รายชื่อนักบินอวกาศ “ภารกิจอาร์ทีมิส 2” กลับดวงจันทร์ในรอบ 50 ปี

ภารกิจอาร์ทีมิส 2,​ โครงการอาร์ทีมิส, NASA, ดวงจันทร์, สำรวจดวงจันทร์, สนธิสัญญาเกตเวย์ ระหว่างแคนาดา-สหรัฐฯ, นักบินอวกาศ, ยานโอไรออน

เปิดตัว 4 นักบินอวกาศใน "ภารกิจอาร์ทีมิส 2" เตรียมพร้อมกลับไปดวงจันทร์ในรอบ 50 ปี

องค์การบริหารการบินอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NASA) ประกาศรายชื่อ “ภารกิจอาร์ทีมิส 2” หลังจากเว้นช่วงสำรวจดวงจันทร์โดยมนุษย์มานานกว่า 50 ปี ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

สร้างความตื่นเต้นอีกครั้ง เมื่อองค์การบริหารการบินอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NASA) ประกาศรายชื่อนักบินอวกาศที่จะกลับไปเยือนดวงจันทร์เป็นกลุ่มแรก จำนวน 4 คน ใน “ภารกิจอาร์ทีมิส 2 (Artemis 2) หลังจากเว้นช่วงสำรวจดวงจันทร์โดยมนุษย์มานานกว่า 50 ปี นับตั้งแต่โครงการอะพอลโล ซึ่งภารกิจอาร์ทีมิส2 นี้ จะพานักบินอวกาศเดินทางไปยังดวงจันทร์ในปี ค.ศ. 2024

นักบินอวกาศในภารกิจอาร์ทีมิส 2 ประกอบด้วย

1. ผู้บัญชาการภารกิจ : Reid Wiseman

  • จากรัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา อายุ 47 ปี
  • เคยเป็นนักบินเครื่องบินรบในกองทัพเรือสหรัฐฯ
  • ปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ในวงโคจรรอบโลกนาน 165 วัน เมื่อปี ค.ศ. 2014

2. นักบิน : Victor Glover

  • จากรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา อายุ 46 ปี
  • เป็นวิศวกรและอดีตกัปตันในกองทัพเรือสหรัฐฯ
  • เข้าเป็นนักบินอวกาศของ NASA ในปี ค.ศ.2013
  • เป็นนักบินอวกาศในเที่ยวบินอวกาศแบบมีนักบินครั้งแรกของบริษัท SpaceX ก่อนปฏิบัติภารกิจบน ISS นาน 167 วัน เมื่อปี ค.ศ. 2021

 

ภารกิจอาร์ทีมิส 2,​ โครงการอาร์ทีมิส, NASA, ดวงจันทร์, สำรวจดวงจันทร์, สนธิสัญญาเกตเวย์ ระหว่างแคนาดา-สหรัฐฯ, นักบินอวกาศ, ยานโอไรออน

 

3. ผู้เชี่ยวชาญประจำภารกิจ : Christina Koch

4. ผู้เชี่ยวชาญประจำภารกิจ : Jeremy Hansen

  • จากรัฐออนแทรีโอ แคนาดา อายุ 47 ปี
  • เป็นพันเอกในกองทัพอากาศแคนาดา
  • เข้าร่วมเป็นนักบินอวกาศของแคนาดาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009
  • แม้ว่าภารกิจอาร์ทีมิส2 จะเป็นภารกิจอวกาศครั้งแรกของเขา แต่เขาเคยเป็นนักสำรวจใต้ทะเลในฐานใต้น้ำ Aquarius ในปี ค.ศ. 2014
  • เคยเข้าร่วมโครงการฝึกนักบินอวกาศในถ้ำขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) มาก่อน ซึ่ง Jeremy Hansen จะเป็นนักบินอวกาศนอกสัญชาติสหรัฐฯ คนแรกที่จะได้ไปดวงจันทร์

ตำแหน่งของ Jeremy Hansen ในภารกิจอาร์ทีมิส 2 เป็นส่วนหนึ่งของ สนธิสัญญาเกตเวย์ ระหว่างแคนาดา-สหรัฐฯ ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่าง NASA กับ CSA ที่ฝ่ายแคนาดาจะรับผิดชอบทั้งตรวจสอบและดูแลระบบหุ่นยนต์ภายนอกทั้งหมดของสถานีอวกาศเกตเวย์ และเปิดให้นักบินอวกาศชาวแคนาดาสามารถปฏิบัติภารกิจในสถานีอวกาศเกตเวย์ และภารกิจในโครงการอาร์ทีมิสครั้งอื่น ๆ ในอนาคต

 

ภารกิจอาร์ทีมิส 2,​ โครงการอาร์ทีมิส, NASA, ดวงจันทร์, สำรวจดวงจันทร์, สนธิสัญญาเกตเวย์ ระหว่างแคนาดา-สหรัฐฯ, นักบินอวกาศ, ยานโอไรออน

NASA ตั้งเป้าว่าจะปล่อยจรวด เพื่อเริ่ม “ภารกิจอาร์ทีมิส 2” ในช่วงปลายปี ค.ศ. 2024 นักบินอวกาศทั้ง 4 คนจะอยู่ในยานโอไรออน (Orion) ของ NASA ที่ติดตั้งบนจรวด SLS และปล่อยจากฐานปล่อยจรวดในศูนย์อวกาศเคนเนดี รัฐฟลอริดา สหรัฐฯ นับเป็นครั้งแรกที่ยานโอไรออนและจรวด SLS จะใช้ปฏิบัติภารกิจแบบมีนักบินอวกาศ หลังจากภารกิจอาร์ทีมิส 1 เมื่อปี ค.ศ. 2022 เป็นเที่ยวบินทดสอบที่ไม่มีนักบินอวกาศไปด้วย

ภารกิจอาร์ทีมิส2 มีระยะเวลานาน 10 วัน นักบินอวกาศทั้ง 4 จะยังไม่ได้ลงไปปฏิบัติภารกิจบนดวงจันทร์ รวมถึงไม่ได้โคจรอยู่รอบดวงจันทร์ แต่จะใช้วิถีไปกลับระหว่างโลก-ดวงจันทร์ ยานโอไรออนนั้นจะมีส่วนยานบริการ (Service Module) ที่สร้างในยุโรป เพื่อใช้ปรับวิถีของยาน ตั้งแต่การออกจากวงโคจรรอบโลกไปจนถึง

การเข้าสู่เส้นทางกลับสู่โลก ก่อนที่ยานโอไรออนจะออกจากวงโคจรรอบโลกมุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ นักบินอวกาศจะใช้จรวดท่อนบนของจรวด SLS เพื่อทดสอบศักยภาพการบังคับวิถียานโอไรออนด้วยนักบินอวกาศ

 

ภารกิจอาร์ทีมิส 2,​ โครงการอาร์ทีมิส, NASA, ดวงจันทร์, สำรวจดวงจันทร์, สนธิสัญญาเกตเวย์ ระหว่างแคนาดา-สหรัฐฯ, นักบินอวกาศ, ยานโอไรออน

นักบินอวกาศจะยังทดสอบระบบสนับสนุนการดำรงชีวิตของนักบินอวกาศ ระบบสื่อสาร และระบบนำทางในยานก่อนมุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ ยานโอไรออนจะบินเหนือพื้นผิวด้านไกลของดวงจันทร์ที่ระยะห่างประมาณ 10,300 กิโลเมตร ทำให้นักบินอวกาศในภารกิจอาร์ทีมิส2 เป็นนักบินอวกาศที่เดินทางสู่อวกาศในระยะห่างจากโลกมากที่สุดอีกด้วย

ภารกิจอาร์ทีมิส2 จะสิ้นสุดลงเมื่อยานโอไรออนหย่อนตัวลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณนอกชายฝั่งรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ โดยเรือจากกองทัพเรือสหรัฐฯ และทีมงานของ NASA จะไปรับยานพร้อมนักบินอวกาศ หากภารกิจอาร์ทีมิส2 สำเร็จ จะปูทางสู่ภารกิจอาร์ทีมิส 3 ซึ่งเป็นภารกิจแรกที่จะพานักบินอวกาศกลับไปลงสำรวจบนพื้นผิวดวงจันทร์ และเลือกพื้นที่ลงจอดบริเวณขั้วใต้ของดวงจันทร์ในปลายปี ค.ศ. 2025
NASA ยังตั้งใจให้โครงการอาร์ทีมิสเป็นรากฐานสู่การอยู่อาศัยของมนุษย์อย่างยั่งยืนทั้งบนดวงจันทร์และการโคจรอยู่รอบดวงจันทร์ ซึ่งนักบินอวกาศจะได้เรียนรู้ทักษะเทคนิคต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการส่งนักบินอวกาศสู่ดาวอังคารต่อไป

เรียบเรียง : พิสิฏฐ นิธิยานันท์ – เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์​ สดร.

ข้อมูล : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“ศุภมาส” นำอว. ร่วมสตม. คุมเข้มมหาวิทยาลัยรับนักศึกษาต่างชาติ เตรียมมาตรการสแกนหลักสูตร Non-Degree สุ่มตรวจไม่ปล่อยเกิดปัญหา
หนุ่มตกงานขับรถพุ่งชนนักเรียนประถมที่ญี่ปุ่น
ไรอันแอร์จะซื้อเครื่องบินจีนถ้าภาษีทรัมป์ดันโบอิ้งแพงขึ้น
"ดร.หนุ่ม" วัย 38 ปี ร้องถูกแก๊งคอลฯ บังคับคุยโทรศัพท์ 7 วัน 7 คืน สูญเงิน 8.5 ล้าน
"รัฐบาล" ย้ำอย่าตื่นตระหนก 2 พ.ค 68 ทดสอบส่งข้อความแจ้งเตือนภัย 5 พื้นที่
“ทนายทักษิณ” มั่นใจชี้แจงได้ หลังศาลตั้งองค์ไต่สวนปมชั้น 14 ยํ้ายึดหลักข้อเท็จจริง
“ภูมิธรรม” เผยผลหารือ GBC ไทย-กัมพูชา เลี่ยงปะทะปมปราสาทตาเมือนธม ให้กำลัง 2 ฝ่ายถอยกลับจุดเดิม หาข้อตกลงร่วมกัน
ระทึกจริง "อดีตสว.สมชาย" กาง ป.วิอาญา 246 ชี้ชัดอำนาจศาล วินิจฉัยเหตุ สั่งทุเลาจำคุก "ราชทัณฑ์" ให้ "ทักษิณ" นอนชั้น 14 เสี่ยงทำผิด
สธ.สั่งเด้งทันที "ผอ.รพ." เมาแล้วขับชน 2 ช่างภาพ เจ็บสาหัส ยันพร้อมดูแลให้ความเป็นธรรมเต็มที่
สหรัฐขอเจรจาภาษีกับจีนแล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น