“ศุภมาส” สั่งการทีมปฏิบัติการอว.ลุยสุ่มตรวจตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตรวจเข้มจุลินทรีย์ สารปนเปื้อน

"ศุภมาส" สั่งการทีมปฏิบัติการอว.ลุยสุ่มตรวจตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตรวจเข้มจุลินทรีย์ สารปนเปื้อน

ศุภมาส” รมว. อว. สั่งการทีมปฏิบัติการอว.ลุยสุ่มตรวจตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตรวจเข้มจุลินทรีย์ สารปนเปื้อน

 

 

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สั่งการให้ทีมปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว (DSS Team) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) นำโดยนายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดี วศ. พร้อมด้วยทีมนักวิทยาศาสตร์ ลงพื้นที่ตรวจสอบปัญหาคุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ ในเขต กทม. ตามที่เป็นข่าวจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญกว่า 90% ใน ‘กทม.’ อันตราย! ‘ไร้ใบอนุญาต-พบสารปนเปื้อน’ นั้น

 

ศุภมาส

 

ทีม DSS เร่งลงพื้นที่เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติเช่น ความกระด้าง สี กลิ่น จุลินทรีย์ และปริมาณสารปนเปื้อน รวมถึงความเหมาะสมของสถานที่ติดตั้งตู้น้ำดื่ม ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องน้ำบริโภคจากตู้น้ำดื่มอัตโนมัติเพื่อความปลอดภัยแก่ประชาชนในการเลือกซื้อน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นายแพทย์รุ่งเรืองฯ กล่าวว่า ตามนโยบายท่านศุภมาสฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. ที่เน้นย้ำให้ดูแลพี่น้องประชาชนในด้านคุณภาพชีวิต ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดี วศ. ได้จัดตั้งทีมนักวิทยาศาสตร์เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็ว (DSS Team) ลงพื้นที่ในเขต กทม. พิกัดบ้านพักสวัสดิการกองทัพบก , ซอยมั่นสิน , ฝั่งสำนักงานนโยบายและแผนขนส่งจราจร ริมทางรถไฟอุรุพงษ์ , ชุมชนสระแก้ว ริมทางรถไฟอุรุพงษ์ และซอยบุญอยู่ เพื่อเก็บตัวอย่างน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติ พบว่าน้ำดื่มบางตู้นั้นไม่ปลอดภัย มีสารปนเปื้อนและเชื้อจุลินทรีย์เกินข้อกำหนด มีสิ่งปนเปื้อนอันตรายจากเชื้อโรคที่ปนมากับน้ำดื่มอาจก่อให้เกิดโรคหลายชนิด เช่น อี.โคไล สแตปฟิโลคอคคัส หากบริโภคน้ำดื่มปนเปื้อนเชื้อเหล่านี้อาจก่อให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องเสีย ฯลฯ ซึ่งหากมีปริมาณมากเกินไปอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนผู้บริโภค

 

ทั้งนี้ วศ. ขอแนะนำให้ประชาชนที่ใช้บริการตู้น้ำดื่มอัตโนมัติ ตั้งข้อสังเกตตรวจสอบสติ๊กเกอร์ตู้น้ำดื่มปลอดภัยของสำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กทม. รวมถึงเลือกตู้ที่มีที่ตั้งอยู่ห่างจากบริเวณที่มีฝุ่นละออง แหล่งระบายน้ำเสียและขยะมูลฝอยไม่น้อยกว่า 30 เมตร เป็นบริเวณที่ไม่เฉอะแฉะสกปรก ตู้ต้องมีฝาเปิดปิดช่องรับน้ำ และสภาพตู้น้ำต้องไม่เป็นสนิม สะอาด ถูกสุขลักษณะ เพื่อสร้างความมั่นใจในการใช้น้ำที่มีความสะอาดปลอดภัย เสริมสร้างสุขภาพอนามัย ตามเกณฑ์น้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก

กรณีประชาชนมีข้อสงสัยด้านคุณภาพน้ำ สามารถติดต่อ วศ. เพื่อดำเนินการทดสอบคุณภาพน้ำ เนื่องจาก วศ. เป็นห้องปฏิบัติการทดสอบน้ำอ้างอิงที่ได้มาตรฐานของประเทศ ติดต่อสอบถามได้ที่ 02-201-7000 หรือ www.dss.go.th

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"รองอ้อม ลลิตา" มั่นใจโค้งสุดท้าย คว้าชัยเลือกตั้งนายกเมืองป่าตอง
"สันติสุข" ชี้มั่วมากอ้างอำนาจ"ราชทัณฑ์" พา"ทักษิณ" นอนชั้น 14 ไม่เกี่ยวศาล ไล่ไปหามา เคสไหนเข้าคุกไม่ถึงคืน ออกไปพักห้องหรู รพ.ตร.
"นฤมล" แจงผลสำเร็จโครงการจ้างแรงงานชลประทาน กระจายรายได้เกษตรกร ลุยเป้าหมายให้ครบกว่า 8 หมื่นตน
ตร.รวบมือปาหินใส่รถ "ย่านบางนา-ตราด" พร้อมคุมตัวทำแผน อึ้งสารภาพเคยก่อเหตุมาแล้ว 12 ครั้ง
"น.1" สั่งล่า 2 มือปืนก่อเหตุอุกอาจ บุกยิงหนุ่มเพิ่งพ้นคุก 9 นัด ดับสลด
"เทพไท" เชื่อถ้าศาลฏีกาฯไต่สวนครบ 5 ประเด็น จากปากพยานสำคัญ รวม"วิษณุ" มั่นใจ "ทักษิณ" ต้องกลับนอนคุกจริงๆ
"เสธ.ต๊อด" ยันเอกสารกอ.รมน. ไร้เนื้อหากล่าวหา "อนุทิน" แอบอ้างสถาบันฯ เจ้าตัวโพสต์ติงสื่ออย่าออกข่าวชุ่ยๆ อย่าดึงฟ้าลงต่ำ
ผู้ว่าตราดเปิดโครงการ เทศกาลเรือใบ ดันตราดศูนย์กลางเมืองเรือใบและกิจกรรมทางทะเลเชื่อมโลก เผยสร้างรายได้ท่องเที่ยวยั้งยืน
ดีอี เตือน ข่าวปลอม “จะเกิดแผ่นดินไหวที่ภาคอีสาน” หลอกลวงให้ ปชช.ตื่นตระหนก- เข้าใจผิด
ไม่มีคำประณาม "ชาวเน็ต" ถาม "รอมฏอน" โพสต์แค่เสียใจโจรใต้ สังหารโหดชาวบ้าน เร่งรัฐเจรจาสันติภาพ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น