สทนช.เฝ้าระวังพายุ “ยางิ” รับมือฝนตกหนัก เพิ่มขึ้นสัปดาห์นี้

สทนช.เฝ้าระวังพายุไต้ฝุ่น “ยางิ” ที่อาจจะเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของเวียดนามในช่วง 6 – 7 ก.ย. นี้ ซึ่งแม้จะไม่ได้เข้าสู่ไทยโดยตรง แต่อาจส่งผลให้มีฝนตกมากขึ้นในหลายพื้นที่ โดยได้เตรียมพร้อมรับมือแล้ว พร้อมเตรียมประชุมร่วมกับจังหวัดท้ายเขื่อนเจ้าพระยาในวันพรุ่งนี้ เพื่อรองรับสถานการณ์ดูแลประชาชนหากต้องเพิ่มการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยาเป็น 2,000 ลบ.ม. ต่อวินาที

สทนช.เฝ้าระวังพายุ “ยางิ” รับมือฝนตกหนัก เพิ่มขึ้นสัปดาห์นี้

 

 

 

วันนี้ (4 ก.ย. 67) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำประจำสัปดาห์ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.) กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรธรณี กรมชลประทาน การประปานครหลวง สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักการระบายน้ำ เป็นต้น เข้าร่วมการประชุม ณ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

 

โดยเลขาธิการ สทนช. เปิดเผยว่า สถานการณ์ในเดือนนี้ พบว่าหลายพื้นที่มีแนวโน้มที่จะมีปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติ

 


โดยขณะนี้ได้เฝ้าระวังพายุไต้ฝุ่น “ยางิ” ซึ่งกำลังเคลื่อนตัวมาจากประเทศฟิลิปปินส์ โดยกรมอุตุนิยมวิทยา และ สสน. ประเมินทิศทางของพายุ

ข่าวที่น่าสนใจ

ว่าจะเคลื่อนตัวมาทางตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านเกาะไหหลำ ประเทศจีน และคาดว่าจะเคลื่อนที่ขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ในช่วงวันที่ 6–7 ก.ย. นี้ ซึ่งได้มีการติดตามประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ แม้กรณีพายุไม่ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทย

แต่อาจมีอิทธิพลที่จะส่งผลให้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับในวันนี้มีร่องมรสุมพาดผ่านตอนกลางของประเทศ

จึงคาดว่าในช่วง 7 วันข้างหน้านี้ จะมีฝนตกหนักเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ในภาคเหนือ โดยเฉพาะบริเวณที่ประสบอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก โดยเฉพาะบริเวณ จ.ตราดและจันทบุรี และภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งได้มีการเตรียมพื้นที่รองรับน้ำในเขื่อนต่าง ๆ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ฝนไว้แล้ว รวมถึงจะมีการใช้พื้นที่หน่วงน้ำ เช่น ทุ่งบางระกำ บึงบอระเพ็ด เพื่อใช้ในการหน่วงปริมาณน้ำก่อนจะไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา โดยปัจจุบันเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำในอัตราประมาณ 1,500 ลบ.ม. ต่อวินาที แต่จากปริมาณฝนซึ่งคาดว่าจะตกหนักในระยะนี้ อาจจะทำให้ในช่วงวันที่ 9 – 10 ก.ย. 67 ต้องระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอยู่ในอัตราประมาณ 2,000 ลบ.ม. ต่อวินาที ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบให้เกิดน้ำท่วมเพิ่มเติมในบริเวณพื้นที่ริมแม่น้ำ พื้นที่ลุ่มต่ำ
พื้นที่นอกคันกั้นน้ำ ของ จ.ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนนทบุรี

 

“เพื่อเตรียมรับมือสถานการณ์ สทนช. จะมีการประชุมหน่วยบริหารจัดการน้ำร่วมกับหน่วยงานด้านน้ำและทุกจังหวัดท้ายเขื่อนเจ้าพระยา พร้อมทั้งลงพื้นที่สำรวจจุดเสี่ยงน้ำหลาก ณ จ.พระนครศรีอยุธยา ในวันพรุ่งนี้ (5 ก.ย. 67) อีกทั้งหน่วยงาน

ที่เกี่ยวข้องได้ให้คำแนะนำประชาชน รวมถึงจะพิจารณาจัดตั้งศูนย์พักพิงและเตรียมถุงยังชีพ เพื่อเป็นการดูแลและสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน ซึ่งเป็นการดำเนินงานเชิงรุกตามนโยบายของนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี

สำหรับการเตรียมความพร้อมของกรุงเทพมหานคร ได้มีการพร่องน้ำในคลองต่าง ๆ เตรียมพร้อมเครื่องสูบน้ำ ระบบสูบน้ำ และเตรียมความพร้อมระบบระบายน้ำ ซึ่งในส่วนของการขุดลอกคลอง ได้ดำเนินการไปแล้วกว่า 98%” เลขาธิการ สทนช.กล่าว

สำหรับพื้นที่ประสบอุทกภัยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา รวม 18 จังหวัด ปัจจุบันกลับสู่ภาวะปกติแล้ว 11 จังหวัด ยังเหลือ ประสบภัยอีก 7 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย สุโขทัย พิษณุโลก อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา หนองคาย และนครพนม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เร่งบริหารจัดการน้ำเพื่อคลี่คลายสถานการณ์และให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยปัจจุบันสถานการณน้ำในลุ่มน้ำยมเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และในหลายพื้นที่ระดับน้ำลดลงต่ำกว่าระดับตลิ่งแล้ว ยกเว้นบริเวณสถานีวัดน้ำ Y.64 อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ซึ่งยังมีระดับน้ำสูงกว่าตลิ่งประมาณ 83 ซม. แต่คาดว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1 – 2 สัปดาห์

 

 

ในส่วนของลุ่มน้ำน่าน ปัจจุบันระดับน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ เนื่องจากมวลน้ำได้ไหลเข้าสู่เขื่อนสิริกิติ์ และระดับน้ำในแม่น้ำน่านมีทิศทางลดลง สำหรับสถานการณ์แม่น้ำโขง ขณะนี้ระดับน้ำยังค่อนข้างสูงทำให้การระบายน้ำของลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงเป็นไปได้ช้า สทนช. จึงได้ประสานงานกับสำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRCS) อย่างต่อเนื่อง เพื่อติดตามและบริหารจัดการน้ำให้ระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดลงและสามารถระบายน้ำออกจากแม่น้ำสาขาได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยคาดว่าสถานการณ์จะเป็นไปในทิศทางดีขึ้นตามลำดับ

 

ทั้งนี้สทนช.ได้คาดการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยจากฝนตกสะสม ในช่วง 3 วันนี้ ซึ่งอาจจะมีปริมาณฝนมากกว่า 200 มิลลิเมตร ได้แก่ ภาคตะวันออก ในพื้นที่ อ.เมืองตราด อ.บ่อไร่ จ.ตราด อ.บางละมุง จ.ชลบุรี อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี และภาคใต้ ในพื้นที่ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร อ.เมืองระนอง อ.กะเปอร์ จ.ระนอง อ.ตะกั่วป่า อ.คุระบุรี จ.พังงา ซึ่ง สทนช. ได้ประสานไปยังหน่วยงานในพื้นที่เพื่อเตรียมพร้อมรับมือแล้ว

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จัดพิธีอำลาชีวิตรับราชการ ผู้ครบเกษียณอายุราชการ ประจำปี 2567
“จักรภพ เพ็ญแข” รับไม่ได้นั่งโฆษกรัฐบาล งัดเอกสารชี้แจง ปัดวืดเพราะคดีความ
ตราดตั้งเต็นท์รับบริจาค ช่วยเหลือพี่น้องเชียงรายประสบภัยน้ำท่วม มีชาวตราดร่วมบริจาคทั้งเงิน สิ่งของ ข้าวสารจำนวนมาก
นับครบแล้ว เลือกตั้งซ่อมพิษณุโลก เขต 1 “จเด็ศ” สส.เพื่อไทย คว้าชัยชนะ
"พรรคประชาชน" แถลงยอมรับพ่ายเลือกตั้งพิษณุโลก เขต 1 ยินดี "บู้ จเด็ศ" สส.เพื่อไทย ฝากดูแลชาวบ้านต่อ
"เท้ง ณัฐพงษ์" โพสต์ยอมรับผลเลือกตั้งซ่อมพิษณุโลก เขต 1 พรรคประชาชนพ่ายแพ้ อ้างไม่ได้คาดหวังชัยชนะระยะสั้น
“หมอภาคย์” ซาบซึ้งพระเมตตา โรงครัวพระราชทาน ช่วยให้อิ่มท้อง ยามน้ำท่วม ขอบคุณน้ำใจจิตอาสา ไม่ทอดทิ้งกัน
พระสงฆ์อำเภอศรีราชา ไม่ทิ้งประชาชน เปิดจุดรับบริจาคข้าวารอาหารแห้ง เพื่อบรรเทาทุกข์-เป็นที่พึ่งให้สังคมช่วยผู้ประสบภัยพื้นที่ภาคเหนือ
"ช่อ-หมออ๋อง" แท็กทีม โพสต์ยอมรับความพ่ายแพ้ ยินดีผู้สมัครเพื่อไทย หลังทราบคะแนนไม่เป็นทางการ เลือกตั้งซ่อมพิษณุโลก เขต 1
สภาฯ เดือด ! สว.สรชาติ ชำแหละนโยบายรัฐบาลฯ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น