No data was found

ด้านมืดของSocial Media

กดติดตาม TOP NEWS

social media หลายประเทศเริ่มให้ความสำคัญกับ fake news และความถูกต้องของข้อมูลโดยปราศจากความรับผิดชอบ

ด้านมืดของโซเซียลมิเดีย

โดย ปกรณ์ นิลประพันธ์

ตั้งแต่มีการใช้ social media ปลุกกระแส jasmine revolution ในตูนิเซียในปี 2011 เป็นต้นมา หลายประเทศเริ่มให้ความสำคัญกับ fake news และความถูกต้องของข้อมูลที่มีการปล่อยผ่าน social media โดยปราศจากความรับผิดชอบ ทั้งที่ปล่อยโดยตั้งใจ (มีเจตนาร้าย) และไม่ตั้งใจ (แชร์)

โดยที่ social media เป็นของใหม่สำหรับหลายคน โดยเฉพาะวัยกลางคนและผู้สูงวัย แต่ละคนจึงได้รับข้อมูลจำนวนมากมายในแต่ละวัน จากการฟอลโล ไลค์ หรือแชร์ และมักจะ “เชื่อ” ในข้อมูลที่ส่งผ่านกันมา หลักคิดง่าย ๆ คือถ้าไม่จริง ใครจะกล้าปล่อย เพราะมันผิดกฎหมาย

หลายปีผ่านไป คนจำนวนมากขึ้นเริ่มเรียนรู้และตั้งคำถามถึงความถูกต้องของข้อมูลจำนวนมหาศาลที่มีการส่งผ่านมาถึงตัวเองในตะละชั่วโมง แต่ละวัน ว่ามันจริงหรือไม่จริง ความเชื่อในข้อมูลที่ส่งผ่านจึงเริ่มจำกัดลง อยู่ที่ว่า “ใครส่งข้อมูล” มาให้ ถ้าเป็นคนที่ตนเชื่อถือก็จะทึกทักว่าจริงและเชื่อไปตามนั้น

แต่คนส่งข้อมูลก็มักจะไม่ได้ตรวจสอบก่อน คงคิดว่าแชร์เร็วจะมีรางวัลหรือไงไม่ทราบ หรืออาจเป็นข้อความที่ “ถูกจริต” ของตนจึงส่งต่อไป ซึ่งหลายเรื่องเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อถือ ผู้รับสารจำนวนไม่น้อยจึงเริ่มตรวจสอบ “ความน่าเชื่อถือ” ของข้อมูลโดยใช้อินเตอร์เน็ตนี่แหละ เพราะทุกอย่างที่ปล่อยออกมา มันมี digital footprints ทั้งนั้น และก็พบว่าข้อมูลที่ส่งผ่านมาเยอะ ๆ นั้น เชื่อถือได้น้อยมาก แม้ว่าจะส่งจากคนที่ตัวเองเชื้อหรือเคารพนับถือก็ตาม เรียกว่าเริ่มมี digital literacy กันมากขึ้น ในช่วงที่ความน่าเชื่อถือของข้อมูลจำนวนมหาศาลใน social media อยู่ในภาวะล้มละลาย (bankruptcy of information)

Digital literacy ทำให้เกิดกระแส anti fake news ที่อยู่บนแนวคิดว่าปล่อยให้ผู้รับข่าวสารซึ่งเป็นบัวสี่เหล่า เป็นคนตัดสินใจเอาเองว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อในเรื่องใด มันขาดความรับผิดชอบเอามาก ๆ เพราะไม่ใช่ทุกคนจะเป็นบัวพ้นน้ำที่มี digits literacy เหมือนกัน แต่บัวอีกสามเหล่าที่เหลือมีจำนวนมาก และไม่มีเหตุผลใดเลยสนับสนุนเลยว่าควรปล่อยให้มีการนำเรื่อง “ปลอม ๆ” หรือ “โกหกหลอกลวง” หรือที่ “สร้างความเกลียดชังหรือแตกแยก” ขึ้นในสังคม มาเผยแพร่เพื่อให้คนคิดเอาเองว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อ

ส่วนผลงานของ social media ในตูนิเซียน่ะหรือ?

จนกระทั่งปี 2021 นี้ก็ยังหาความสงบและสันติสุขไม่ได้เลย!!!

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้ว่าชลฯ บูรณาการ ทุกหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาภัยแล้งบนเกาะล้าน พร้อมแจกจ่ายน้ำให้ประปาให้ชาวบ้านบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น
อบต.ตะพง ชวนเที่ยวงานเทศกาลดนตรี สีสัน ผลไม้สไตล์ตะพง ของดีเมืองระยอง เลือกซื้อ ชิม ช้อปผลไม้ขึ้นชื่อเมืองระยอง ทั้งทุเรียน เงาะ ลองกอง มังคุด
น้องชายยิงพี่ชายทนายความรุ่นใหญ่ ดับคาบ้าน เหตุหึงเมีย
เมียนมาห้ามชายวัยเกณฑ์ทหารออกไปทำงานตปท.
สลด "หนุ่มใหญ่" ดกเหล้าขาวดับคาโต๊ะ คาดเป็นฮีทสโตรก หลังร้อนจัด 44 องศาฯ
"มณฑลทหารบกที่ 32" แปรอักษรถวายกำลังใจ "กรมสมเด็จพระเทพฯ"
"สมาคมคนตาบอดฯ" ยืนยันจัดสรรโควต้าสลากฯครบถึงมือสมาชิก ไม่การันตีแทนองค์กรอื่นปล่อยยี่ปั๊ว-ออนไลน์
"ทนายอนันต์ชัย" ยันเอาผิดก๊วนเชื่อมจิต ย้ำลัทธิบิดเบือนหลักพุทธศาสนา รับไม่ได้ใช้เด็กหาผลประโยชน์
กมธ.ศึกษานิรโทษฯ เคาะนิยามบุคคล มีมูลเหตุการเมืองจูงใจทำผิดคดีไม่รุนแรง ตั้งแต่ปี 48 ไม่รวมละเมิด 112
“สงคราม กิจเลิศไพโรจน์” เจ้าของห้างอิมพีเรียล เปิดตัวเป็นแฟนคลับ Top News บอกชอบมานานแล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น