“สภาพัฒน์” สรุปศก.ไทยปี 67 ขยายตัว 2.5% ปี 68 คงประมาณการ 2.3-3.3%

"สภาพัฒน์" สรุปศก.ไทยปี 67 ขยายตัว 2.5% ปี 68 คงประมาณการ 2.3-3.3%

“สภาพัฒน์” สรุปศก.ไทยปี 67 ขยายตัว 2.5% ปี 68 คงประมาณการ 2.3-3.3%

 

ข่าวที่น่าสนใจ

17 ก.พ.2568 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. หรือสภาพัฒน์ แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 ทั้งปี 2567 และแนวโน้มปี 2568 ว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4/2566 ขยายตัว 3.2% เมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2567 ขยายตัวจากไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 ที่ 0.4%

โดยเศรษฐกิจไทยปี 2567 ขยายตัว 2.5% เร่งขึ้นจากการขยายตัว 2% ในปี 2566 ปัจจัยหลักมาจากการบริโภคภาคเอกชนและการอุปโภคภาครัฐบาลขยายตัว 4.4% และ 2.5% ,การลงทุนภาครัฐขยายตัว 4.8% ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนลดลง 1.6% ส่วนมูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 5.8% อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 0.4% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.3% ของ GDP

 

 

 

ทั้งนี้ สภาพัฒน์ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.3-3.3 โดยค่ากลาง 2.8% คาดว่าการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัว 3.3% และ 3.2% ส่วนมูลค่าการส่งออกในรูปดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 3.5% อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.5-1.5% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.5% ของ GDP โดยมีปัจจัยสนับหนุนจากการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายภาครัฐ โดยเฉพาะรายจ่ายลงทุน การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการบริโภคภาคเอกชนและการปรับตัวดีขึ้นของการลงทุนภาคเอกชน การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวเนื่อง การขยายตัวต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า

สำหรับรายละเอียดการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2568 ได้แก่
1.การเตรียมการรับมือผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าของประเทศคู่ค้า โดยการเจรจาและเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ,การปกป้องภาคการผลิตจากการทุ่มตลาดและการใช้นโยบายการค้าที่ไม่เป็นธรรม ,การเร่งรัดการส่งเสริมการส่งออกสินค้าที่ไทยมีศักยภาพ และการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจบริหารจัดการความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน

2.การเร่งรัดการลงทุนภาคเอกชนให้กลับมาขยายตัว โดยการเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติ เพื่อดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ,การเร่งรัดนักลงทุนที่ได้รับการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2565 – 2567 ให้เกิดการลงทุนจริงโดยเร็ว , การพัฒนาระบบนิเวศที่เหมาะสมเพื่อดึงดูดอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมายให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ,การเพิ่มผลิตภาพการผลิตผ่านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูง

3.การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อให้เม็ดเงินรายจ่ายภาครัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนไม่ให้ต่ำกว่า 75% ของกรอบงบลงทุนรวม

4.การสร้างการรับรู้มาตรการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐเพื่อแก้ปัญหาหนี้สินภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ เพื่อให้ลูกหนีโดยเฉพาะลูกหนี้รายย่อยและธุรกิจ SMEs ได้รับความช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างหนี้และสามารถช่าระหนี้ได้อย่างเหมาะสมตามศักยภาพ

5. การขับเคลื่อนภาคการท่องเที่ยวให้ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยให้ความสำคัญกับการเร่งรัดแก้ไขปัญหา PM2.5)ควบคู่ไปกับการรักษามาตรฐานความปลอดภัยและการเตรียมความพร้อมของปัจจัยแวดล้อมด้านการท่องเที่ยว อาทิ สนามบิน/เที่ยวบิน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

กรุงไทยนำเทรนด์! จับมืออินฟลูฯสายท่องเที่ยว สร้างปรากฏการณ์ TOURIST สู่ TOURICH ผ่าน Krungthai Travel Debit Card
สสจ.มุกดาหาร ยืนยันพบผู้ติดเชื้อ "แอนแทรกซ์" เพิ่ม 1 ราย รอผลตรวจกลุ่มเสี่ยงอีก 3 ราย
TPIPL จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568
เพราะทะเลคือชีวิต ซีพีร้อยเรียงความดีผนึกชุมชน ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ 76 ล้านตัว สร้างความยั่งยืนให้ชายฝั่งตราด
ไม่รอด จนท.จับรถบรรทุกแตงกวา ยัดไส้ขน "แรงงานต่างด้าว" ชาวเมียนมา ลอบเข้าประเทศ
ศาลอุทธรณ์ให้ประกัน "ประยุทธ มหากิจศิริ" แล้ว วางหลักประกัน 1 ล้าน ห้ามออกนอกประเทศ
แนะนำ 10 ศูนย์กายภาพบำบัดในกรุงเทพ 2025 เลือกที่ไหนดี
"สมศักดิ์ แสงสุริยา" กับเทคนิคเลี้ยงกุ้งให้รอด ณ สมุทรสงคราม
‘อธิบดีโยธาฯ’ มั่นใจแบบจำลองโมเดล พิสูจน์หาสาเหตุ ‘ตึกสตง.’ถล่มได้ คาด 90 วันรู้ผล
สนง.สลากฯ เปิดตัว ‘ยูนิฟอร์ม’ จำหน่ายสลาก N3 เพิ่มความสะดวกให้ผู้ซื้อ ยันไม่กระทบยอดขาย L6

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น