เจาะ “MOU44” พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา “เกาะกูด” เป็นของใคร

เปิดหลักฐาน “MOU44” หรือ MOU 2544 พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา ขุมทรัพย์ทางพลังงานมูลค่ามหาศาล “เกาะกูด” เป็นของใคร 

 

เจาะ MOU44 เกาะกูดเป็นของใคร

 

Top News รายงาน ถึงแม้ว่า จากอดีตถึงปัจจุบัน “เกาะกูด” จะอยู่ในการปกครองของประเทศไทยมาตลอด แต่ข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา ที่กินเวลายาวนาน ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ ความคาดหวังการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยกับกัมพูชา จึงถูกจับตาอีกครั้ง เนื่องจากพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเกาะกูด กว่า 26,000 ตารางกิโลเมตร มีก๊าซธรรมชาติถึง 11 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต มูลค่า 3.5 ล้านล้านบาท, น้ำมันดิบอีกกว่า 500 ล้านบาเรลล์ มูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท นั่นหมายความถึง ทรัพยากรที่มีมูลค่ามหาศาล…ประเด็น “MOU44” หรือ MOU 2544 หรือ บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ที่มีการลงนามร่วมกัน ถูกหยิบยกขึ้นมา เพราะหลายฝ่ายมีความกังวลว่า “MOU44” จะทำให้เสียพื้นที่เกาะกูดให้กับกัมพูชา

ข่าวที่น่าสนใจ

เจาะ MOU44 ไทยเสียเกาะกูดได้หรือไม่

 

พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา ขนาด 26,000 ตร.กม. ที่เกิดจากการประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยของทั้งไทยและกัมพูชา โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะแก้ไขปัญหาร่วมกัน ผ่านการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 หรือที่เรียกกันว่า MOU44

 

สุพรรณวษา โชติกญาณ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย อธิบายว่า MOU44 ระบุให้ดำเนินการทั้งในเรื่องการแบ่งเขตทางทะเล และการพัฒนาพื้นที่ร่วมไปพร้อมกัน โดยให้ทั้งสองฝ่ายเจรจาหารือกันบนพื้นฐานของหลักกฎหมายระหว่างประเทศและผลประโยชน์ร่วมกัน โดยมีกลไกหลักของการเจรจาแก้ไขปัญหา OCA ภายใต้ MOU 44 คือคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ซึ่งประกอบด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านความมั่นคง กฎหมาย และพลังงาน โดยที่ผ่านมา มีการประชุม JTC สองครั้ง เมื่อปี 2544 และ 2545

 

นอกจากนี้ ยังมีกลไกย่อยอื่นๆ ได้แก่ คณะอนุกรรมการร่วมด้านเทคนิค (Sub-JTC), คณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชาเกี่ยวกับการกำหนดเขตทางทะเล และคณะทำงานร่วมไทย-กัมพูชาเกี่ยวกับระบอบพัฒนาแนวทางร่วมในการแก้ไขปัญหา OCA ที่ทั้งไทยและกัมพูชาเห็นสอดคล้องกัน ทั้งในระดับนโยบายและระดับเทคนิค คือ

 

  1. ประชาชนของทั้งสองประเทศจะต้องยอมรับข้อตกลงได้
  2. จะต้องนำเรื่องให้รัฐสภาของทั้งสองประเทศพิจารณาให้ความเห็นชอบ
  3. ข้อตกลงจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

ดังนั้น MOU44 จึงเป็นความตกลงที่กำหนดกรอบและกลไกการเจรจาระหว่างกัน โดยไม่ได้เป็นการยอมรับการอ้างสิทธิทางทะเลของอีกฝ่ายแต่อย่างใด ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องเจรจากันต่อไป ในข้อ 5 ระบุไว้อย่างชัดเจน

 

นอกจากนี้ เกาะกูดเป็นดินแดนของประเทศไทยตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และปัจจุบัน ไทยใช้อำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูด 100%

MOU44

ข้อมูลจากสำนักข่าวอิศรา ระบุว่า MOU44 มีเพียง 3 หน้า ทั้งฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยหน้า 3 เป็นเอกสารแนบ หัวใจอยู่ที่ข้อ 2 ที่แบ่งเป็นข้อ ก กับข้อ ข

 

  • ข้อ ก – จัดทำความตกลงกันสำหรับการพัฒนาทรัพยากรปิโตรเลียมร่วมกันซึ่งอยู่ในพื้นที่พัฒนาร่วม หรือ JDA (Joint Development Area) ในพื้นที่สีขาวส่วนล่างของแผนผังแนบท้าย
  • ข้อ ข – ตกลงแบ่งเขตแดนทางทะเล (ทะเลอาณาเขต, ไหล่ทวีป และเขตเศรษฐกิจจำเพาะ) ซึ่งอยู่ในพื้นที่แลเงาสีดำเป็นเสมือนทางม้าลายส่วนบนของแผนผังแนบท้าย เรียกว่าเขต Area to be Delimited

 

ทั้งนี้ พื้นที่ส่วนล่าง ข้อ ก มีขนาด 16,000 ตารางกิโลเมตร ขณะที่พื้นที่ส่วนบน ข้อ ข มีขนาด 10,000 ตารางกิโลเมตร

 

MOU44

 

แหล่งก๊าซธรรมชาติมูลค่าหลายร้อยล้าน ตัวแปรสำคัญ

 

ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว หรือ MOU44 เคยเขียนบทความในจุลสารความมั่นคงศึกษา ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ฉบับที่ 92 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 เรื่อง พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา ไว้ว่า แม้การลงนาม MOU44 นายกรัฐมนตรีกัมพูชาได้ยืนยันว่า จะยกเลิกข้อเรียกร้องการถือครองเกาะกูดครึ่งหนึ่ง และยอมรับว่าเกาะกูดเป็นของไทย โดยแผนผังที่แนบท้ายบันทึกความเข้าใจได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า “เกาะกูดอยู่ภายใต้อธิปไตยของไทย”

 

แต่ทว่า การค้นพบแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ในพื้นที่ทับซ้อนในเวลาต่อมา ทำให้บริษัทน้ำมันข้ามชาติหลายแห่งสนใจเข้ามาลงทุนผ่านทางกัมพูชา ซึ่งอาจส่งผลให้การเจรจาในอนาคตยากขึ้น โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่ความต้องการพลังงานเพิ่มสูงขึ้น และมีผู้เล่นใหม่ๆ ที่สนใจเข้ามาในพื้นที่มากขึ้น

 

“เกาะกูด” อาจจะไปไกลถึงศาลโลก และจะซ้ำรอยเหมือน “เขาพระวิหาร” หรือไม่ เมื่อตัวแปรสำคัญคือแหล่งก๊าซธรรมชาติ ที่มีผลประโยชน์มหาศาล

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

หลุดทุกข้อหา "อธิบดีอัยการ ภาค 6 " สั่งไม่ฟ้อง "ดร.พอล" ยื่นศาลขอปล่อยตัว ส่งถามผบช.ภ.6 เห็นแย้งหรือไม่
อบจ.ฉะเชิงเทรา เปิดโครงการฝึกสอนกีฬาให้กับนักเรียนและเยาวชน รุ่นที่ 3 ฟุตซอล เทควันโด กรีฑา
“ศุภมาส” นำอว. ร่วมสตม. คุมเข้มมหาวิทยาลัยรับนักศึกษาต่างชาติ เตรียมมาตรการสแกนหลักสูตร Non-Degree สุ่มตรวจไม่ปล่อยเกิดปัญหา
หนุ่มตกงานขับรถพุ่งชนนักเรียนประถมที่ญี่ปุ่น
ไรอันแอร์จะซื้อเครื่องบินจีนถ้าภาษีทรัมป์ดันโบอิ้งแพงขึ้น
"ดร.หนุ่ม" วัย 38 ปี ร้องถูกแก๊งคอลฯ บังคับคุยโทรศัพท์ 7 วัน 7 คืน สูญเงิน 8.5 ล้าน
"รัฐบาล" ย้ำอย่าตื่นตระหนก 2 พ.ค 68 ทดสอบส่งข้อความแจ้งเตือนภัย 5 พื้นที่
“ทนายทักษิณ” มั่นใจชี้แจงได้ หลังศาลตั้งองค์ไต่สวนปมชั้น 14 ยํ้ายึดหลักข้อเท็จจริง
“ภูมิธรรม” เผยผลหารือ GBC ไทย-กัมพูชา เลี่ยงปะทะปมปราสาทตาเมือนธม ให้กำลัง 2 ฝ่ายถอยกลับจุดเดิม หาข้อตกลงร่วมกัน
ระทึกจริง "อดีตสว.สมชาย" กาง ป.วิอาญา 246 ชี้ชัดอำนาจศาล วินิจฉัยเหตุ สั่งทุเลาจำคุก "ราชทัณฑ์" ให้ "ทักษิณ" นอนชั้น 14 เสี่ยงทำผิด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น