No data was found

รฟท.แจงยิบปมดราม่า ขนาดความกว้างล้อรถไฟญี่ปุ่นบริจาค นำมาวิ่งบนรางไทยไม่ได้!

กดติดตาม TOP NEWS

รฟท. แจงยิบ ปมดราม่าขนาดความกว้างล้อรถไฟญี่ปุ่นบริจาคนำมาวิ่งบนรางประเทศไทยไม่ได้ ยันแค่ปรับฐานล้อ ออกมาใช้งานได้ทันที ทำได้ 2-3 คันต่อวัน

เพจเฟสบุ๊ก ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. โพสต์ชี้แจงข้อเท็จจริงปมดรามามีสื่อบางสำนักโจมตีว่า รถดีเซลราง จำนวน17 คัน  ที่ บริษัท JR Hokkaido ญี่ปุ่นบริจาคให้ไทยนั้น ไม่สามารถนำมาใช้งานได้ เพราะมีขนาดความกว้างของล้อไม่เท่ากันนั้น โดยเพจทีมพีอาร์ รฟท.ระบุว่า ฝ่ายการช่างกล การรถไฟขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้ ขนาดความกว้างของราง รฟท. มีขนาดความกว้างของราง 1.00 เมตร ส่วนรถไฟญี่ปุ่นมีขนาดกว้าง 1.067 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นรางมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งกรณีรถดีเซลราง จำนวน 17 คัน ของ JR Hokkaido ที่มอบมาให้นั้น รฟท. แค่นำมาปรับฐานล้อด้วยเครื่องอัดไฮดรอลิคที่โรงงานมักกะสันก็สามารถนำออกมาให้บริการได้ทันที โดยเฉพาะการปรับปรุงความกว้างของฐานเพลาล้อจาก 1.067 เมตร ให้เป็น 1.00 เมตร สามารถปรับได้มากถึง 2-3 คันต่อวัน

สำหรับกรณีการดันล้อที่มีพิกัดความกว้าง 1.067 เมตร ไปใช้ในความกว้าง 1.00 เมตร ถือว่าเป็นขั้นตอนหนึ่งในการซ่อมบำรุงล้อและเพลาตามปกติของ รฟท. แม้แต่รถโดยสารที่วิ่งให้บริการอยู่ในปัจจุบันก็ต้องมีการนำรถโดยสารเข้ามาตรวจสอบสภาพ ปรับฐานล้อให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์เพื่อความปลอดภัยในการให้บริการ

เพจทีมพีอาร์ รฟท. ระบุอีกว่า ที่ผ่านมาในอดีต รฟท. เคยได้รับรถดีเซลรางและรถโดยสารปรับอากาศมาจาก JR West ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2540 จำนวน 26 คัน ปี 2542 จำนวน 28 คัน ปี 2547 จำนวน 40 คัน ปี 2553 จำนวน 32 คัน และรถโดยสารจากควีนแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ในปี 2538 จำนวน 21 คัน ซึ่ง รฟท. ได้นำรถที่ได้รับมอบเหล่านี้มาปรับความกว้างฐานเพลาล้อจาก 1.067 เมตร เป็น 1.00 เมตร ก่อนจะปรับปรุงนำมาให้บริการได้จนถึงปัจจุบัน รวมเป็นระยะเวลากว่า 25 ปีแล้ว แม้แต่ในประเทศญี่ปุ่นเองก็ตาม ได้มีการนำรถโดยสารที่ปลดระวางแล้วมาดัดแปลง ปรับปรุงให้เหมาะสมกับการให้บริการในด้านต่างๆ เช่น การส่งเสริมภาพลักษณ์ สนับสนุนด้านการท่องเที่ยว และหากเปรียบเทียบกับการจัดซื้อใหม่แล้ว จะเห็นว่า รฟท. ประหยัดงบประมาณได้เป็นจำนวนมาก

ส่วนประเด็นการนำเข้าอะไหล่ซ่อมบำรุงนั้น เนื่องจากประเทศไทยไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรม รถไฟ รวมถึงรถจักร และรถโดยสาร ดังนั้นการซ่อมบำรุงรถจักรล้อเลื่อน ส่วนใหญ่ ต้องนำเข้าจากญี่ปุ่น และยุโรป จีน และสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ รถไฟฟ้า ทั้ง BTS และ BEM ก็ล้วนใช้อะไหล่นำเข้าทั้งสิ้น

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดระทึก "สหรัฐฯ" เกิดกราดยิงกลางงานกิจกรรม นร.นับร้อยหนีเอาชีวิตรอด พบบาดเจ็บ 5 ราย
จับตาคดีสำคัญ สัปดาห์หน้านัดชี้ชะตา "สามนิ้ว" หลายคดี "เพนกวิ้น-โตโต้-แอมมี่" ลุ้นคดีอาญา มาตรา 112
อ่วมหนัก "พายุฤดูร้อน" ซัดกระหน่ำอย่างรุนแรง ทำบ้านเรือน ปชช. เสียหายกว่าร้อยหลังคาเรือน
ชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ภาคตะวันออก และชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ฉะเชิงเทรา จัดแถลงข่าว โครงการ วิ่งในสวนของพ่อ ครั้งที่ 2 RUN IN DAD’s GARDEN” เพื่อหารายได้ร่วมสมทบทุนจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
หนุ่มไม่มีเงินกินข้าว หลังมือถือตกน้ำ สุดปลื้มใจ "กู้ภัย" ทุ่มสุดตัวงมหาจนเจอ
"ทหารเมียนมา" ปะทะ "ทหารกะเหรี่ยง" บริเวณฝั่งตรงข้าม สะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 "ชาวเมียวดี" เตรียมอพยพเข้าไทย หากสถานการณ์รุนแรง
“วราวุธ” ยังไม่รับสัญญาณปรับครม.จากนายกฯ ลั่นไม่กลัวพรรครุ่นใหม่ มั่นใจทำงานสู้ได้
"สนามบินสุวรรณภูมิ" ขึ้นอันดับ 58 สนามบินดีที่สุดในโลกปี 2024 ขยับจากเดิม 10 อันดับ
"พิพัฒน์" เดินหน้าแก้ปัญหากองทุนประกันสังคม คุยบล.ญี่ปุ่นหาช่องเพิ่มรายได้ นำใช้เพิ่มประโยชน์แรงงาน
หักเหลี่ยม "คณะก้าวหน้า" ฮั้วสว.กระหายอำนาจสภาสูง "ก้าวไกล" ดิ้นเฮือกสุดท้ายยืดชะตายุบพรรค

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น