No data was found

อาจารย์ ม.แม่ฟ้าหลวง สุดปัง คิดค้นหน้ากากเซฟปอด ที่สามารถป้องกันได้ทั้ง โควิด และ ฝุ่น PM 2.5

กดติดตาม TOP NEWS

การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ซึ่งเป็นวิกฤตที่ประชาชนเผชิญกันอยู่ทุกวันนี้ ผู้คนก็หวาดกลัวที่จะได้รับเชื้อหรือว่าสัมผัสเชื้อเข้าไป มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) โดย ผศ.ดร. ณัฐกานต์ สร้อยกาบแก้ว หัวหน้าศูนย์วิจัยวัสดุนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ได้วิจัยค้นคว้าเพื่อจะรับมือกับไวรัส COVID-19 เริ่มจากมีรายงานการวิจัยออกมาว่าไวรัส COVID-19 มีรูปร่างคล้ายมงกฏ มีขนาดประมาณ 125 นาโนเมตร (Nanometer) จึงมีแนวคิดว่าผลิตหน้ากากที่มีชั้นกรอง หรือว่ารูกรองที่ขนาดเล็กกว่า 125 นาโนเมตร (Nanometer) เพื่อดักจับไวรัสนี้ไว้ และที่ไวรัสสามารถอยู่รอดบนพื้นผิวต่างๆ ได้หลายชั่วโมงหรือเป็นเวลาหลายวันตามแต่สภาวะอากาศ จึงเพิ่มตัวอนุภาค Nano Silver เข้าไป เมื่อมีการดักไวรัสนี้ไว้ อนุภาค Nano Silver ก็สามารถฆ่าเชื้อไวรัสเหล่านี้ได้

โดยหน้ากาก Nano Guard เหมาะกับคนที่มีความเสี่ยงสูงที่จะสัมผัสกับเชื้อไวรัส COVID-19 หรือเหมาะกับบุคคลที่จะต้องเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการสัมผัสกับไวรัส COVID-19 และผลจากการทดสอบยังพบว่าหน้ากาก Nano Guard มีประสิทธิภาพในการกรองฝุ่น PM 2.5 ได้มากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งดีกว่าหน้ากากอนามัยทั่วไป

อย่างไรก็ตามการผลิตหน้ากาก Nano Guard ในระดับห้องปฏิบัติการใช้เทคนิค Electrospinning ซึ่งทำได้ช้า เนื่องจากว่าเครื่องผลิตของมหาวิทยาลัยมีขนาดเล็กทำให้มีกำลังการผลิตที่ต่ำ หากต้องการขยายกำลังการผลิตจะต้องใช้เครื่องที่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้นแล้วก็มีเทคโนโลยีหลายหัวพ่นก็จะทำให้กำลังการผลิตสูงขึ้นและทำให้ หน้ากาก Nano Guard มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ต่อไปได้ ซึ่งทางศูนย์วิจัยฯมีความพร้อมที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับภาคเอกชนหรือว่าอุตสาหกรรมเพื่อที่จะผลิตและจำหน่ายต่อไป

ผศ.ดร. ณัฐกานต์ สร้อยกาบแก้ว กล่าวว่า ศูนย์วิจัยวัสดุนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน เป็นศูนย์วิจัยที่มีมุ่งมั่นและมีเป้าหมายที่จะพัฒนาวัสดุนวัตกรรมเพื่อที่จะตอบโจทย์แก้ปัญหาความท้าทายในด้านความยั่งยืน ประเด็นแรกก็จะเป็นเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การพัฒนาวัสดุก่อสร้าง ประเภท Geopolymers หรือว่า Glass-Crete เป็นวัสดุที่มีวัสดุตั้งต้นทำมาจากขยะ จากอุตสาหกรรมหรือว่าขยะจากชุมชน ประเด็นที่ 2 การพัฒนาพลังงานทดแทนจากวัสดุหมุนเวียนชีวภาพ เช่น เศษพวกข้าวโพดหรือว่าเปลือกแมคคาเดเมีย เป็นต้น ประเด็นที่ 3 การรักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อม เช่น การพัฒนาบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกหรือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือย่อยสลายได้ใช้แทนพลาสติก ซึ่งวัสดุตั้งต้นจากพวกขยะจากทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ใบสับปะรด ใบต้นกล้วย เป็นต้น ประเด็นที่ 4 การยกระดับคุณภาพของคน การพัฒนาวัสดุทันตกรรมสมัยใหม่เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ อย่างการพัฒนาหน้ากาก Nano Guard กัน COVID-19 และ PM 2.5

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี และ ศรีราชา ให้การต้อนรับ มิสเตอร์ เจสัน รองกรรมการโรงพยาบาลสมัยใหม่ กวางโจ สาธารณประชาชนจีน นายชนะพล คลังรุ่งเรือง นายกสมาคมการค้า ไทย-เหลียวหนิง พร้อมทั้งโชว์ศักยภาพการให้บริการโรงพยาบาลในเครือ "สมิติเวช"
"ทนายเดชา" ฟันธงหลักฐานมัด "บิ๊กโจ๊ก" เตรียมต่อสู้ในชั้นศาล หักล้างความผิด
"จั๊กกะบุ๋ม" จุดธูปสาบานกลางรายการ ตอบชัดๆ "เป็ด เชิญยิ้ม" โทรหา "แม่ปูนา" หรือไม่
“อุ๊งอิ๊ง” แจงปมร้อน บินฮ่องกง มีหลายบทบาท ลั่นพร้อมรับฟังทุกดราม่า
วันไหลแห่เจ้าพ่อพระปรง หรือ วันไหล สงกรานต์ สระแก้ว อย่างยิ่งใหญ่
สื่อยิวเผยอิสราเอลยิงขีปนาวุธพิสัยไกลเข้าอิหร่านไม่ใช่โดรน
"ธีรยุทธ" ร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นศาลรธน.วินิจฉัยพรป.เลือกสว.เอื้อระบบฮั้วขัดกม.
"ก้าวไกล" หัวร้อนหนัก แจงโต้ "ชัยวัฒน์" กล่าวหาฝ่ายค้านเอี่ยวเผาป่าหวังผลการเมือง
“เสรีพิศุทธ์” ตอบทุกคำถาม หลังถูกมองเข้าข้าง “บิ๊กโจ๊ก” มีความเป็นกลางหรือไม่ในการวิเคราะห์
นานาชาติเรียกร้องอิหร่าน-อิสราเอลยุติการตอบโต้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น