ครม.ไฟเขียว “พ.ร.ก.ปราบคอลเซ็นเตอร์” ให้ “แบงก์-ค่ายมือถือ” ร่วมรับผิดชอบความเสียหาย คาดบังคับใช้ก.พ.นี้

ครม.ไฟเขียวพ.ร.ก.ปราบคอลเซ็นเตอร์ แบงก์-ค่ายมือถือต้องร่วมรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น คาดบังคับใช้ก.พ.นี้

ครม.ไฟเขียว “พ.ร.ก.ปราบคอลเซ็นเตอร์” ให้ “แบงก์-ค่ายมือถือ” ร่วมรับผิดชอบความเสียหาย คาดบังคับใช้ก.พ.นี้ – Top News รายงาน

ครม.

เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการผประชุม ครม.ว่า ที่ประชุมเห็นชอบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอี เสนอแก้ไขพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยพระราชกำหนดฉบับนี้มีสาระสำคัญ ดังนี้

 

ข่าวที่น่าสนใจ

1. เพิ่มอำนาจการดำเนินการกับแพลตฟอร์มออนไลน์ P2P หรือ Peer-to-Peer Lending ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด
2.เพิ่มหน้าที่ให้สำนักงาน กสทช. หรือผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ มีหน้าที่สั่งระงับการให้บริการเลขหมายโทรศัพท์สำหรับบริการโทรศัพท์มือถือเป็นการชั่วคราว เมื่อพบเหตุอันควรสงสัย
3. เพิ่มหน้าที่การส่งข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีม้าของธนาคารต่างๆ ไปยัง ปปง. เพื่อตรวจสอบและคืนเงินให้กับผู้เสียหายได้รวดเร็วมากขึ้น
4. เพิ่มบทลงโทษแพลตฟอร์ม P2P รวมถึงธนาคารที่ไม่ปฏิเสธการเปิดบัญชีของคนร้าย
5. เพิ่มบทลงโทษผู้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
6. เพิ่มบทลงโทษให้สถาบันทางการเงิน เครือข่ายมือถือ สื่อสังคมออนไลน์ มีส่วนรับผิดชอบกับความเสียหายที่เกิดขึ้น

ส่วนเหตุผลความเร่งด่วนตามการชี้แจง ในที่ประชุม ครม. มีดังนี้
1.รัฐบาลพบว่าประชาชนยังได้รับความเสียหายเฉลี่ยต่อวัน 60 – 70 ล้านบาท จึงจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนในการดำเนินการแก้ปัญหานี้
2.พระราชกำหนดฉบับเดิม พ.ศ. 2566 ยังขาดอำนาจหน้าที่และการกำหนดโทษ หลาย ๆ ประเด็น โดยเฉพาะอำนาจการดำเนินการกับบัญชีม้าบนแพลตฟอร์ม P2P, อำนาจการคืนเงินให้กับประชาชน, และการรับผิดร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด

นายจิรายุ กล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรีได้สอบถามถึงการประกาศใช้เป็นพระราชกำหนดว่า จะสามารถจัดการกระบวนการหลอกลวงที่เป็นปัญหาสังคมอยู่ในขณะนี้ได้อย่างไร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับนี้มีความเห็นอย่างไร โดยเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า หาก ครม.พิจารณาแล้วเห็นว่าการกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ และเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยสาธารณะและความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ ย่อมสามารถพิจารณาอนุมัติหลักการร่างพระราชกำหนดดังกล่าวได้ ขณะที่ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรงดีอี รายงานในที่ประชุมว่ากฎหมายฉบับนี้ถือเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และจะสามารถป้องกันและปราบปรามได้มากยิ่งขึ้น

จากนั้นที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติในหลักการตามที่กระทรวงดิจิทัลฯ เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา รับร่างพระราชกำหนดฉบับนี้ไปพิจารณาปรับรูปแบบ โดยให้รับความเห็นหน่วยงานไปประกอบการพิจารณา ซึ่งเลขาธิการกฤษฎีกา ระบุจะใช้เวลาไม่เกิน 30 วัน คาดว่าประกาศบังคับใช้ได้ในเดือนกุมภาพันธ์นี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ขนลุก! มูลนิธิร่วมกตัญญู จัดโต๊ะจีนเชิญดวงวิญญาณตึกสตง.ถล่ม "หนุ่มกู้ภัย" ร้องลั่น "หิว ช่วยด้วย"
"เอกสิทธิ์" เผยมาตรฐาน-คุณภาพภาคอสังหาริมทรัพย์ ปัจจัยสำคัญสร้างเชื่อมั่นความปลอดภัย รองรับพิบัติภัยในอนาคต
"รมว.ท่องเที่ยว" ระดมภาครัฐ-เอกชน ถกปัญหาความปลอดภัย ฟื้นภาพลักษณ์เที่ยวไทย หลังเจอกระแสข่าวด้านลบ
นาทีชีวิต! ส่งเฮลิคอปเตอร์ EC-725 ช่วยผู้ป่วยวิกฤต ส่งถึงมือแพทย์ได้ทันเวลา
วธ. จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระกุศล "เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ" วันคล้ายวันประสูติ
"สก.นภาพล" ซัดกระทู้ถาม "กทม." เมื่อไหร่จะจ่ายคืนหนี้ BTS ย้ำดอกเบี้ยเพิ่มวันละ 4.5 ล้าน แฉฟาดรายได้ค่าโดยสาร 3 เดือน กว่า 2 พันล้าน แต่ให้เอกชนแบกภาระวิ่งรถไฟฟ้า
จีนสั่งยกเว้นภาษีสินค้านำเข้าบางประเภทจากสหรัฐ
"รองผอ." คดีฮั้วประมูล เผย "3 วิศวกร" รับลงชื่อตรวจงานสร้างตึกสตง.จริง เร่งสอบลายมืออีก 7 ราย ยังปฏิเสธ
"นายกฯ" รับมอบเงิน 5 ล้าน มูลนิธิเรนวูด ช่วยผู้ได้รับผลกระทบแผ่นดินไหว
"อดีตผู้พิพากษา" ชี้ตรง ป.ป.ช.-อสส.ไม่ทำหน้าที่โจทก์ เหตุศาลฎีกาฯ ต้องออกโรงไต่สวนเอง "ทักษิณ"ไม่ติดคุกจริงตามคำพิพากษา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น