“วราวุธ” ขออย่านำ “เกาะกูด” เป็นประเด็นการเมืองระหว่างประเทศ ชี้ MOU 44 ไม่เกี่ยวข้อกังวลทุกฝ่าย

“วราวุธ” ขออย่านำปม เกาะกูด มาเป็นประเด็นการเมืองระหว่างประเทศ ชี้ เป็นพื้นที่ของไทยอยู่แล้ว ยัน ไม่มีความขัดแย้ง-ไม่เกี่ยวกับอธิปไตย

“วราวุธ” ขออย่านำ “เกาะกูด” เป็นประเด็นการเมืองระหว่างประเทศ ชี้ MOU 44 ไม่เกี่ยวข้อกังวลทุกฝ่าย – Top News รายงาน

วราวุธ

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 ที่ทำเนียบฯ ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงเรื่องบันทึกข้อตกลงไทย-กัมพูชา (MOU 2544) เกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ภายหลังกัมพูชาลากเส้นแบ่งเขตทับเกาะกูด ว่า ขอให้ความสบายใจว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ กัมพูชาและไทย ไม่ได้มีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับเกาะกูดเลย เนื่องจากกัมพูชาไม่ได้มีความสนใจในพื้นที่ตรงนี้ตั้งแต่แรก และเส้นเขตแดนนั้น ไม่มีเกาะกูดเข้ามาเกี่ยวข้อง

นายวราวุธ กล่าวว่า ทุกพรรคการเมือง โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี เตะทิ้งไปได้ ไม่ได้อยู่ในข้อสังเกต ข้อกังวล ของ MOU 2544 แต่ประเด็นที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการที่ประเทศไทยใช้มาตรการลากเส้นแบ่งเขตแดนแบบหนึ่ง แต่กัมพูชาใช้อีกแนวคิดหนึ่ง ซึ่งไม่ตรงกัน จึงทำให้เกิดพื้นที่ทับซ้อนขึ้นมา และพื้นที่ทับซ้อนตรงนี้ ก็มีทรัพยากรที่อยู่ใต้ดิน คือปิโตรเลียม จึงทำให้ต้องมีการพูดคุยกัน

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายวราวุธ กล่าวว่า ไม่ใช่ข้อขัดแย้ง แต่เมื่อมีความเห็นไม่ตรงกัน จึงต้องมีคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา (JTC) เกิดขึ้น ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มีการปรึกษาหารือกันโดยตลอด แต่เมื่อมาถึงจุดนี้แล้ว ในการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล จากนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี มาสู่ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จึงทำให้ต้องมีการตั้งเจทีซีของไทยขึ้นมาใหม่ ขณะที่ เจทีซีกัมพูชายังมีอยู่

“ผมขอฝากประชาชนว่า อย่าเอาประเด็นการเมืองมาสู่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ เพราะเป็นคนละประเด็นกัน การทำงานระหว่างไทยและกัมพูชา เป็นการพูดคุย และหารือ เพื่อให้ได้ข้อตกลงร่วมโดยเร็วที่สุด ไม่ได้มีความขัดแย้ง และที่สำคัญไม่ได้เกี่ยวข้องกับอธิปไตยของเกาะกูดแต่อย่างใด ย้ำว่า เกาะกูดยังเป็นอำเภอหนึ่งที่อยู่ในจังหวัดตราดของไทย ไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ทั้งสิ้น” นายวราวุธ กล่าว

นายวราวุธ กล่าวว่า จากนี้ไป จะเป็นขั้นตอนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการตั้งเจทีซีของไทย เพื่อไปหารือกับกัมพูชาต่อไป ในเรื่องทรัพยากรที่อยู่ใต้พื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน (Overlapping Claims Area : OCA) ย้ำว่า ไม่ต้องกังวลเรื่องเกาะกูด เนื่องจากพื้นที่โอซีเอ ยังจะต้องมีการเจรจากันต่อ ยืนยันว่า เราจะไม่มีการเสียเปรียบกัมพูชา และไม่เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบของใครทั้งนั้น ซี่งการที่สองประเทศมีความคิดต่างกัน จึงจำเป็นต้องมาพูดคุยกับนโต๊ะ โดยรัฐบาลดำเนินการเต็มที่ และจะไม่ให้เสียผลประโยชน์ของประเทศไทย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"เอกสิทธิ์" เผยมาตรฐาน-คุณภาพภาคอสังหาริมทรัพย์ ปัจจัยสำคัญสร้างเชื่อมั่นความปลอดภัย รองรับพิบัติภัยในอนาคต
"รมว.ท่องเที่ยว" ระดมภาครัฐ-เอกชน ถกปัญหาความปลอดภัย ฟื้นภาพลักษณ์เที่ยวไทย หลังเจอกระแสข่าวด้านลบ
นาทีชีวิต! ส่งเฮลิคอปเตอร์ EC-725 ช่วยผู้ป่วยวิกฤต ส่งถึงมือแพทย์ได้ทันเวลา
วธ. จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระกุศล "เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ" วันคล้ายวันประสูติ
"สก.นภาพล" ซัดกระทู้ถาม "กทม." เมื่อไหร่จะจ่ายคืนหนี้ BTS ย้ำดอกเบี้ยเพิ่มวันละ 4.5 ล้าน แฉฟาดรายได้ค่าโดยสาร 3 เดือน กว่า 2 พันล้าน แต่ให้เอกชนแบกภาระวิ่งรถไฟฟ้า
จีนสั่งยกเว้นภาษีสินค้านำเข้าบางประเภทจากสหรัฐ
"รองผอ." คดีฮั้วประมูล เผย "3 วิศวกร" รับลงชื่อตรวจงานสร้างตึกสตง.จริง เร่งสอบลายมืออีก 7 ราย ยังปฏิเสธ
"นายกฯ" รับมอบเงิน 5 ล้าน มูลนิธิเรนวูด ช่วยผู้ได้รับผลกระทบแผ่นดินไหว
"อดีตผู้พิพากษา" ชี้ตรง ป.ป.ช.-อสส.ไม่ทำหน้าที่โจทก์ เหตุศาลฎีกาฯ ต้องออกโรงไต่สวนเอง "ทักษิณ"ไม่ติดคุกจริงตามคำพิพากษา
ไฟไหม้โรงแรมกลางเมืองที่อินเดียดับ 15 คน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น