“วันนอร์” แนะหาข้อสรุป “ร่างประชามติ” ให้ทันในสมัยประชุมนี้ ยึดผลประโยชน์ประชาชน

"วันนอร์" แนะหาข้อสรุป "ร่างพ.ร.บ.ประชามติ" ให้ทันในสมัยประชุมนี้ ขอ "สส.-สว." ถอยคนละก้าว ยึดผลประโยชน์ประชาชน รับทำประชามติ 3 ครั้ง เสี่ยงน้อย

“วันนอร์” แนะหาข้อสรุป “ร่างประชามติ” ให้ทันในสมัยประชุมนี้ ยึดผลประโยชน์ประชาชน – Top News รายงาน

วันนอร์

 

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2567 ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่วุฒิสภา(สว.) ส่งร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ประชามติ กลับมาในรูปแบบ ทำประชามติ2ชั้น ว่า จะต้องนำกลับมาพิจารณาในสภาฯซึ่งขณะนี้เหลือเวลาเพียงสองสัปดาห์เท่านั้นก็จะปิดสมัยประชุมดังนั้นสภาจึงจะต้องเร่งพิจารณาว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภาหรือไม่ หากไม่เห็นด้วยก็จะต้องตั้งคณะกรรมาธิการร่วมกันสองสภาเพื่อพิจารณา จึงเห็นว่าควรได้ข้อยุติในเบื้องต้นภายในสมัยประชุมนี้ เพื่อจะใช้เวลาในช่วงสมัยประชุมในการพิจารณาหาข้อยุติ ทั้งนี้ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยตั้งคณะกรรมาธิการร่วม โดยเมื่อมีการแก้ไขก็มักจะใช้กันไปก่อน เว้นแต่มีข้อขัดแย้งกันจริงๆ ซึ่งตนเห็นว่าแล้วแต่วิปรัฐบาลจะเลือกใช้วิธีใด เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน แต่สิ่งสำคัญกฎหมายการทำประชามติจะต้องมี และทางออกที่ดีที่สุด เพื่อประโยชน์ของประชาชนควรจะต้องมีการประนีประนอม แทนที่จะไปนับหนึ่งใหม่ แต่ขณะเดียวกันจะต้องมีความสมดุลในการใช้อำนาจของแต่ละฝ่ายด้วย

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“เป็นเรื่องไม่ยากหากคุยกันแล้วมีความปรารถนาดี และหวังดีต่อประเทศชาติ เชื่อว่าประเทศชาติเดินไปข้างหน้าได้ประชาชนมีความเชื่อมั่น ดังนั้น แต่ละฝ่ายควรถอยคนละก้าวสองก้าวก็ได้เพื่อประโยชน์สูงสุดที่จะได้กับประชาชน ดังนั้น เสียเวลาคุยกัน เพื่อให้จบโดยมีเป้าหมายคือทำประชามติให้ได้แก้รัฐธรรมนูญให้ได้ดีกว่า โดยคุยกันตั้งแต่ตอนแรกว่าจะตั้งคณะกรรมาธิการร่วมหรือไม่ตั้ง ผมเชื่อว่าคุยกันได้” นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าว

เมื่อถามว่าทางคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) ยืนยันที่จะให้กลับไปใช้ร่างของสภาผู้แทนราษฎร ประธานสภาฯ กล่าวว่า ตนเดาไม่ถูกเนื่องจากวิปรัฐบาลจะต้องฟังเสียงของแต่ละพรรคการเมืองด้วย ส่วนกรณีที่ยังยังคงมีข้อถกเถียงว่าจะต้องทำประชามติ 2 หรือ 3 รอบนั้น ยังคงไม่มีข้อยุติ และไม่มีใครบอกได้ว่า จะต้องทำกี่รอบเพราะเคยถามไปยังศาลรัฐธรรมนูญแล้วแต่ศาลไม่ตอบ แต่ขอให้ไปดูคำวินิจฉัยก่อนหน้านี้ ว่าชัดเจนแล้ว จึงทำให้ เกิดการตีความที่แตกต่างว่า ต้องทำ2รอบ หรือ3รอบ

“ส่วนตัวมองว่าทำ3รอบก็ไม่เสี่ยง เพราะหากทำ2รอบเสร็จแล้ว หากมีคนไปยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ถึงขณะนั้นก็ไม่ทราบว่าศาลจะตีความอย่างไร” นายวันมูหะมัดนอร์ ระบุ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"กรมพัฒนาธุรกิจฯ" ปรับแผนตรวจบริษัทนอมินี ร่วม "ป.ป.ง." แก้กม.รวมเข้าข่ายผิดฟอกเงิน
"ภูมิธรรม" เตรียมลงพื้นที่ชายแดนใต้ พร้อมพบคู่เจรจาสร้างสันติสุข แต่ต้องยอมรับแผ่นดินไทยแยกไม่ได้
ปทุมฯเดือด "บิ๊กแจ๊ส" ประกาศหนุน "สมชาติ" สู้ทีมภรรยา "นายกเบี้ยว" ชิงเก้าอี้นายกเทศมนตรี ต.ธัญบุรี
“ทวี” เผยคดี "ตึกสตง." ถล่ม ดีเอสไอได้หลักฐาน-ของกลางครบถ้วนหมดแล้ว เตรียมเชิญผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลเพิ่ม
มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท (ซีพี) ต่อยอดภารกิจดับไฟป่า! ผนึกกำลังภาคีเครือข่าย จัดอบรมบำรุงรักษาอุปกรณ์ เสริมเขี้ยวเล็บอาสาพิทักษ์ป่าอมก๋อย
MEA ร่วมพิธีมอบเงินสนับสนุนโครงการประกอบอาชีพเสริมแก่กำลังพลกองทัพบกที่ปลดพิการทุพพลภาพและครอบครัว ประจำปี 2568
ทุ่มสุดใจ "มาดามแป้ง" บริจาคเงินส่วนตัว 25 ล้าน ช่วยสมาคมฟุตบอลฯจ่ายหนี้แทนยุค "บิ๊กอ๊อด"
“พาณิชย์”ชี้เป้าส่งออกปลาสวยงามขายจีน เผย “ปลากัด” มาแรงได้รับความนิยมสุด
"นฤมล"นำถก 3 ฝ่ายลุยแก้ปัญหายางพารา สั่งรับมือภาษีสหรัฐฯลดผลกระทบเกษตรกร
“อินโดนีเซีย” ระทึก! แผ่นดินไหวหมู่เกาะ Talaud รุนแรง 6.2 ลึก 128 กม.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น