No data was found

แห่หากล้วยด่างคึกคักถึงศูนย์เพาะเนื้อเยื่อ

กดติดตาม TOP NEWS

กระแสกล้วยด่างยังมาแรงทำให้ที่ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 2 จ.ตรังหรือศูนย์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ช่วงนี้คึกคักเพราะมีชาวบ้านเดินทางไปเลือกซื้อพันธุ์กล้วยชนิดต่าง ๆ ที่มีลักษณะด่าง ๆ ตั้งแต่ออกจากห้องแลปและในโรงเรือน บางคนไปเลือกนานถึง 3 ชั่วโมง บางคนเสี่ยงซื้อนำไปต่อยอด ขณะที่นักวิชาการชี้ส่วนหนึ่งเป็นความผิดปกติของพันธุกรรมพืช

วันที่ 11 ส.ค. 2564 ที่ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 2 จ.ตรังหรือศูนย์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งทำการเพาะพันธุ์ไม้หายากและเพาะไม้ผลทางการเกษตร เพื่อแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่สนใจนำไปปลูกเพื่อสร้างรายได้เสริม โดยมีกล้วยชนิดต่างๆ ทั้งกล้วยหอมทอง กล้วยน้ำว้า กล้วยเล็บมือนาง กล้วยหิน และกล้วยไข่ ซึ่งจะแจกจ่ายไปยัง 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง แต่ปรากฏว่าหลังจากที่กระแสกล้วยด่างมีความนิยมเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีเกษตรกรส่วนหนึ่งหันมาเลือกซื้อต้นกล้วยที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อตั้งแต่อายุ 3 เดือน หรือที่เพิ่งออกจากห้องแลปกันเลยทีเดียว เพื่อดูความด่าง ความแปลกที่แตกต่างจากต้นกล้วยทั่วไป

รวมถึงตามไปเลือกต้นกล้าในโรงเรือนที่มีนับพันต้น ซึ่งบางคนใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมงกว่าจะได้สัก 1-2 ต้นที่คิดว่าแปลก และบางคนวนเวียนเข้าออกอยู่หลายรอบ ในแต่ละเดือน ซึ่งส่วนมากจะผิดหวังเนื่องจากต้นกล้วยของศูนย์เพาะพันธุ์พืชที่ 2 จ.ตรัง ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อจากต้นแม่โดยตรง ทำให้ยีนส์/พันธุกรรมไม่ผิดเพี้ยนและตรงตามต้นแม่ทุกอย่าง แต่ก็ยังคงมีเกษตรกรแวะเวียนมาคัดเลือกอยู่เป็นประจำ ขณะที่นักวิชาการเกษตรฯ ได้แนะนำให้นำไปปลูก หากเป็นกล้วยด่างที่อาจจะหลุดรอดออกไปก็จะขายได้ราคา แต่หากนำไปปลูกลงดินแล้วไม่ด่าง อนาคตยังได้กินกล้วยที่ปลูกเองโดยไม่ต้องซื้อหา ชี้กล้วยด่างของศูนย์ฯ เกิดจากความผิดเพี้ยนทางพันธุกรรมเพียงเล็กน้อย ซึ่งเป็นไปได้แค่ 1 ใน 1,000 เท่านั้น โดยขณะนี้มียอดสั่งจองกล้วยชนิดต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก แต่ทางศูนย์ฯ ผลิตได้เดือนละประมาณ 3,000 ต้น เพราะต้องเลี้ยงจากห้องแลปจนถึงมือเกษตรกร ใช้เวลาเกือบ 1 ปีความสูงของลำต้นประมาณ 1 ฟุตจึงสามารถนำออกจำหน่ายได้ในราคาต้นละ 15 บาท ส่วนใหญ่นำไปปลูกเพื่อลดรายจ่าย สร้างรายได้ในระยะยาว

ด้าน น.ส นพรัตน์ ถวิลเวทิน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ศูนย์ขายพันธุ์พืชที่ 2 จ.ตรังกล่าวว่า ตอนนี้มีเกษตรกรแวะมาดูอย่างต่อเนื่อง และต้องใช้เวลาหน่อยเพราะมีกล้วยด่างน้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่เหมือนต้นพ่อแม่พันธุ์ แต่ก็มีชาวบ้านไปเจอบ้าง บางคนใช้เวลาหลายชั่วโมง แต่ถ้าเจอก็คุ้ม เพราะซื้อไป 15 บาทเลี้ยงไปเดือนสองเดือนหากกลายพันธุ์ก็ขายต้น 400-500 บาทก็ได้กำไรแล้ว แต่หากไม่ใช่กล้วยด่างก็ปลูก และต้องใช้เวลา ซึ่งส่วนใหญ่เกษตรกรที่เข้ามาจะเป็นเกษตรกรที่ซื้อไปปลูกในแปลงเกษตรของตน

ถนอมศักดิ์  หนูนุ่ม  ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.ตรัง

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผบ.พล.ร.11 นำกำลังพลร่วมกิจกรรมฉัตรมงคล
รวบสมาชิกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ยุคบุกเบิก หนีคดีกว่า 14 ปี สอบสวนกลาง ตามรวบ
"พิพัฒน์" นำทีมคุย "กลุ่มมิตรผล" ร่วมยกระดับมาตรฐาน-ศักยภาพแรงงาน
"พท." จัดหนักล็อตใหญ่ส่ง 9 สายแข็งชิง "นายกอบจ." ดับเครื่องชน "ก้าวไกล" ให้มันรู้ไผ่เป็นไผ่ศึกเลือกตั้งท้องถิ่น
"กฟน." รับผิดประมาท เหตุคนตกท่อดับ แจงสาเหตุนำฝาไม้ปิดแทน
สอบสวนกลาง รวบสาวรับจ้างเปิดบัญชีม้า ผู้เสียหายสูญเงินไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท
"จอมแฉ" สิ้นลาย ถูกสอบสวนกลางรวบตัว หลังขู่ยื่นหนังสือตรวจสอบประมูลงาน กรรโชกทรัพย์หลายบริษัทฯ
"พิมพ์ภัทรา "จี้ถาม"ปลัดอุตฯ" คาใจเหตุ "อธิบดีกรมโรงงาน" ลาออก
ระทึก สภ.ศรีราชา ผู้ต้องหาหญิง พยายามผูกคอ ในห้องขัง โชคดีเจ้าหน้าที่เห็นทัน
"นายกฯ" บ่นแรงอีกแล้วเหรอ เกิดอุบัติเหตุคนตกท่อกฟน.เสียชีวิต

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น