นักวิชาการ วสท. แจงชัดเสาตอม่อสะพานพระราม 3 ไร้ปัญหา หลังสื่อไทยตีข่าวต่างชาติสงสัยบอบบางผิดปกติ

นักวิชาการ วสท. แจงชัดเสาตอม่อสะพานพระราม 3 ไร้ปัญหา หลังสื่อไทยตีข่าวต่างชาติสงสัยบอบบางผิดปกติ

จากกรณีที่มีนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นรายหนึ่ง ได้โพสต์ภาพผ่านทวิตเตอร์ พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า “ที่นี่คือเมืองไทย เสาบางเกินไปหรือเปล่าครับ” โดยหลังจากโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ทำให้มีคนวิพากษ์วิจารณ์ถึงกรณีดังกล่าวกันเป็นจำนวนมาก

โดยรศ.เอนก ศิริพานิชกร กรรมการควบคุมอาคาร ที่ปรึกษาสาขาวิศกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย อธิบายว่า หากมองตามความรู้สึกขนาด อาจจะดูไม่มั่นคงแข็งแรง เพราะมีขนาดที่บางมาก แต่มีความแข็งแรงไม่น้อยไปกว่าสะพานที่ใช้เสาตอม่อขนาดใหญ่ 2 ต้น เพราะมีการวางเสาต่อเนื่องกัน ในการถ่ายเทน้ำหนัก ปัจจุบันการ ออกแบบเสาตอม่อให้เล็กมีความนิยมกันมาก เพราะประหยัดพื้นที่ ให้พื้นที่ด้านล่างน้อย โดยเฉพาะในต่างประเทศมีการใช้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นประเทศนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และ ญี่ปุ่น การทำโครงตั้งฉากในลักษณะดังกล่าวจะลดรอยต่อให้น้อยลง ที่สำคัญจุดดังกล่าวเป็นเชิงสะพานก่อนเข้าถึงตัวสะพานกลางแม่น้ำเท่านั้น แต่พอไปถึงช่วงกลางสะพาน การออกแบบเสาตอม่อก็มีขนาดใหญ่เหมือนสะพานอื่นๆ

สะพานพระราม 3 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก สะพานพระราม 3 ก่อสร้าง วันที่ 29 สิงหาคม 2539 และเปิดให้สัญจรในวันที่ 30 มี.ค.2543 สร้างขนานกับสะพานกรุงเทพ เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร เนื่องจาก สะพานกรุงเทพยังคงต้องเปิด-ปิดสะพานอยู่ จึงต้องสร้าง “สะพานพระราม 3” ให้สูง เพื่อให้เรือสินค้าแล่นผ่านได้ ปัจจุบันเปิดใช้งานมาแล้ว 23 ปี โดยมีกรมทางหลวงชนบทเป็นผู้ดูแลและก่อสร้าง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

รศ.เอนก อธิบายเพิ่มเติมว่า แม้ว่าเสาจะมีขนาดเล็ก และบางกว่าเสาตอม่อที่เราคุ้นเคยกัน แต่มีความแข็งแรงไม่น้อยไปกว่าสะพานที่ใช้เสาตอม่อขนาดใหญ่ 2 ต้น เพราะมีการวางเสาต่อเนื่องกัน และในการถ่ายเทน้ำหนัก ซึ่งปัจจุบันการ ออกแบบเสาตอม่อให้เล็กมีความนิยมกันมาก เพราะประหยัดพื้นที่ ให้พื้นที่ด้านล่างน้อย โดยเฉพาะในต่างประเทศมีการใช้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศญี่ปุ่น การทำโครงตั้งฉากในลักษณะดังกล่าวจะลดรอยต่อให้น้อยลง ทำให้ดังนั้นจึงมั่นใจไดว่าเสาตอม่อ “สะพานพระราม 3” มีความแข็งแรงมั่นคงพอ และที่สำคัญจุดดังกล่าวเป็นเชิงสะพานก่อนเข้าถึงตัวสะพานกลางแม่น้ำเท่านั้น แต่พอไปถึงช่วงกลางสะพานการออกแบบเสาตอม่อก็ให้เสาตอม่อขนาดใหญ่เหมือนสะพานอื่นๆ อีกทั้งการออกแบบลักษณะดังกล่าว จะทำให้สะพานขยับตามแนวทิศทางการวิ่งของรถ ลดรอยแตกร้าวได้ดี

 

ต่อมาในโลกออนไลน์ต่างพากันแสดงความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมาก อาทิ เพจเฟซบุ๊ก “The METTAD” โพสต์ข้อความระบุว่า จะเสี้ยมกีบไปฟาดตู่ แต่สร้างตั้งแต่ปี 39 ส่วนกีบผู้ชาญฉลาด ก็เอาไปฟาดตู่ต่อ สื่อฯชนะ” , “ต่างชาติ สงสัย ไม่ผิด แต่สื่อไทยแท้ๆ นอกจากไม่มีความสามารถในการหาข้อมูล มาเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้กับผู้อ่านแล้วยังทำได้แค่นั่งเทียนเขียนข่าวเหมือนรับเด็กไร้ประสบการณ์ทำงานมาทำหัวข้อข่าวขายขำไปวันๆ น่าอนาถใจ”

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“พล.ท.นันทเดช” ชี้กฎกรรมเริ่มทำงาน คนผิดไม่มีทางหลุดพ้น เชื่อไม่รอดถึงตั้งกาสิโน
ปชช.หลั่งไหลวัดโสธรพาครอบครัวขอพรวันแรงงาน
ผู้การแปดริ้ว มอบใบประกาศเกียรติการปฏิบัติงานดีเด่นด้านงานปราบปรามสถานีตำรวจภูธรแสนภูดาษ
อนุ กมธ.การเงิน การคลัง เสนอแนวทางแก้ไขปัญหารายได้การยาสูบแห่งประเทศไทยตกต่ำ เหตุซื้อภายในประเทศมีการผูกขาด
กรมควบคุมโรคเตือน! เฝ้าระวังติดเชื้อ "แอนแทรกซ์" หลังคร่าชีวิตชาวมุกดาหาร 1 ราย เจอกลุ่มเสี่ยงอีก 247 คน
“สมศักดิ์” จ่อฟันโทษ "ผอ.รพ.ชัยภูมิ" เมาแล้วขับชนสื่อ ชี้ผิดร้ายแรง ทำเป็นคดีตัวอย่าง สั่งดูแลคนเจ็บเต็มที่
"หมอวรงค์" เตือนเสี่ยงถึง "นายกอิ๊งค์" ถ้าศาลฎีกาฯ ไต่สวนเชื่อได้ว่า "ทักษิณ" ป่วยทิพย์
ครอบครัว "น้องการ์ตูน" แจ้งข่าว ขอยุติการรักษา ตัดสินใจให้น้องไปอย่างสงบ หลังต่อสู้รักษามายาวนานกว่า 10 ปี
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ช้างป่าแวะบ้านคน 'กินจุบจิบ' ที่สิบสองปันนา
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) 'รถยนต์บินได้'จีนแบรนด์หงฉี ดีไซน์แยกส่วนล้ำสมัย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น