ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมี.ค. สูงสุดรอบกว่า 3 ปี ท่องเที่ยว-เลือกตั้ง หนุนศก.

ม.หอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน มี.ค. ปรับตัวดีขึ้นสูงสุดรอบ 37 เดือน จากการท่องเที่ยว -เลือกตั้ง ที่หนุนเศรษฐกิจให้ปรับตัวดีขึ้น เกิดเงินหมุนเวียนในประเทศเพิ่มมากขึ้น

วันนี้ (11 เม.ย.66 ) รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยถึงผลของการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ระดับ 53.8 ว่า ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 37 เดือนนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563

 

 

ผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นหลังจากที่การท่องเที่ยวฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน ทั้งการท่องเที่ยวของคนไทยและนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีนที่เริ่มเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้นเป็นลำดับ ส่งผลให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศมากขึ้นและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันปรับตัวลดลงทำให้ประชาชนรู้สึกผ่อนคลายเรื่องค่าครองชีพลง ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทุกรายการปรับตัวดีขึ้นทุกรายการอย่างมีนัยสำคัญ

ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่ยังทรงตัวสูง รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การเงินของโลก และสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน ตลอดจนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่อาจเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันของการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งส่งผลลบต่อการส่งออกของไทย ทำให้การส่งออกในช่วงนี้หดตัวลงและมีผลกระทบในเชิงลบต่อกำลังซื้อของประชาชนในทุกภูมิภาค

 

 

 

 

รศ.ดร.ธนวรรธน์ ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการที่ปรับตัวดีขึ้นในรอบ 37 เดือน สะท้อนว่า เศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงที่กำลังจะหลุดจากสถานการณ์โควิด -19 ที่เศรษฐกิจไทยติดลบถึง 6.1% ในปี 2562 และการที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในช่วงเดือนมีนาคม ซึ่ง เป็นช่วงก่อนเทศกาลวันสงกรานต์และช่วงก่อนการเลือกตั้งที่จะทำให้มีเม็ดเงินสะพัดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจทำให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีที่สุดในรอบ 3 ปีใกล้เคียงก่อนจะเกิด โควิด-19 ซึ่งจะส่งผลให้คนไทยมีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะความต้องการซื้อสินค้าคงทนถาวร เช่น รถยนต์ บ้าน และการท่องเที่ยวที่ดีขึ้น

ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคยังมองว่า ราคาน้ำมันปัจจุบันแม้ว่า จะไม่ปรับตัวสูงขึ้น แต่ก็ยังแพง พร้อมมองถึงเรื่องค่าไฟฟ้า ที่จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและประชาชนจะใช้ไฟแพงขึ้นในช่วงเดือน พ.ค.-ส.ค.ที่มีการปรับค่าเอฟทีเพิ่มขึ้น จึงส่งผลกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังไม่เด่น แต่ผ่อนคลายลงบ้าง นอกจากนี้ ในส่วนของสถานการณ์ทางการเมืองมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นในรอบ 6 เดือน ซึ่งหากหลังการเลือกตั้ง บรรยากาศการจัดตั้งรัฐบาล ทำให้มีรัฐบาลใหม่ที่มีเสถียรภาพ และเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ อาจจะส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวดีขึ้น จากการเมืองที่นิ่งขึ้น เศรษฐกิจโลกผ่อนคลายลง และเศรษฐกิจไทยได้รับการกระตุ้นจากภาคการท่องเที่ยวจะทำให้เศรษฐกิจไทยโตได้ตามกรอบบวก-ลบ อยู่ที่ 3.5 %

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำโดยรวม และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ระดับ 48.0 50.9 และ 62.5 ตามลำดับ ปรับตัวดีขึ้นทุกรายการเมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนกุมภาพันธ์ ที่อยู่ในระดับ 46.8 49.9 และ 61.2 ตามลำดับ แสดงว่าผู้บริโภคเริ่มมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวขึ้น

 

ทั้งนี้ การปรับตัวดีขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของผู้บริโภค (Consumer Confidence Index: CCI) ที่ปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 52.6 เป็น 53.8 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 37 เดือนนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมยังคงเคลื่อนไหวคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงเห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมยังคงฟื้นตัวช้าจากวิกฤต COVID-19 อัตราเงินเฟ้อสูงและการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยและทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีปัญหาสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนเข้ามาซ้ำเติม ยิ่งส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในเชิงลบอย่างมากต่อกำลังซื้อภายในประเทศ ภาคการท่องเที่ยว ภาคการส่งออก ธุรกิจโดยทั่วไป และการจ้างงานในอนาคต โดยยังคงมีโอกาสบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างต่อเนื่องในระยะอันใกล้นี้

 


ขณะที่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบันปรับตัวดีขึ้น จากระดับ 37.0 เป็น 38.0 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 37 เดือนนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 37 เดือนนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมาเช่นเดียวกัน โดยปรับตัวดีขึ้นจากระดับ 60.2 มาอยู่ที่ระดับ 61.4 การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องทุกรายการ ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคเริ่มกลับมาเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัวขึ้น และจะเริ่มจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"รมช.กลาโหม" ลงพื้นที่ชายแดนใต้ เรียกถกคลี่คลายเหตุรุนแรง ย้ำรัฐบาลห่วงใยประชาชนทุกกลุ่ม ปรับรูปแบบกำลังพล ทำงานเข้มงวด
เหิมหนัก โจรใต้ลอบวางระเบิด "ทหารช่าง" ยะลา บาดเจ็บ 2 นาย
สืบสวนสัตหีบ รวบ เพรช ตีนแมว หลังขโมยรูปหล่อเสด็จเตี่ยหน้าโรงพักสัตหีบ และ พบประวัติก่อเหตุทั่วสัตหีบ
พิรุธ! 11 บริษัท ส่งออก "ปลาหมอคางดำ" แต่ไม่เคยขออนุญาตนำเข้า
บทพิสูจน์ การบังคับใช้กฎหมาย ก่อนเปิด "กาสิโน" หวยออนไลน์ ลามใช้เด็กและความอ่อนไหว "สถาบันครอบครัว" โฆษณา
กรมโยธาฯ แจงเหตุโครงการเขื่อนป้องกันชายฝั่งทะเล ประจวบคีรีขันธ์ ชำรุดเสียหาย
สระแก้ว ระทึก เพลิงไหม้โกดังสินค้าตู้แช่มือสอง กลุ่มควันลอยปกคลุมเมืองสระแก้วกว่า 10 กม.
“อนุทิน” ย้ำจุดยืน “เอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ” พรรคร่วมต้องเป็นหนึ่ง หนุนทำประชามติ ฟังเสียงประชาชน
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ฮ่องกงแข่งปีน 'ภูเขาซาลาเปา'
"พรรคส้ม" ออกแถลงการณ์ด่วน ผู้สมัคร สท.สมุทรปราการ โดนจับตั้งแก๊ง "บุญรักษา" ค้ายาเสพติดรายใหญ่

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น