำเป็นต้องได้รับการใส่ฟัน ขณะนี้ทาง สสจ.นนทบุรี ได้มีการประสานคิวบริการกับทาง รพ.ปากเกร็ด แล้ว เพื่อให้ผู้ป่วยเข้ารับบริการโดยใช้สิทธิบัตรทอง ไม่เสียค่าใช้จ่าย

ทพ.อรรถพร กล่าวเพิ่มเติมว่า ธรรมชาติของการให้บริการทันตกรรม เป็นการรักษาที่ต้องทำหัตถการแทบทุกราย แต่ละเคสต้องใช้เวลามากน้อยขึ้นอยู่กับความยากง่าย จึงมีข้อจำกัดในการให้บริการประชาชนจำนวนมากในแต่ละวัน คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) จึงหาทางเพิ่มช่องทางการเข้าถึงการรักษา โดยการเชิญชวนคลินิกทันตกรรมเอกชนมาช่วยให้บริการทันตกรรมพื้นฐาน ได้แก่ อุดฟัน ถอนฟัน ขุดหินปูน เคลือบหลุมร่องฟัน และเคลือบฟลูออไรด์ ซึ่งเป็นบริการที่มีความต้องการมาก เพื่อแบ่งเบาภาระของหน่วยบริการภาครัฐ ทำให้ทันตแพทย์เฉพาะทางได้มีเวลาให้การรักษาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

ปัจจุบันมีคลินิกทันตกรรมเอกชนที่ขึ้นทะเบียนในระบบแล้วจำนวน 1,427 แห่ง ร่วมให้บริการ 30 บาทรักษาทุกที่ ที่ครอบคลุมบริการทันตกรรม 5 รายการ ดังนี้ 1. ขูดหินปูน 2. อุดฟัน 3. ถอนฟัน 4. เคลือบหลุมร่องฟัน และ 5. เคลือบฟลูออไรด์ โดยประชาชนสามารถเข้ารับบริการได้ปีละ 3 ครั้ง

ส่วนกรณีการทำฟันเทียมและรากฟันเทียมนั้น ประชาชนสามารถติดต่อรับบริการโดยใช้สิทธิบัตรทองได้ที่ รพ.รัฐประจำอำเภอและ รพ.รัฐประจำจังหวัด (รพ.สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข) ทุกแห่ง

“หน่วยบริการนวัตกรรมคลินิกทันตกรรมนั้น ที่ผ่านมามี รพ.หลายแห่ง ได้ดึงคลินิกทันตกรรมเหล่านี้ ร่วมเป็นเครือข่ายบริการ เช่นที่ รพ.แพร่ มีคลินิกทันตกรรมเป็นเครือข่ายบริการ โดยร่วมให้บริการทันตกรรม 5 รายการข้างต้นนี้ ซึ่งทำให้ทันตแพทย์ที่โรงพยาบาลสามารถใช้เวลาในการรักษาผู้ป่วยทันตกรรมที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น ทั้งการใส่ฟันเทียมและรากฟันเทียม ซึ่งเป็นต้นแบบของการจัดบริการทันตกรรมเพื่อลดคิวผู้ป่วยได้” ทพ.อรรถพร กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ไผ่ ลิกค์" ลั่นนักการเมือง ติดต่อร่วมงาน "กล้าธรรม" เพียบ เสียงในสภาฯเกิน 30 แล้ว แจง. "สส.กฤษฏิ์" เข้าหารือ แก้ปัญหาในพื้นที่
"นฤมล" แถลงตั้ง "อนุดิษฐ์" นั่งปธ.ยุทธศาสตร์ พรรคกล้าธรรม เดินหน้าพัฒนาแพลตฟอร์มเชื่อมโยง ปชช. มั่นใจอนาคต ขยับสส.ได้ถึง 100
วงจรปิดจับภาพ คนร้าย ขี่ จยย. กระชากกระเป๋าสาวเดินริมถนนถูกลากไปตามถนนจนบาดเจ็บ
โรงงานเคมีจีนระเบิดที่มณฑลชานตง
"ณฐพร" แจงโดนกล่าวหาร่วมฟอกเงิน ที่ดินสหกรณ์คลองจั่น ศาลยกฟ้องคดีหลักแล้ว พร้อมสู้คดีรอง ลั่นมาจับเลยไม่ได้ ต้องมีหมายเรียก DSI
“สมศักดิ์” รับติดใจ “อนุฯแพทยสภา” ใช้เวลาสั้น ๆ เปลี่ยนแปลงโทษ 3 หมอ ขอข้อมูลเพิ่มแต่ไม่ได้รับ ย้ำจะทำหน้าที่ให้ดูดีที่สุด
"ทักษิณ" โชว์วิชั่นปราบยาเสพติด ย้ำต้องแข็งกร้าว เล็งจัดการ “กลุ่มว้าแดง” ลั่นอย่าปรานีศัตรู แนะมท.-ตำรวจร่วมกันทำงาน
หลี่เฉียงเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน-อ่าวอาหรับครั้งแรก
"กรมลดโลกร้อน" ร่วมเปิดตัว ‘Thailand Taxonomy 2.0’ ยกระดับมาตรฐานเศรษฐกิจสีเขียว ขับเคลื่อนไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน
"ทักษิณ" ออกโรงเอง ยันก.คลังขายข้าวจำนำเพิ่ม ใช้ลดหนี้หมื่นล้าน "ยิ่งลักษณ์" ได้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น