นายกฯ ตรวจสถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

ชัยนาท 15 ก.ย. - นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำในเขื่อนเจ้าพระยา และการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อเตรียมรับน้ำเหนือหลากและวางแผนป้องกันพื้นที่เจ้าพระยาตอนล่าง กำชับเจ้าหน้าที่ ส.ส.ในพื้นที่ เตรียมแผนเผชิญเหตุไว้ล่วงหน้า

เวลา 14.30 น. ณ ห้องประชุม สำนักงานชลประทานที่ 12 จังหวัดชัยนาท อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์น้ำในเขื่อนเจ้าพระยา และการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทั้งนี้ การระบายน้ำเจ้าพระยามีศักยภาพการระบายน้ำฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก รวม 625 ลบ.ม./วินาที แยกเป็น ฝั่งตะวันตกมีศักยภาพการระบายน้ำ 465 ลบ.ม./วินาที และฝั่งตะวันออกมีศักยภาพการระบายน้ำ 160 ลบ.ม./วินาที ซึ่งคาดว่าปลายเดือนกันยายนจะมีปริมาณฝนมากขึ้น แต่ยังสามารถระบายน้ำลงสู่พื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ส่งผลกระทบในภาพรวม สำหรับจังหวัดชัยนาท มีแผนงาน โครงการภายใต้แผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ จำนวน 54 โครงการงบประมาณ 1,334.84 ล้านบาท พื้นที่ชลประทานรับประโยชน์ 92,694 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 2,948 ครัวเรือน พื้นที่ที่ได้รับการป้องกัน 8,000 ไร่ สามารถเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกัก 8.80 ล้าน ลบ.ม. และเพิ่มแนวป้องกันตลิ่ง 1.95 กม.

ภายหลังรับฟังบรรยายสรุปฯ นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีนำความห่วงใยของรัฐบาลมาฝากพี่น้องประชาชน รวมทั้งต้องการรับฟังปัญหา และนำข้อมูลในพื้นที่ไปแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการ พร้อมนำบทเรียนที่ผ่านมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาครบทุกมิติทั้งน้ำแล้งและน้ำท่วมด้วย และนายกรัฐมนตรีมีความตั้งใจจะลงให้ครบทุกพื้นที่ด้วย

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในที่ประชุม นายกรัฐมนตรียังกำชับให้ส่วนราชการและ ส.ส. ในพื้นที่นำประสบการณ์ ข้อมูลเดิมมาบริหารจัดการ เตรียมแผนให้พร้อม โดยเฉพาะต้องเตรียมแผนเผชิญเหตุไว้ล่วงหน้า พร้อมสร้างการรับรู้ให้ประชาชนเข้าใจ ขณะเดียวกันก็เน้นย้ำเรื่องการกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อเปิดทางน้ำ ให้มีการระบายอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ต้องไม่เกิดผลกระทบในวงกว้างต่อพื้นที่เศรษฐกิจ รวมทั้งต้องมีการวางแผนกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง ในพื้นที่นอกเขตชลประทาน เพื่อให้มีน้ำเพียงพอต่อการทำเกษตร  รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนให้ดีที่สุด และพร้อมให้การสนับสนุนแผนงาน โครงการ ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาในภาพรวม เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังรับฟังบรรยายสรุปฯ นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะได้ตรวจสถานการณ์น้ำในเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อเตรียมรับน้ำเหนือหลากและวางแผนป้องกันพื้นที่เจ้าพระยาตอนล่าง ณ เขื่อนเจ้าพระยา ต่อไป

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ตำรวจ สภ.สัตหีบ" ใจฟู "หนุ่มใหญ่ใจบุญ" มอบทุนปรับปรุง "ตู้ยาม" เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน
"นายกฯอิ๊งค์" ถวายสัตย์ปฏิญาณตน แล้ว ยิ้มตอบสื่อ พรุ่งนี้เริ่มทำงาน ก.วัฒนธรรม
ชาวบ้านล้อมจับโจรขโมย จยย. ผู้ก่อเหตุแกล้งเมา พูดไม่รู้เรื่อง
"ท็อปนิวส์" ขออภัยนำเสนอภาพและคลิปข่าว "โดรน JOUAV" ผิดพลาดคลาดเคลื่อน
เรือเฟอร์รี่อินโดนีเซียล่มใกล้เกาะบาหลี
โซเชียลสวดยับ “จิรัฏฐ์” เหยียด "สมาคมแม่บ้านทหารอากาศ" ลั่นแรง "อิพวกแม่บ้าน"
"หนุ่มวัย 28" ดับปริศนาคาโรงแรม กับงูเห่าในถุงผ้าที่มัดไว้
คืนเดียว 2 เคส หนุ่มไทยหนีตายจากแก๊งบัญชีม้า เล่าชะตากรรมสุดช้ำในกรุงปอยเปต
"ปตท." ครองบริษัทชั้นนำอันดับ 1 ในไทย ซ้ำได้อันดับ 2 ใน Southeast Asia ต่อเนื่อง 2 ปีซ้อน สะท้อนศักยภาพดำเนินงานเป็นเลิศในระดับสากล
"ปตท." จับมือ บีเอ็นพี พารีบาส์ ลงทุนตราสารหนี้ ESG หนุนภารกิจยั่งยืน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น