“ดีอี” ตั้งทีมปราบเฟกนิวส์ “ดิจิทัลวอลเล็ต” ตามข้อสั่งการนายกฯ ลั่นเอาผิดหนัก ผู้นำเข้าข้อมูลเท็จ

“ประเสริฐ”’ ตั้งทีมลุยปราบเฟคนิวส์เร่งรัดสกัดข่าวปลอม “ดิจิทัลวอลเล็ต” ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ลั่นเอาผิดจริงจังผู้นำเข้าข้อมูลเท็จ

“ดีอี” ตั้งทีมปราบเฟกนิวส์ “ดิจิทัลวอลเล็ต” ตามข้อสั่งการนายกฯ ลั่นเอาผิดหนัก ผู้นำเข้าข้อมูลเท็จ – Top News รายงาน

ดีอี

 

เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานการประชุมหารือมาตรการเร่งรัดปราบปรามข่าวปลอม (Fake News) ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 ที่ต้องการให้เร่งรัดปราบปรามข่าวสารและข้อมูลอันเป็นเท็จบนสื่อโซเซียลมีเดีย และแพลตฟอร์มต่างๆ ที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิดต่อบุคคล และโครงการสำคัญของรัฐบาล โดยมีนายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดีอี , นายสุทธิเกียรติ วีระกิจพานิช ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี , นายวัลลภ รุจิรากร เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี , พล.ต.ต.วิวัฒน์ คำชำนาญ รองผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) และ พ.ต.อ.ประดิษฐ์ เปการี รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) เข้าร่วมหารือ

นายประเสริฐ เปิดเผยว่า จากการที่นายกรัฐมนตรี ได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงดีอี เร่งรัดการปราบปรามเฟคนิวส์ หรือ ข่าวปลอม ที่ปัจจุบันมีการเผยแพร่ข่าวปลอม บิดเบือน สร้างความเสียหายโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต กระทรวง ดีอี จึงได้ร่วมหารือกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) บช.สอท. และ บก.ปอท. เพื่อกำหนดมาตรการเร่งรัดการปราบปรามข่าวปลอม โดยมีประเด็นสำคัญในการหารือดังนี้

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

1. จัดตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาเนื้อหาข่าวสารและข้อมูลที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย พร้อมดำเนินการโต้ตอบ  ชี้แจงข้อเท็จจริงในทันทีตามความเหมาะสม เมื่อได้มีการตรวจสอบพบว่าเป็นข่าวปลอม  ข้อมูลผิด ข้อเท็จจริง โดยให้ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย (Anti Fake New Center หรือ AFNC) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามและประเมินสถานการณ์เป็นประจำทุกวัน เพื่อให้สามารถร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีได้

2. เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข้อเท็จจริงให้มีความครอบคลุมกว้างขวางมากยิ่งขึ้น โดยให้ประสานขอความร่วมมือจากสื่อของหน่วยงานรัฐ และสื่อเอกชน เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณะ

3. ประสานงานความร่วมมือกับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างๆ ที่พบว่ามีการเผยแพร่ข่าวปลอม เพื่อทำการตรวจสอบ และปิดกั้น

“ข่าวปลอม ถือเป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่สร้างผลกระทบและความเดือดร้อนต่อประชาชนเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะข่าวปลอมที่เกี่ยวข้องกับนโยบายของรัฐบาล ซึ่งทำให้ประชาชนมีความเข้าใจผิด บิดเบือนจากข้อมูลจริง โดยเฉพาะในขณะนี้ที่รัฐบาลกำลังดำเนินโครงการ ดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งมิจฉาชีพได้อาศัยความสนใจของประชาชนต่อโครงการดังกล่าวเป็นช่องทางในการสร้างข่าวปลอม เพื่อก่ออาชญากรรมออนไลน์ ดังนั้น กระทรวงดีอี จึงร่วมกับ ตร. ตรวจสอบข่าวปลอมที่เข้าข่ายการกระทำความผิดอย่างเคร่งครัด โดยจัดตั้งเป็นคณะทำงานตรวจสอบเป็นประจำทุกวัน เพื่อดำเนินการระงับยับยั้งข่าวปลอม และดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จอย่างจริงจัง” นายประเสริฐ กล่าวย้ำ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ยังไม่จบระทึก! "ศาลฎีกาฯ" ชี้มีอำนาจไต่สวน "คดีทักษิณ" นอนชั้น 14 รับโทษติดคุกไม่ครบ สั่งนัดไต่สวน 13 มิ.ย. 68
ตึงเครียด! “อินเดีย” จ่อปิดน่านฟ้า-น่านน้ำ สกัดเครื่องบิน-เรือ “สัญชาติปากีฯ”
กษัตริย์เดนมาร์กเยือนกรีนแลนด์
จีนปล่อยคลิปใหม่ส่งสารถึงทรัมป์ เราไม่ยอมคุกเข่า
ไฟดับสเปน-โปรุตเกส ถอดบทเรียน 5 ของต้องมี
ปากีสถานเชื่ออินเดียโจมตีใน 36 ชม.
คีธ เคลล็อก ชี้รัสเซียไม่ชนะสงคราม เสนอหยุดยิง 3 วันไร้สาระ
"ดีเอสไอ" เรียกสอบวิศวกรควบคุมงานสร้าง "ตึกสตง." ล็อต 2 เร่งหาข้อเท็จจริง สาเหตุพังถล่ม
เปิดเวทีฟังเสียงประชาชน หนุนเมืองอัจฉริยะเพื่อชุมชนอยู่ร่วมอย่างยั่งยืน สมาร์ทซิตี้ ขยายพื้นที่เพิ่ม 1,880 ไร่
ศาลฎีกาฯ ชี้สาเหตุตีตกคำร้อง "ชาญชัย" ปมทักษิณ นอนชั้น 14

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น