จี้เร่งบังคับใช้กฎหมายจัดการ “บ่อกุ้งร้าง” แหล่งเพาะพันธุ์ปลาหมอคางดำ

จี้เร่งบังคับใช้กฎหมายจัดการ "บ่อกุ้งร้าง" แหล่งเพาะพันธุ์ปลาหมอคางดำ

เมื่อวันก่อนภาพข่าวที่ถูกเผยแพร่บนโลกโซเชียล แสดงให้เห็นถึงจำนวนปลาหมอคางดำในบ่อกุ้งร้างที่จังหวัดสมุทรสงคราม ทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงหลายแง่มุมของสถานการณ์นี้

กรณีที่ 1. ตามข้อมูลที่กรมประมงเผยแพร่ ปริมาณปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติลดลงอย่างเห็นได้ชัด และสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ แต่ปัญหายังคงอยู่ที่บ่อกุ้งร้างที่มีเจ้าของ ซึ่งกรมประมงไม่สามารถเข้าไปดำเนินการกำจัดปลาได้ ดังนั้น การปรับแก้กฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงจึงเป็นสิ่งจำเป็น

กรณีที่ 2. บ่อกุ้งร้างกลับกลายเป็นพื้นที่เพาะพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับปลาหมอคางดำ เนื่องจากมีน้ำที่นิ่ง ทำให้สามารถขยายพันธุ์ได้ง่าย หากเจ้าของบ่อไม่ดูแล ปลาหมอคางดำจะเพิ่มจำนวน และอาจหลุดลอดออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ สร้างปัญหาให้ต้องแก้ไขซ้ำในแหล่งน้ำสาธารณะอีกครั้ง

กรณีที่ 3. มีกรณีที่เจ้าของบ่อ อาจจงใจปล่อยให้ปลาหมอคางดำเติบโต โดยไม่อนุญาตให้ใครเข้ามาจับปลาเลย รอเพียงงบประมาณจากรัฐ เพื่อจะจับปลาไปขายในราคาที่รัฐกำหนด ซึ่งมักให้ราคาที่สูง บุคคลกลุ่มนี้นับว่าเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนอย่างชัดเจน

กรณีที่ 4. กฎหมายของกรมประมงได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ห้ามเลี้ยงและเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ หากพบเจ้าของบ่อที่ฝ่าฝืน รัฐควรใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาหมอคางดำหลุดออกสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ

ข่าวที่น่าสนใจ

ก่อนหน้านี้ผู้เขียนได้แนะนำวิธีป้องปรามว่าควรกำหนดกรอบเวลาให้เจ้าของบ่อร้าง ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ประมงในการตรวจสอบ โดยแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับบ่อร้างที่ตนมี เพื่อให้รัฐสามารถเข้ามาดำเนินการจับปลาออกไปได้อย่างรวดเร็ว โดยปลาเหล่านี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ เช่น ผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ หรือร่วมกับกรมราชทัณฑ์ ให้ผู้ต้องขังได้มีส่วนร่วมในการจับปลา และนำปลาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งถือว่า Win-Win สำหรับทุกฝ่าย ขณะเดียวกัน รัฐควรให้ความรู้แก่เจ้าของบ่อในการเตรียมบ่อและจัดหาวัสดุต่าง ๆ เช่น “กากชา” เพื่อช่วยกำจัดปลาหมอคางดำก่อนจะเริ่มการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

อย่างไรก็ตาม เมื่อพ้นกำหนดขอบเขตระยะเวลาให้เจ้าของบ่อร้างได้แจ้งเจ้าหน้าที่แล้ว ก็ถึงคราวต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้นมิให้มีปลาหมอคางดำหลงเหลือในบ่อร้าง เพื่อลดความเสี่ยงที่ปลาจะหลุดสู่แหล่งน้ำธรรมชาติได้อีก โดยรัฐควรกำหนดเกณฑ์การตรวจสอบ ความถี่ในการติดตาม ตลอดจนบทลงโทษที่เด็ดขาดชัดเจน

ยิ่งขณะนี้ดูเหมือนจะมีความพยายามให้ข้อมูลสังคม ในทิศทางที่กล่าวหาว่าภาครัฐหลอกลวงว่าปลาลดลง จึงควรที่จะใช้กฎหมายที่มีอย่างเข้มข้น หาไม่แล้วจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เกินจริง ซึ่งอาจสร้างความแตกแยกในสังคมได้

โดย ปิยะ นทีสุดา
ขอบคุณภาพ : mgronline

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ชัชชาติ" พาคนกรุงฯแบกภาระดอกเบี้ยวันละ 5.4 ล้าน ต่อไป อ้างเหตุยื้อจ่ายหนี้ BTS งวด 2 รอศาลปกครองชี้ผลคดีค้างชำระเงิน
"บิ๊กอ้วน"อำลากลาโหม ยันเซ็นแล้วซื้อเรือดำน้ำทร. ฝูงบินกริพเพนต้องรอรมว.กลาโหมคนใหม่
“ศบ.ทก.” ยันภารกิจชายแดนยังเดินหน้าต่อเนื่อง แม้อยู่ในช่วงปรับ ครม. เตรียมประชุมเจบีซี ก.ย.นี้
"ผู้ว่า ททท." เผยปชช.ลงทะเบียน "เที่ยวไทยคนละครึ่ง" สำเร็จแล้วกว่า 3.73 แสนคน
"ชาวกัมพูชา" นับร้อย แห่ข้ามแดนกลับประเทศ หวังร่วมทำงานกับ "กลุ่มจีนเทา"
"กมธ.สว." เชื่อ "แพทองธาร" สะดุดเก้าอี้ รมว.วัฒนธรรม ย้ำหมดคุณสมบัติ ปมจริยธรรม ถึงแก้เกมก็ไม่รอด
Pacific Links Thailand จัดกิจกรรมขอบคุณสื่อมวลชน พร้อมเปิดตัวแพ็กเกจสมาชิกองค์กรสุดเอ็กซ์คลูซีฟ ตอกย้ำภาพลักษณ์ผู้นำประสบการณ์กอล์ฟระดับโลกในประเทศไทย
"พระลูกวัด" วัดม่วง บางแค พบพิรุธล็อกประตูกุฏิ 5 ชั้น เงิน-ทองหายไร้รอยงัด รอตร.สอบขยายผล
“พล.ท.นันทเดช” โต้พรรคส้ม ยันม็อบ “รวมพลังแผ่นดินฯ” ไม่ใช่คนรุ่นเก่า จวกกลับฝ่ายค้าน อยู่ 2 ปีกว่า ไม่เคยทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
วงจรปิดจับภาพชัด สาวข้ามทางม้าลาย "รถเมล์" เปิดเลนย้อนศร ชนกระเด็น ด้านเพื่อนเผยอาการล่าสุด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น