“ศ.นพ.ประสิทธิ์”ห่วงไทย ป่วยใหม่ไม่ลด เสี่ยงวิกฤติ-กลายพันธุ์

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล อัปเดตสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ระลอกใหม่ทั่วโลก ในหัวข้อ สถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ทั่วโลก, ข้อพึงระวังของประเทศไทย และคำแนะนำในการดูแลตนเอง และบทบาท และความร่วมมือของคนไทยในการจัดการสภาวะวิกฤต

ศาสตราจารย์ ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อมูลว่า ประเทศไทย ขณะนี้มีพบการการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด -19 เกิดสายพันธุ์ใหม่ คือ สายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7 เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดิม พบว่าแพร่กระจายเร็วขึ้นเดิมพบว่าไม่เพิ่มความรุนแรง แต่รายงานล่าสุดจากสหราชอาณาจักร แสดงให้เห็นว่าอาจทำให้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นวิกฤตของประเทศ เพราะสัดส่วนผู้ป่วยที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบ และผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจมีปริมาณเพิ่มขึ้น เริ่มส่งผลให้มีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น (สาเหตุอาจเป็นจากจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นหรือสัมพันธ์กับการกลายพันธุ์)

นพ.ประสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงรวมถึงผู้ที่เสียชีวิตพบในผู้ป่วยที่อายุน้อยมากขึ้น เป็นตัวเลข 2 หลัก ในอายุ 20-40 ปี ซึ่งเสียชีวิตภายใน 7-10 วันเท่านั้น อีกทั้งความต้องการใช้หอผู้ป่วยวิกฤต (ICU) เพิ่มมากขึ้น จนอาจเกิดเหตุการณ์เตียงในหอผู้ป่วยวิกฤตไม่เพียงพอกับความต้องการ นำไปสู่การเสียชีวิตมากขึ้น ยาที่ต้องใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เช่น Favipiravir, Remdesivir มีการแย่งสั่งซื้อหรือควบคุมการจำหน่ายของประเทศผู้ผลิต ทรัพยากรไม่เพียงพอกับความต้องการ เช่น บุคลากรด้านสุขภาพอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์บางประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการดูแลผู้ป่วยหนัก

“ประเทศไทยได้แบ่งยุทธศาสตร์การป้องกันโควิด-19 ออกเป็น 2 ส่วน คือ ยุทธศาสตร์ต้นน้ำ เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยใหม่ คือ คนไทยทั้งประเทศอยู่บ้าน รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล ใส่หน้ากาก ล้างมือ รวมไปถึงการมีจิตสำนึก ความรับผิดชอบ วินัยในการปฏิบัติตามาตรการ และยุทธศาสตร์ปลายน้ำ ลดอัตราการเสียชีวิต เพิ่มอัตราการหายและกลับบ้าน ซึ่งเป็นหน้าผู้รับผิดชอบระบบการดูแลสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรคน แพทย์ เตียง ยา และงบประมาณ” คณบดี ม.มหิดล กล่าว

คณบดี ม.มหิดล ย้ำว่า การฉีดวัคซีน คือเครื่องมือในการจัดการกับการแพร่ระบาดจะเห็นผลเมื่อประชากรอย่างน้อยร้อยละ 25 ได้รับการฉีดวัคซีนการฉีดได้เร็วและฉีดได้มากจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น วัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบันทั่วโลกมีความปลอดภัยสูง โดยข้อมูล European Medicine Agency (EMA) รายงานของ PRAC ที่ศึกษาดูเรื่องการเกิดลิ่มเลือด 37 รายในผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน AstraZeneca จำนวน 17 ล้านโดสในประเทศต่างๆของยุโรป(08/03/2021) ไม่พบมีความสัมพันธ์กัน (18/03/2021) ซึ่งสหราชอาณาจักรศึกษาผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน AstraZeneca จำนวนรวม 18.1 ล้านโดส (ถึง 24/03/2021) พบมี 22 รายเกิดลิ่มเลือดในระบบเลือดดำของสมองและ 8 รายเกิดลิ่มเลือดร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ทั้งนี้ The Medicines and Health Products Regulatory Agency-MHRA ของสหราชอาณาจักรสรุปว่าวัคซีนของ AstraZeneca ปลอดภัยมากอุบัติการณ์การเกิดลิ่มเลือดต่ำกว่าสถิติทั่วไป

สำหรับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ที่ยังต้องระวังเพิ่ม คือ สายพันธุ์แอฟริกาใต้ B.1.351 เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดิมพบว่าแพร่กระจายเร็วขึ้น แต่ข้อมูลล่าสุดพบว่าไม่เพิ่มความรุนแรง สายพันธุ์บราซิล P.1 เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดิมพบว่าแพร่กระจายเร็วขึ้น และมีโอกาสติดเชื้อซ้ำ ส่วนสายพันธุ์ B.1.427 และ B.1.429 พบที่ในสหรัฐอเมริกา อาจจะสัมพันธ์กับการแพร่ระบาดง่ายขึ้น และสายพันธุ์อินเดีย B.1.617 พบในอินเดียซึ่งรายละเอียดของการติดต่อเชื้อยังน้อย

ในส่วนของการเฝ้าระวังและป้องกัน คณบดี ม.มหิดล กล่าวว่า ทั้งมาตรการทางบุคคล มาตรการทางสังคมและการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง 4 ประการ คือ บุคคลเสี่ยง สถานที่เสี่ยง กิจกรรมเสี่ยงและช่วงเวลาเสี่ยง และการระวังการลักลอบข้ามแดน ที่หลุดพ้นจากกระบวนการกักกัน เพราะการแพร่ระบาดที่รุนแรงในประเทศของตนเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดผู้ลักลอบข้ามแดนเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะนำโควิด-19 เชื้อกลายพันธุ์เข้าสู่ประเทศไทย และหลบซ่อนการสอบสวนโรค อีกทั้งมักย้ายที่อยู่อาศัยเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับกุมจึงกลายเป็นผู้กระจายเชื้อ

นพ.ประสิทธิ์ ยังได้กล่าวถึง คำเตือนขององค์การอนามัยโลก(WHO) เมื่อวันที่ 20 เมษายน ที่ผ่านมา ว่ามีการเฝ้าติดตามการเปลี่ยนแปลงอุบัติการการติดเชื้อโควิด-19 และการเสียชีวิต ทั้งนี้มีการติดตามใน 8 สัปดาห์ต่อเนื่องที่พลโลกใหม่มีการติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น รวมไปถึงการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นภายใน 5 สัปดาห์ ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 กว่า 3 ล้านคน แบ่งเป็น กลุ่มแรกใช้เวลาถึง 9 เดือน การเสียชีวิตรวม 1 ล้านคน กลุ่มที่สองใช้เวลา 4 เดือน มีการเสียชีวิตรวม 1 ล้านคน และกลุ่มที่สามใช้เวลาเพียง 3 เดือน มีการเสียชีวิตรวม 1 ล้านคน สะท้อนให้เห็นว่าเรากำลังเจอกับอุบัติการณ์โควิด-19 ที่ทำให้มีการเสียชีวิตเร็วขึ้น โดยมีปัจจัยหลายอย่าง อาทิ พบผู้ติดเชื้อในคนอายุน้อยลง องค์การอนามัยโลกเร่งให้ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนกระจายสู่คนให้เร็ว เพื่อให้ลดการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"เครือข่ายกัญชา" บุก สธ.วันนี้ เตรียมปักหลักค้าง เปิดเวทีอภิปราย "สมศักดิ์" ปมสมุนไพรควบคุม
ประชุมนัดแรกวันนี้ "บช.ก." เดินหน้าสอบคำร้อง "สมชาย" พร้อมคณะ เอาผิด "นายกฯอิ๊งค์" ปมคลิปเจรจา "ฮุน เซน"กระทบความมั่นคงรัฐ
"กรมอุตุฯ" เตือน ฝนตกหนัก เช็ก 39 จว.อ่วม เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก กทม.ก็โดนด้วย
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) “นาจา 2” สร้างสถิติหนังจีนทำรายได้ในต่างประเทศสูงสุดรอบ 20 ปี
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ชมปรากฏการณ์ 'แม่น้ำสองสี' หลังฝนตกหนักในฉงชิ่ง
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) เจ้อเจียงเปิดตัว 'แพลตฟอร์มท่องเที่ยว' พลัง AI
กกล.บูรพา รวบ 2 สาวไทย อ้างถูกหลอกทำงานปอยเปต เบื้องหลังรับจ้างข้ามแดนเปิด "บัญชีม้า-สแกนหน้า" ให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์
“50 ปีไม่มีแก่” คำนี้ไม่มีอยู่จริงสำหรับคุณอาร์ต วศิน วรรณพฤกษ์ ผู้บริหารรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
ศน. ต่อยอดกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ “ตักบาตรทางน้ำริมคลองข้าวตอก จังหวัดพิจิตร” ส่งเสริมพุทธศาสนิกชนเข้าวัด น้อมนำหลักธรรมดำเนินชีวิต
รมว.คลัง โต้ลือ "สหรัฐ" ตัดสินใจเก็บภาษีไทย 36% แจงเร่งยื่นข้อเสนอใหม่ก่อน 9 ก.ค. นี้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น