ดีเอสไอ สแกน 3 จุดใต้น้ำเจ้าพระยา รอบบ่าย หาหลักฐานคดี “แตงโม นิดา” คาด 2 สัปดาห์รู้ผล

ดีเอสไอ สแกน 3 จุดใต้น้ำเจ้าพระยา รอบบ่าย หาหลักฐานคดี "แตงโม นิดา" คาด 2 สัปดาห์รู้ผล

วันนี้ ( 17 ก.พ.) เมื่อเวลาประมาณ 12.40 น. มีรายงานความคืบหน้า หลังกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ ได้ปฏิบัติภารกิจล่องเรือสำรวจแม่น้ำเจ้าพระยา ในช่วงเช้าที่ผ่านมา ผ่านไป 4 จุดในฝั่งทิศใต้ ประกอบด้วย บริเวณท่าทราย วัดค้างคาว ,ท่าเรือพิบูลสงคราม 1 , จรัญสนิทวงศ์ 92 เพื่อสำรวจภูมิประเทศใต้ลำน้ำเจ้าพระยาในบริเวณทั้ง 3 จุด และเก็บข้อมูลทางอากาศ เพื่อนำไปใช้ประกอบการสืบสวนสอบสวนคดีการเสียชีวิตของ “แตงโม นิดา”

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

พ.ต.ต.ณฐพล ดิษยธรรม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า ผลที่ได้จากการตรวจสภาพที่เกิดเหตุทั้ง 3 จุด จะทำให้ทราบข้อมูล เกี่ยวกับบาดแผลยาวที่โคนขาด้านใน ที่เราสงสัยว่าโดนใบพัดเรือ แท้จริงแล้วเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ บริเวณดังกล่าวมีวัตถุหรือสิ่งก่อสร้างอะไรหรือไม่ ที่ทำให้ให้เกิดบาดแผบในลักษณะดังกล่าวกับร่างของผู้เสียชีวิตขณะจมอยู่ในน้ำ ซึ่งสิ่งเหล่านี้โซลาร์ใต้น้ำจะบอกได้ว่า ในบริเวณดังกล่าวมีอะไรที่สงสัยได้หรือไม่

 

 

 

 

 

 

 

พ.ต.ต.ณฐพล กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ในครั้งนี้ จะถูกมอบให้กับแพทย์นิติเวช ที่เราเชิญมาร่วมตรวจสอบ รวม 10 สถาบัน นอกจากนี้ ในเส้นทางที่ตรวจทั้งหมดตามลำน้ำต่างๆ ตัวสแกนเนอร์จะเก็บภาพตลอดลำน้ำเจ้าพระยาทั้งหมด ตรงไหนมีกล้องวงจรปิด มีสิ่งที่เรือสามารถส่งคนขึ้นท่าได้ เราจะเก็บมาวิเคราะห์ทั้งหมด และจะนำมาตรวจซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อที่จะมาวิเคราะห์ร่วมกับคำให้การของบุคคลและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

พ.ต.ต.ณฐพล กล่าวต่อไปว่า หลังจากนี้ ประมาณ 2 สัปดาห์ ผลการวิเคราะห์ต่างๆ ก็จะออกมา ซึ่งจะมีการนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศ โดยในวันที่ 20 ก.พ. นี้ ตนจะเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับคดีอาชญากรรมคดีหนึ่ง และจะนำผลการสอบคดีแตงโมในครั้งนี้ไปปรึกษาด้วย เพื่อนำมาช่วยตรวจสอบวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

ขณะที่ นายไกรศรี สว่างศรี ผู้อำนวยการส่วนแผนที่และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ และคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า การดำเนินการครั้งนี้ ทำด้วยมาตรฐานที่เป็นกลาง เครื่องมือต่างๆ รวมถึงพิกัดต่างๆมีการอ้างอิงจากโครงข่าย GPS ของชาติ ดังนั้น การทำข้อมูลครั้งนี้ จะเป็นมาตรฐานอย่างมาก โดยอุปกรณ์สำคัญที่ใช้จะประกอบด้วย 3 ส่วน ๆแรก จะใช้เรือสำรวจใต้น้ำและคลื่นโซนาของกรมชลประทาน สำรวจทำให้เห็นภูมิประเทศใต้น้ำทั้งหมด ว่า มีความลึกอย่างไร มีสิ่งกีดขวางอย่างไรบ้าง ส่วนการสำรวจจากมุมสูง กรมชลประทานจะใช้โดรน ติดเลเซอร์ขึ้นไปบินสำรวจและสแกนพื้นที่ทั้งหมด และสุดท้ายจะเป็นเครื่องมือคล้ายกับเลเซอร์สแกน แต่เป็นการเก็บแบบละเอียด

 

 

โดยช่วงเช้าที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้ ลงพื้นที่วัดค้างคาว ซึ่งเป็นจุดที่คิดว่า มีการจอดเรือเป็นระยะเวลานาน ซึ่งได้มีการสำรวจเก็บข้อมูล บริเวณท่าเรือปถึงประตูน้ำทั้งหมดแล้ว โดยข้อมูลจากการสำรวจทั้งหมดจะถูกนำมาประมวล โดยใช้ประมาณ 1 สัปดาห์ ก็จะได้ข้อมูลพื้นที่เกิดเหตุทั้งหมด หลังจากนั้นพนักงานสอบสวนจะนำหลักฐานที่ได้จากการสืบสวน ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่ง GPS ของที่เกิดเหตุ ตำแหน่งของสัญญาณโทรศัพท์ ตำแหน่งของกล้องวงจรปิดต่างๆ ก็จะมาอยู่ในระบบทั้งหมดเพื่อที่จะให้เกิดความชัดเจน

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ม.นเรศวร" สั่งเลิกจ้าง "ดร.พอล" โดนร้องทำผิดคดี 112 ตม.ยึดหนังสือเดินทาง เหตุถูกเพิกถอนวีซ่า
สศร. เผยโฉมทัพศิลปินไทย-ต่างชาติกลุ่มสอง 15 ศิลปิน "กลุ่มศิลปิน" ร่วมสร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัยในงาน Thailand Biennale, Phuket 2025
"มหาดไทย" ขับเคลื่อนจัดรูปที่ดินนราธิวาส สุไหงโก-ลก พลิกโฉมเมืองชายแดน สู่การเติบโตที่ยั่งยืน
ยังไม่จบ "มาดามเมนี่" อัปเดตยังได้ของคืนไม่ครบ ยื่นคำขาด 10 วัน ลั่นขอเจรจา "ดิว อริสรา" ปมยืมของหรู
เปิดปฏิบัติการ "FOX Hunt" ทลายแก๊งหลอกลงทุน FOX Wallet ปลอม รวบ 8 สมาชิกจีนดำ-ไทยดำ ยึดทรัพย์กว่า 3 ล้านบาท
"บิ๊กต่าย" สั่งสอบ ตร.พาผู้ต้องหา ลักลอบนำข้อสอบฯ ออกจากโรงพัก ย้ำใครผิดว่าไปตามผิด
กรุงไทยนำเทรนด์! จับมืออินฟลูฯสายท่องเที่ยว สร้างปรากฏการณ์ TOURIST สู่ TOURICH ผ่าน Krungthai Travel Debit Card
สสจ.มุกดาหาร ยืนยันพบผู้ติดเชื้อ "แอนแทรกซ์" เพิ่ม 1 ราย รอผลตรวจกลุ่มเสี่ยงอีก 3 ราย
TPIPL จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568
เพราะทะเลคือชีวิต ซีพีร้อยเรียงความดีผนึกชุมชน ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ 76 ล้านตัว สร้างความยั่งยืนให้ชายฝั่งตราด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น