กรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งที่1และ 2 เปิดปฏิบัติการเก็บกู้ซากอวน ปกคลุมแนวปะการัง กว่า 700 ตร.ม.น้ำหนักรวม 338กก.พื้นที่เกาะริ้น จ.ชลบุรี เตรียมเร่งฟื้นฟูระบบนิเวศต่อไป

วันที่ 17 มกราคม 2567 สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ 1 (ระยอง)และ 2 (ชลบุรี) นำโดย นายวุฒิพงษ์ วงศ์อินทร์ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทะเล สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 (ชลบุรี) และเจ้าหน้าที่ชุดฉลามขาว พร้อมด้วย อาสาสมัครนักดำน้ำ ทั้งชาวไทยและต่างชาติ จำนวน 35 คน นำเรือทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 804 ออกปฏิบัติการภาระกิจเก็บกู้อวนปกคลุมแนวปะการัง เกาะริ้น อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ตามขอสั่งการจาก ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้ดำเนินการเก็บกูอวน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศปะการัง นายวุฒิพงษ์ วงศ์อินทร์ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทะเล สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 (ชลบุรี) เปิดเผยว่า การปฏิบัติงานในครั้งนี้ สืบเนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากนักประดาน้ำในพื้นที่ ที่ลงไปถ่ายภาพใต้น้ำ พบอวนขนาดใหญ่ทับแนวประการังอยู่ กรมทรัพยากรและชายฝั่ง จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ลงไปเก็บกู้ซากอวนทั้งหมดขึ้นมา พร้อมทั้งมีการประเมินความเสียหายทั้งหมด

สำหรับการปฏิบัติการในครั้งนี้ ได้แบ่งนักดำน้ำทั้งหมด 7ทีม รอบแรกได้ส่งนักประดานน้ำสำรวจสภาพของอวน พบว่ามีความยาว 70เมตร กว้าง 10เมตร ครอบคลุมพื้นที่แนวปะการังทั้งหมด 700ตร.ม. ในรอบที่สองได้ส่งนักดำน้ำลงไปตัดอวนออกเป็นผืนย่อยโดยใช่ถุงพลาสติกรัดไว้ที่อวน เพื่อให้ลอยขึ้นมา และจะทำให้เกิดความเสียหายต่อปะการังน้อยที่สุด จากนั้นในรอบสุดท้ายได้ทำการเก็บกู้อวนน้ำรวมหนักประมาณ 338กก. พร้อมซ่อมแซมกิ่งที่แตกหักเสียหาย ส่วนการสำรวจประเมินความเสียหายที่มีต่อแนวปะการังในพื้นที่โดยประมาณ 700ตร.ม.พื้นที่ปะการังเสียหายประมาณ 70 ตร.ม.ลักษณะความเสียหายหลัก คือปะการังซีดจาง ฟอกขาวบางส่วน นอกจากปะการังยังมีผลกระทบอื่นๆ ประกอบด้วย ดอกไม้ทะเล และสัตว์หน้าดิน (ปู, หอยเม่น) ถูกทับและพันเกี่ยว แนวทางการฟื้นฟู คิดเป็นร้อยละ 10ของพื้นที่ที่ถูกปกคลุมทั้งหมด ซึ่งสภาพอากาศในวันนี้ท้องฟ้าค่อนข้างแจ่มใส ทำให้การปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถปฏิบัติได้ตามแผนที่วางไว้หลังจากนี้จะมีการปลูกทดแทนในพื้นที่เสียหาย ประมาณ 100กิ่ง โดยมีแผนติดตามผลการดำเนินการในอีก 2 เดือนข้างหน้า

 

ทั้งนี้จึงขอความร่วมมือผู้ประกอบการประมง ให้ทำการประมงในนอกเขตพื้นที่ที่มีแนวปะการังเพราะหากอวนไป หรือตัดทิ้งปล่อยไว้จะทำให้ปะการังตาย เพราะบริเวณที่โดนคลุมจะได้รับแสงน้อยลง ระบบน้ำหมุนเวียนไม่ดี ปะการังจึงเริ่มมีสีซีด หากปล่อยทิ้งไว้ปะการังจะฟอกขาวหมดก้อน และตายในที่สุด เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศเป็นอย่างมาก หากพบผู้ประกอบการประมงทำความเสียหายต่อแนวปะการัง ซึ่งถือเป็นสัตว์คุ้มครอง จะมีความผิดตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2562 และ พรบ.การประมงอีกด้วย

 

 

อนันต์ กิ่งสร ทิวากร กฤษมณี ผู้สื่อข่าว จ.ชลบุรี

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“ภูมิธรรม” แจงปมถอยกำลังทหารปราสาทตาเมือนธม ทำตามกรอบ MOU 43 ยืนยันไม่ทำไทยเสียดินแดน
ผู้ประกอบการเกาะช้าง-ททท.ตราดระบุนักท่องเที่ยวมาเที่ยวมากกว่าทุกปี
ชัดเจน! เปิดภาพล่าสุด “ทหารไทย” ยืนหยัดบนตาเมือนธม คนไทยแห่ชื่นชม
สีจิ้นผิงเตรียมเยือนรัสเซีย 7-10 พค.
เพจดังปูดอีก หวั่นใจ "ดิว อริสรา" เบี้ยวหนี้ "เมย์ วาสนา" ปมยืมของหรู เตือนรีบกลับไทยก่อน 20 พ.ค.นี้ ไม่งั้นบานปลายหนัก
มุกดาหาร พบอีกผู้ป่วยโรค “แอนแทรกซ์” รายใหม่ 1 ราย รวมสะสมแล้ว 3 ราย
คนร้ายขับรถพุ่งชนประตูสนามบินฟิลิปปินส์ดับ 2 คน
(สหรัฐ)วอร์เรน บัฟเฟตต์ประกาศยุติบทบาทซีอีโอเบิร์กเชียร์ แฮธะเวย์
ทรัมป์ถูกวิจารณ์หนักหลังใช้ AI แต่งรูปตัวเองเป็นโป๊ป
สลด "อดีตผู้ใหญ่บ้าน" หัวร้อน ชักปืนกระหน่ำยิง "หลาน" เสียชีวิตพร้อมภรรยา หลังถูกท้าทาย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น