“นักวิชาการ” แนะถอดบทเรียนน้ำท่วมใหญ่ “เชียงราย” เตรียมพร้อมรับมวลน้ำจากแม่โขง

"นักวิชาการ" แนะถอดบทเรียนน้ำท่วมใหญ่ "เชียงราย" เตรียมพร้อมรับมวลน้ำจากแม่โขง

Top news รายงาน จากกรณีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. ได้ประกาศแจ้ง 45 จังหวัดทางภาคเหนือ , อีสาน , กลาง และใต้ ให้เตรียมการเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง คลื่นลมแรง และระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้นช่วง 13-18 ก.ย. ภายหลังจากที่ทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศฉบับที่ 1 (182/2567) แจ้งว่า ในช่วงวันที่ 13-17 ก.ย. ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาจากทางประเทศเพื่อนบ้านและส่งผลให้ในพื้นที่ดังกล่าวมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง

 

วันนี้ ( 14 ก.ย.) ทีมข่าว Top news ได้รับการเปิดเผยจาก ว่าที่ร้อยตรีธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ถึงสถานการณ์ร่องมรสุมที่กำลังพาดผ่านภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ จะส่งผลกระทบต่อ 45 จังหวัดอย่างไรบ้าง โดย ว่าที่ร้อยตรีธนะสิทธิ์ เผยว่า การที่ฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง เกิดจากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านจากประเทศเวียดนามลงมายังภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และ ภาคตะวันออก ทำให้พื้นที่เหล่านี้ มีความกดอากาศต่ำ ทำให้ฝนตกชุก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนั้น พื้นที่อื่นก็ได้รับผลกระทบด้วย จึงทำให้มีฝนตกเกือบทุกพื้นที่ในหลายๆวันตามที่แจ้ง

โดยต้องมีการเฝ้าระวังในพื้นที่เสี่ยงภัย เช่น จังหวัดเชียงราย น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ ซึ่งจะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน โดยเฉพาะพื้นที่เปราะบาง ก็คือแถวลาดเชิงเขา แถวใกล้ลำน้ำไหลผ่านซึ่งมีโอกาสที่ระดับน้ำจะเยอะขึ้น ถึงแม้ฝนจะตกลงมาไม่เยอะแต่ก็ส่งให้เกิดผลตามมาได้

ข่าวที่น่าสนใจ

ด้าน รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต เผยถึงสถานการณ์ ปริมาณน้ำที่กำลังจะตามมาในช่วงร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทย ว่า มวลน้ำทั้งหลายมีที่มาจากเชียงราย แม่สาย หรือไม่จากทางเหนือแน่นอน เพราะมีฝนตกทางเหนือเติมปริมาณน้ำให้มากขึ้นด้วย เหนือคือหมายความว่า น้ำจาก จีน ลาว จะไหลลงสู่แม่น้ำโขง ส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น หนักสุดที่หนองคาย ซึ่งตอนนี้ก็กำลังท่วมอยู่ ส่วนที่ยังไม่ท่วมก็ต้องเตรียมขนย้ายทรัพย์สนหนีน้ำ ขณะฝนที่ตกลงมา จะซ้ำเติมและทำให้ระบบน้ำทำงานไม่ได้ ซึ่งก็ต้องใช้เครื่องสูบน้ำลงแม่น้ำโขง เพื่อเลี้ยงน้ำไม่ให้เข้าท่วมในพื้นที่ชุมชนสูงเกินกว่าที่ชาวบ้านจะรับได้ แม้ว่าจะสูบไม่ทัน แต่ยังดีกว่าไม่ทำอะไรเลย เพราะคันกั้นน้ำก็ทำไม่ทัน ต้องปล่อยให้น้ำไหลไปตามเส้นทางน้ำ

 

 

เพราะฉะนั้น หลังจากนี้ต้องรอดูทางกรมอุตุวิทยา จำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการทำระบบแจ้งเตือนภัย และระบบบริหารจัดการให้ดียิ่งขึ้น มิฉะนั้นจะเป็นเหมือนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ที่ระบบล้มเหลว ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน มูลค่าความเสียหายนับไม่ได้ ส่วนน้ำจะไหลเข้าสู่ภาคกลางหรือไม่ ยังต้องรอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินสถานการณ์น้ำเสียก่อนจึงจะตอบได้

หากเปรียบเทียบสถานการณ์ตอนนี้กับน้ำท่วมปี พ.ศ.2554 มีโอกาสน้อยกว่า 10% ที่จะเกิดเหตุซ้ำรอย และสร้างความเสียหายนับพันล้านบาท แต่เมื่อเทียบกับเชียงรายและน่าน ก็ยังนับว่า สูญเสียเพียงแค่ 1% ของสถานการณืมหาอุทกภัยปี 54 เท่านั้น สำหรับผู้เชี่ยวชาญความเสี่ยงภัยแล้ว ถือเป็นการสูญเสียที่เยอะมาก แต่หากฝนตกลงมาและมีปริมาณน้ำมากกว่า 70% ณ ตอนนี้ น้ำก็อาจจะกลับมาท่วมเหมือนปี 54 ก็เป็นได้ แต่มีโอกาสน้อย ซึ่งทางหน่วยงานไม่สามารถคาดเดากับสภาพอากาศได้ล่วงหน้าขนาดนั้น ต้องเฝ้าสังเกตการณ์และประเมินวันต่อวัน

 

ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องหาวิธีรับมือ หรือป้องกันตั้งแต่ก่อนเกิดภัยจนไปถึงหลังเกิดภัย เช่น ระบบเตือนภัย การประเมินภาพน้ำท่วม การบริหารจัดการน้ำ การเตรียมกำลังพลและเครื่องมือ ศูนย์อพยพ เสบียง และค่อยมาจัดการระบบหลังเกิดภัย ทุกอย่างต้องมีแบบแผน เพราะ เหตุการณ์น้ำท่วมแม่สาย จังหวัดเชียงราย ก็เกิดจากการบริหารที่ล้มเหลว ไม่มีแบบแผน ซึ่งตอนนี้ยังไม่มีผู้ใดออกมารับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในทางกลับกัน หน่วยอาสากู้ภัย กลับไปช่วยเหลือเร็วกว่าหน่วยงานรัฐเสียอีก เพราะพวกเขารู้ว่า ระบบหน่วยงานรัฐล้มเหลว

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นายกฯอิ๊งค์" ถวายสัตย์ปฏิญาณตน แล้ว ยิ้มตอบสื่อ พรุ่งนี้เริ่มทำงาน ก.วัฒนธรรม
ชาวบ้านล้อมจับโจรขโมย จยย. ผู้ก่อเหตุแกล้งเมา พูดไม่รู้เรื่อง
"ท็อปนิวส์" ขออภัยนำเสนอภาพและคลิปข่าว "โดรน JOUAV" ผิดพลาดคลาดเคลื่อน
เรือเฟอร์รี่อินโดนีเซียล่มใกล้เกาะบาหลี
โซเชียลสวดยับ “จิรัฏฐ์” เหยียด "สมาคมแม่บ้านทหารอากาศ" ลั่นแรง "อิพวกแม่บ้าน"
"หนุ่มวัย 28" ดับปริศนาคาโรงแรม กับงูเห่าในถุงผ้าที่มัดไว้
คืนเดียว 2 เคส หนุ่มไทยหนีตายจากแก๊งบัญชีม้า เล่าชะตากรรมสุดช้ำในกรุงปอยเปต
"ปตท." ครองบริษัทชั้นนำอันดับ 1 ในไทย ซ้ำได้อันดับ 2 ใน Southeast Asia ต่อเนื่อง 2 ปีซ้อน สะท้อนศักยภาพดำเนินงานเป็นเลิศในระดับสากล
"ปตท." จับมือ บีเอ็นพี พารีบาส์ ลงทุนตราสารหนี้ ESG หนุนภารกิจยั่งยืน
ครองสถิติมากสุดในไทย! "ปตท." คว้า 8 รางวัลยอดเยี่ยม บนเวที Asian Excellence Awards ตอกย้ำเป็นเลิศดำเนินธุรกิจบนหลัก ความยั่งยืนอย่างสมดุล

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น