“อธิบดีกรมอุทยานฯ” แจงเหตุเปิดรับฟังแบ่ง “ป่าทับลาน” โต้กระแสเอื้อนายทุนยันเน้นช่วยชาวบ้าน

"อธิบดีกรมอุทยานฯ" แจงเหตุเปิดรับฟังแบ่ง "ป่าทับลาน" โต้กระแสเอื้อนายทุนยันเน้นช่วยชาวบ้าน

อธิบดีกรมอุทยานฯ” แจงเหตุเปิดรับฟังแบ่ง “ป่าทับลาน” โต้กระแสเอื้อนายทุนยันเน้นช่วยชาวบ้าน

วันที่ 9 ก.ค. 67 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวถึง กรณีการรับฟังความคิดเห็นประชาชน เพื่อดำเนินการแบ่งพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัด นครราชสีมา-ปราจีนบุรี จำนวน 260,000 ไร่ ไปให้ ส.ป.ก. ดูแล ว่าปัญหาพื้นที่พิพาทในเขตอุทยานแห่งชาติทับลานมีมานานกว่า 40 ปีแล้ว เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวก่อนเป็นอุทยานแห่งชาติ ได้เป็นป่าสงวนมาก่อน และได้มีการจัดพื้นที่ให้ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทยได้เข้าไปทำกิน เนื้อที่ประมาณ 58,000 ไร่ แต่หลังจากนั้นได้มีการประกาศอุทยานแห่งชาติไปทับพื้นที่ในส่วนนี้ ซึ่งต้องยอมรับเป็นความบกพร่องของกรมป่าไม้ในอดีต จึงมีการเรียกร้องให้กันพื้นที่ออกจากอุทยาน จึงมีการสำรวจกัน ซึ่งแต่เดิมมีมติครม. ปี 2541 และสำรวจพื้นที่อีกครั้งในปี 2543 ให้กำหนดแนวเขตตรงนี้ขึ้นมาใหม่ เพียงแต่แนวเขตปี 2543 ไม่ไปถึงจุดสิ้นสุดของกฏหมาย เพราะฉะนั้นสถานภาพก็ยังคงอยู่ในพื้นที่อุทยานเหมือนเดิม

นายอรรถพล กล่าวว่า หลายรัฐบาลที่ผ่านมาพยายามแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้านในพื้นที่ มีการประชุมคณะกรรมการนโยบายนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) และมีมติให้กันในส่วนพื้นที่ชุมชน จำนวน 265,000 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ความดูแลของ ส.ป.ก. และเสนอ ครม. ได้มีมติเห็นชอบในวันที่ 14 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา แต่บุคคลใดที่ถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย ในพื้นที่ดังกล่าวจะไม่ได้รับการยกเว้น

อธิบดีกรมอุทยานฯ

ข่าวที่น่าสนใจ

นายอรรถพล เปิดเผยอีกว่า จากมติดังกล่าวทำให้กรมอุทยานฯ ต้องมาดำเนินการปรับปรุงแนวเขต แต่จะทำได้ต้องรับฟังความคิดเห็นที่เปิดระบบออนไลน์จากประชาชนทั้งจากในพื้นที่และประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการและจะสิ้นสุดในวันที่ 12 กรกฎาคม ก่อนจะรวบรวมเสนอให้คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ พิจารณาภายใน 30 วัน เพื่อมีมติเสนอต่อครม. ต่อไป

เมื่อถามว่าจะยึดหลักเสียงประชาชนในพื้นที่หรือประชาชนทั่วประเทศ นายอรรถพล กล่าวว่า ยึดหลักความถูกต้องเราฟังหมด โดยสิ่งสำคัญจะต้องยึดหลักข้อเท็จจริง ทั้งเรื่องการอยู่อาศัยทำกินและการดูแลรักษาผืนป่า แต่เรียนให้ทราบว่าจำนวน 265,000 ไร่ ณ ปัจจุบันนี้เป็นที่ทำกิน เป็นที่อยู่อาศัยและเป็นรีสอร์ท มีทั้งคนที่อยู่อาศัยอยู่เดิมจากการจัดสรรพื้นที่และคนที่มาซื้อที่ต่อเป็นมือที่ 2 มือที่ 3 รวมถึงกลุ่มรีสอร์ตที่ถูกดำเนินคดีประมาณ 12,000 ไร่ เพราะฉะนั้นในกลุ่ม 265,000 ไร่ อาจต้องมาคุยในชั้นคณะกรรมการอุทยานว่าเราจะพิจารณาอย่างไร

 

 

เมื่อถามว่าแสดงว่าเบื้องต้นต้องให้ชาวบ้านที่เป็นเจ้าของที่ดินดั้งเดิมหรือไม่ นายอรรถพล กล่าวว่า คนที่ได้รับสิทธิ์ก็ควรเป็นผู้ได้รับสิทธิ์โดยชอบด้วยกฏหมาย แต่ต้องให้ได้ข้อยุติในคณะกรรมการอุทยานฯ เมื่อถามว่ามีการมองว่ามติ ครม.เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 เป็นการเอื้อนายทุน อธิบดีกรมอุทยานฯ ชี้แจงว่า รัฐบาลที่ผ่านมาพยายามแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินให้กับชาวบ้านในพื้นที่ ก็เลยมองว่าพื้นที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่ให้คงสถานภาพเป็นที่ดินของรัฐ คือ ส.ป.ก. ก็ถือเป็นที่ดินของรัฐเพียงแต่ต้องมาดูว่าใครมีคุณสมบัติ หรือใครไม่มีคุณสมบัติก็ต้องเอาคืน

 

เมื่อถามว่ากระทรวงทรัพย์และกรมอุทยานฯจะหาทางออกอย่างไร นายอรรถพล กล่าวว่า ตอนนี้เรามองพื้นที่ของทับลาน ก็คงไปพิจารณาในชั้นของคณะกรรมการอุทยาน เพื่อเสนอต่อครม.ได้รับทราบหรือพิจารณาได้ เมื่อถามว่าที่ดินที่อ้างว่าเป็นของเอกชน และที่เข้ามาทำรีสอร์ทจะไม่ได้รับสิทธิใช่หรือไม่ อธิบดีกรมอุทยานฯ กล่าวว่า บุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติตามกฏหมายก็คือไม่มีคุณสมบัติถือครองที่ดินอยู่อย่างนั้น แต่หลังจากมีการจัดที่ไปแล้วถ้าไปเกิดผลกระทบในวงกว้าง เอื้อประโยชน์กลุ่มรีสอร์ทหรือกลุ่มนายทุนอันนี้ก็ต้องเอาข้อมูลมาพิจารณาร่วมกันในชั้นของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพย์ฯให้รีบสรุปภายใน 30 วัน เพื่อนัดประชุมคณะกรรมการอุทยาน

เมื่อถามว่าประชาชนจะต้องได้รับการจัดสรรพื้นที่จำนวนเท่าไหร่และใครจะได้บ้าง นายอรรถพล กล่าวว่า ว่า ต้องไปหารือให้ได้ข้อยุติในชั้นคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เพราะคุณสมบัติแต่ละคนไม่เท่ากัน บางคนอยู่เดิม บางคนมาซื้อขายเปลี่ยนมือบางคนเข้ามากว้านซื้อซึ่งกลุ่มนี้ไม่น่าจะมีสิทธิ์ จึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติผู้ครอบครองที่ดินของรัฐที่ให้ทำกิน เพราะสถานภาพคือยังเป็นที่ดินของรัฐอยู่

 

 

เมื่อถามว่า มติ ครม.ให้ดำเนินการตามแผนที่ที่มีการรังวัดใหม่ในปี 2543 เสียงของประชาชนจะสามารถเปลี่ยนแปลงมติดังกล่าวได้หรือไม่ นายอรรถพล ระบุว่าเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณา และเป็นข้อเสนอของคณะกรรมการอุทยานฯ ซึ่งตอนนี้มีการรับฟังความเห็นทั้งชาวบ้านในพื้นที่ และในโลกออนไลน์ แต่ทุกอย่างต้องไปยุติที่คณะกรรมการอุทยานฯ เพื่อเสนอต่อ สคทช. หรือ ครม. หากมีมติให้ดำเนินการตามแผนที่ปี 2543 กรมอุทยานฯ ก็ต้องมาดำเนินการรังวัดเพื่อปรับแผนที่ท้ายกฎหมายใหม่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เที่ยวบินครม.สัญจรระทึก เจออากาศแปรปรวนหนักลงจอดไม่ได้ ต้องบินกลับพิษณุโลก
“พีระพันธุ์” หารือ “รมว.เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม” ญี่ปุ่น ขับเคลื่อนความร่วมมือด้านพลังงาน
มาแน่ “กรมอุตุฯ” ประกาศฉบับ 12 เตือนระวังอันตราย "พายุฤดูร้อน" พัดถล่ม จว.ที่ไหนบ้างเช็กเลย
ฝนตกหนัก "อนุทิน" กำชับ "ผู้ว่าฯ เชียงราย" ติดตามสถานการณ์น้ำแม่น้ำสายใกล้ชิด
"รมว.สุดาวรรณ" นำชมนิทรรศการ สาธิตวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมโดดเด่นชาวนครพนม ชูเส้นทางตามรอยศรัทธาธรรม 7 วันสักการะ 8 พระธาตุประจำวันเกิด
"สรรเพชญ" ผนึก "สุพิศ" นายกอบจ.สงขลา ร่วมขับเคลื่อนพัฒนาท้องถิ่นทุกมิติ มั่นใจยกระดับคุณภาพชีวิตปชช.
"นฤมล" ลงพื้นที่เยี่ยมชาวสวนลิ้นจี่ นครพนม ชื่นชมสร้างมูลค่าส่งออก ยันพร้อมหนุนทุกปัจจัย ดูแลผลไม้ไทย
สส.สัตหีบ เร่งประสานอีสวอเตอร์ แก้ไขปัญหาท่อน้ำประปาแตกบ่อย น้ำไหลเบา เพิ่มแรงดันน้ำพื้นที่โซนสูง
"ศุภมาส" เดินหน้าขับเคลื่อน Soft Power จัดแข่งวาดภาพ Thai Youth Street Art รุดให้กำลังใจ 6 สถาบัน เข้าประชันฝีมือ
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว จัดกิจกรรมคลายร้อนให้สัตว์ ด้วยหวานเย็นผลไม้ พร้อมเสริมกิจกรรมต่างๆ เพื่อกระตุ้นพฤติกรรมธรรมชาติ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น