No data was found

“โรคลมแดด” 6 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น จากภาวะฮีทสโตรก ภัยร้ายในฤดูร้อน

ปฐมพยาบาล เบื้องต้น ฮี ท ส โตรก, โรคลมแดด, วิธี ป้องกัน โรค ลม แดด, heat stroke, วิธี ป้องกัน โรค ฮี ท ส โตรก, ป้องกัน ฮี ท ส โตรก, ลมแดด, ความร้อน, อากาศร้อน

กดติดตาม TOP NEWS

รู้ไว้ใช่ว่า 6 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น "โรคลมแดด" ภาวะฮีทสโตรก (Heatstroke) ภัยอันตรายที่มาพร้อมฤดูร้อน ยอดผู้เสียชีวิตพุ่ง 43 รายต่อปี

เปิด 6 ปฐมพยาบาล เบื้องต้น ฮี ท ส โตรก “โรคลมแดด” วิธี ป้องกัน โรค ลม แดด (heat stroke) วิธี ป้องกัน โรค ฮี ท ส โตรก ป้องกัน ฮี ท ส โตรก ภัยเงียบในช่วงฤดูร้อน ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

“โรคลมแดด” ฮี ท ส โตรก เกิดจากอะไร

  • เกิดจากร่างกายไม่สามารถจัดการลดอุณหภูมิที่สูงมากลงให้เป็นปกติได้ ทำให้เกิดอันตรายต่อระบบการทำงานของร่างกายตามมา
  • โดยเริ่มจากการอยู่ในสถานที่ที่มีความร้อน โดยไม่จำเป็นว่าต้องอยู่กลางแจ้ง อาจจะเป็นในห้องหรือสรานที่ที่ไม่ระบายความร้อนก็ได้เช่นในรถ หรือมีการออกกำลังกายทำให้ร่างกายมีการผลิตความร้อนมากขึ้น
  • พอโดนแดดร้อนมาก ๆ ร่างกายระบายความร้อนไม่ทัน ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเรื่อย ๆ พอสูงมากเกินไปก็ทำให้
    • อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติไป
    • เซลล์และปฏิกิริยาต่าง ๆ ก็หยุดทำงานไป
    • ตับไตสมองเสียหาย
  • โดยปกติร่างกายเราก็พยายามปรับตัวระบายความร้อนด้วยกลไกต่าง ๆ ให้เหมาะสมต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ
  • โดยอุณหภูมิของร่างกายปกติอยู่ที่ 36 – 37.5 ดีกรีเซลเซียส
    • เส้นเลือดที่บริเวณผิวหนังจะมีการขยายตัว
    • หัวใจจะเพิ่มการสูบฉีดเลือด
    • ต่อมเหงื่อทำงานมากขึ้น
    • เหงื่อออกเยอะก็จะเพิ่มการระบายความร้อน
    • แต่เมื่อเหงื่อออกมากก็จะทำให้ร่างกายเกิดการขาดน้ำ พอร่างกายเรารู้ตัวว่ามีการขาดน้ำร่างกายก็จะปรับตัวเพื่อความอยู่รอดโดยเลือกที่จะส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะภายใน เช่น หัวใจ สมอง ตับ ไตมากกว่าส่งไปที่ผิวหนัง ทำให้มีการระบายเหงื่อลดลง
  • ในคนปกติก็จะสามารถจัดการควบคุมความร้อนได้ แต่ในคนที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว ก็จะมีการปรับตัวตรงนี้ได้ไม่ดีจึงทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรค ลมแดดมากกว่าคนอื่น

 

ปฐมพยาบาล เบื้องต้น ฮี ท ส โตรก, โรคลมแดด, วิธี ป้องกัน โรค ลม แดด, heat stroke, วิธี ป้องกัน โรค ฮี ท ส โตรก, ป้องกัน ฮี ท ส โตรก, ลมแดด, ความร้อน, อากาศร้อน

 

โรค ลม แดด อาการ

  • อ่อนเพลีย
  • กระหายน้ำ
  • มีเหงื่อออกมาก
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ปวดมึนศีรษะ หน้าแดง
  • ไปจนถึงมีอาการมากและเป็นอันตรายอัน ได้แก่
    • อาการกระสับกระส่าย
    • มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง
    • ไม่มีเหงื่อ เนื่องจากร่างกายขาดน้ำมาก จนนำไปสู่อาการหมดสติ ชัก
    • ความดันโลหิตต่ำในขั้นสุดท้าย อาจเกิด ไตวายและเสียชีวิตได้ หากวินิจฉัยและรักษาได้ไม่ทันท่วงที

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค

  • ผู้ป่วยที่มีไข้หรือมีการติดเชื้อในร่างกายมาก่อน
  • ผู้สูงอายุและเด็ก
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคผิวหนังแข็ง
  • ผู้ที่กินยาบางชนิด เช่น
    • ยาขับปัสสาวะ
    • ยาจิตเวช
    • ยาโรคสมอง

ซึ่งยาบางชนิดที่ใช้ในการรักษาโรคนี้ทำให้มีเหงื่อออกน้อยลง ในคนไข้ที่รับประทานยาประเภทนี้อยู่แนะนำ ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนทุก ครั้งที่จะต้องทำกิจกรรม กลางแจ้งหรือออกแดดจัด ๆ หรือเป็นเวลานานและไม่ควรปรับเปลี่ยนยาเอง

  • ผู้ที่ใช้สารเสพติดโคเคน ยาบ้าหรือดื่มสุรา
  • อดนอน
  • ผู้ที่ใส่เสื้อผ้าหนาระบายอากาศไม่ดี เสื้อผ้ามีสีเข้มซึ่งทำให้ดูดความร้อนมากขึ้น

 

ปฐมพยาบาล เบื้องต้น ฮี ท ส โตรก, โรคลมแดด, วิธี ป้องกัน โรค ลม แดด, heat stroke, วิธี ป้องกัน โรค ฮี ท ส โตรก, ป้องกัน ฮี ท ส โตรก, ลมแดด, ความร้อน, อากาศร้อน

การวินิจฉัย

ในรายที่สงสัยจะเป็น “โรคลมแดด” ส่วนมากจะมีอาการ ดังต่อไปนี้

  • ต้องอยู่ในที่ร้อน ๆ หรือมีการออกแดด
  • ตัวร้อนมาก วัดอุณหภูมิร่างกายได้มากกว่า 40.5 องศาเซลเซียส
  • มีอาการหน้ามืด เป็นลม เวียนศีรษะ เดินไม่ตรง พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง

เราจะแยกคนเป็นลมแดดกับเป็นลมจากสาเหตุอื่นได้อย่างไร

  • อยู่กลางแดดหรือในที่ที่ร้อนจัด
  • ตัวร้อนจัด ผิวแห้ง ไม่มีเหงื่อ

6 วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากโรค ลมแดด ภาวะฮีทสโตรก

  • พาออกมาจากสถานที่นั้น มาอยู่ในที่ร่มและมีอากาศเย็นถ่ายเทความร้อนได้ดี
  • หากคนไข้ใส่เสื้อผ้าที่หนาและไม่ระบายความร้อน ควรปลดเสื้อผ้าออก เพื่อเพิ่มการระบายความร้อน
  • ทำการจัดท่าคนไข้โดยยกขาสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและความดันโลหิต

 

ปฐมพยาบาล เบื้องต้น ฮี ท ส โตรก, โรคลมแดด, วิธี ป้องกัน โรค ลม แดด, heat stroke, วิธี ป้องกัน โรค ฮี ท ส โตรก, ป้องกัน ฮี ท ส โตรก, ลมแดด, ความร้อน, อากาศร้อน

 

  • หากคนไข้พอรู้สึกตัวให้ดื่มน้ำมาก ๆ จะเป็นน้ำธรรมดา หรือน้ำเย็น ก็ได้แต่ห้ามใช้น้ำร้อน
  • ใช้ผ้าชุบน้ำอาจจะเป็นน้ำเย็นหรือน้ำธรรมดา เช็ดตัวตามข้อพับ แขน ขา ซอกคอ ใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน
  • ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการมาก เช่น
    • เป็นลม
    • หมดสติ
    • ความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงให้รีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นและนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรักษาอย่างเร่งด่วน

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนเป็นเวลานานโดยเฉพาะคนที่มีปัจจัยเสี่ยงที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น โดยในกลุ่มนี้ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและมีการเตรียมตัวทั้งก่อนออกแดดและในช่วงที่อยู่กลางแดดด้วย
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอก่อน คนปกติควรดื่มน้ำวันละ 2-3 ลิตรหรือ 6-8 แก้วต่อวัน
  • ในระหว่างที่ออกแดดควรเตรียมน้ำดื่มไปด้วย โ
  • ควรใส่เสื้อผ้าที่มีการระบายอากาศได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย และมีสีอ่อน ควรมีอุปกรณ์ป้องกันแสงแดด เช่น หมวก และ ร่ม
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดหรือดื่มแอลกอฮอล์

 

 

ข้อมูล : mahidol

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

นาทีพายุกำลังแรงเทียบเฮอร์ริเคนถล่มเท็กซัส ตาย4 (คลิป)
ชายแอลจีเรียหายตัวไป ที่แท้โดนเพื่อนบ้านขัง 26 ปี
สอบสวนกลาง ทลายเพจปล่อยเงินกู้ ดอกเบี้ยโหด “FVG money" จับ 3 ผตห. เงินหมุนเวียนกว่า 50 ล้าน
"หนุ่มโอลี่แฟน" ทำคอนเทนต์ค้าประเวณีเด็ก 17 ปี ขายในกลุ่มลับ
ทลายกลุ่มลับ จับ MC หนุ่มหล่อ หลอกเด็ก 13 ปี ถ่ายคลิปขายในกลุ่มไลน์
"อธิบดีกรมราชทัณฑ์" ไล่เรียงไทม์ไลน์ชัดๆ "บุ้ง ทะลุวัง" มีอาการวูบก่อนเสียชีวิต
อดีตแอดมิน แฉลากไส้ "ลัทธิเชื่อมจิต" เคยทักเป็นลูก ปั้นมาจากขี้เลื่อย เพื่อให้มาช่วยงาน "ต้นอ้อ เป็นหนึ่ง" เผยแม่เคยเป็นร่างทรง
"อคส." แจงดูแลกองข้าวค้างโกดังตามขั้นตอนปกติ ไร้สับเปลี่ยนข้าวสารจัดฉากกิน พร้อมฟ้องผิดไม่หยุดบิดเบือน
"ทนายอนันต์ชัย" ร้อง พม. เอาผิดพ่อ-แม่ "น้องไนซ์ เชื่อมจิต" พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก
"รมว.ดีอี" แจ้งศาลอาญามีคำสั่งปิดแพลตฟอร์ม "ลอตเตอรี่ พลัส" แล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น