“ดร.สนธิ” เตือน ไฟไหม้ “โรงงานพลาสติก-เคมีภัณฑ์” มาบตาพุด อันตรายเป็นสารก่อมะเร็ง

นักวิชาการ เตือน! ควันไฟไหม้โรงงานพลาสติกและเคมีภัณฑ์ มาบตาพุด อันตราย เหตุมีสารก่อมะเร็ง แนะชาวบ้านหลีกเลี่ยงการได้รับควันและไอระเหย

“ดร.สนธิ” เตือน ไฟไหม้ “โรงงานพลาสติก-เคมีภัณฑ์” มาบตาพุด อันตรายเป็นสารก่อมะเร็ง – Top News รายงาน

 

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2567 ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat โดยระบุว่า.. “ไฟไหม้โรงงานพลาสติก และเคมีภัณฑ์ในนิคมมาบตาพุดอย่างรุนแรง อันตรายเป็นสารก่อมะเร็ง”

1. เวลา 12.25 น.วันที่ 22 ก.ย.67 เกิดไฟไหม้ บริเวณ Plant VCM 1 ภายในโรงงานบริษัทไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด ในพื้นที่นิคมมาบตาพุด จ.ระยอง ทำให้เกิดกลุ่มควันสีขาวและสีดำปริมาณมาก กลุ่มควันดังกล่าวพัดไปยังตลาดมาบตาพุด ชุมชนบ้านพลง ชุมชุนอิสลาม ควรหลีกเลี่ยงการได้รับควันและไอระเหยดังกล่าว เพราะเป็นสารก่อมะเร็ง ควรอพยพออกจากโรงงานดังกล่าวอย่างน้อย 3 กม.

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

2. สาร VCM หรือไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ (Vinyl chloride monomer; Ethylene monochloride; Monochloroethylene) ใช้ผลิตเม็ดพลาสติก เป็นก๊าซไม่มีสี เป็นก๊าซไวไฟสูงมาก จัดเป็นสารก่อมะเร็ง และเก็บเป็นของเหลวภายใต้ความดัน ไอระเหยของสารไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ เมื่อรวมตัวกับอากาศในอัตราส่วนที่พอเหมาะจะทำให้เกิดการระ เบิดได้โดยปล่อยสารคลอรีนออกมามีอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก หากหายใจเข้าไปทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพที่รุนแรง เป็นพิษต่อระบบประสาท เป็นอันตรายต่อระบบหลอดเลือดแดง ผิวหนัง กระดูก ตับ พิษแบบเฉียบพลันที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับสารในปริมาณความเข้มข้นสูง จะทำให้มีอาการมึนงง วิงเวียน อ่อนเพลีย ง่วงนอน เสียการทรงตัว การได้ยินและการมองเห็นไม่ชัดเจน ถ้าได้รับในปริมาณความเข้มข้นสูงมากจะทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้

นอกจากนี้ยังเป็นพิษแบบเรื้อรัง กล่าวคือหากได้รับไวนิลคลอไรด์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการพิษทางระบบประสาท การรับรู้ต่างๆ น้อยลง เป็นพิษต่อระบบสืบพันธ์และก่อมะเร็งที่ตับ

 

3.ไวนิลคลอไรด์เป็นก๊าซไม่มีสีที่ถูกติดไฟเผาไหม้ได้ง่ายและระเหยอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่จะใช้ในการผลิตโพลีไวนิลคลอไรด์หรือ PVC ซึ่งใช้ทำผลิตภัณฑ์พลาสติกหลากหลายประเภท เช่น ท่อ สายไฟ และวัสดุบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น หากเกิดเพลิงไหม้ขนาดใหญ่ไม่สามารถใช้การสเปรย์น้ำ (water spray) หรือพ่นหมอกน้ำ (water fog) ห้ามฉีดน้ำโดยตรงไปยังถังเก็บสารเคมีดังกล่าว ในการดับเพลิงได้ต้องใช้โฟมดับไฟ หรือคาร์บอนไดออกไซด์เท่านั้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ตึงเครียด! “อินเดีย” จ่อปิดน่านฟ้า-น่านน้ำ สกัดเครื่องบิน-เรือ “สัญชาติปากีฯ”
กษัตริย์เดนมาร์กเยือนกรีนแลนด์
จีนปล่อยคลิปใหม่ส่งสารถึงทรัมป์ เราไม่ยอมคุกเข่า
ไฟดับสเปน-โปรุตเกส ถอดบทเรียน 5 ของต้องมี
ปากีสถานเชื่ออินเดียโจมตีใน 36 ชม.
คีธ เคลล็อก ชี้รัสเซียไม่ชนะสงคราม เสนอหยุดยิง 3 วันไร้สาระ
"ดีเอสไอ" เรียกสอบวิศวกรควบคุมงานสร้าง "ตึกสตง." ล็อต 2 เร่งหาข้อเท็จจริง สาเหตุพังถล่ม
เปิดเวทีฟังเสียงประชาชน หนุนเมืองอัจฉริยะเพื่อชุมชนอยู่ร่วมอย่างยั่งยืน สมาร์ทซิตี้ ขยายพื้นที่เพิ่ม 1,880 ไร่
ศาลฎีกาฯ ชี้สาเหตุตีตกคำร้อง "ชาญชัย" ปมทักษิณ นอนชั้น 14
"สาวไทย" ร้องขอความช่วยเหลือ หลังถูกชายเมียนมาบุกคอนโดฯ-ขู่ฆ่า 3 วันติด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น