logo

“โรคติดจอ” เตือนมนุษย์โซเชียลเสี่ยงป่วย CVS จาก 8 สัญญาณเตือน

, ปวดกระบอกตา, ตาพร่า, ตาปรับโฟกัสได้ช้าลง, จ้องหน้าจอเ, สายตา, ไม่สบายตา,​ กระพริบตา,​ พักสายตา

แพทย์เตือน "โรคติดจอ" เสี่ยงเกิดอาการ Computer Vision Syndrome (CVS) เช็ค 8 สัญญาณเตือนที่ชาวออฟฟิศ สายโซเชียล ไม่ควรมองข้าม แนะ 5 วิธีป้องกันก่อนทรมานกว่าเดิม

กรมการแพทย์ เผย อาการ “โรคติดจอ” เสพติดอุปกรณ์ดิจิทัลมาก ๆ เสี่ยงเกิดอาการ Computer Vision Syndrome (CVS) แนะ 5 วิธีป้องกันและหลีกเลี่ยงอาการไม่พึงประสงค์ ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

“โรคติดจอ” ปัจจุบัน มีการใช้อุปกรณ์ดิจิตอล เช่น คอมพิวเตอร์ มือถือ แท็บเล็ต ในชีวิตประจำวัน จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและการทำงาน ซึ่งจากการที่ใช้อุปกรณ์ดิจิตอลมากขึ้น จึงทำให้เกิดอาการ Computer Vision Syndrome (CVS) กันมากยิ่งขึ้น หลายคนเริ่มมีอาการผิดปกติ โดยมี 8 สัญญาณเตือน ดังนี้

  • ปวดเมื่อยล้าดวงตา
  • ตาแห้ง แสบตา
  • ตาไม่สู้แสง
  • ปวดกระบอกตา
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดไหล่-ต้นคอ
  • ตาพร่า
  • ตาปรับโฟกัสได้ช้าลง

ร่สมกับมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานในแต่ละวัน แนะนำอย่ามองข้าม ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์

 

โรคติดจอ, Computer Vision Syndrome , CVS, ติดจอ, จอคอมพิวเตอร์, เมื่อยล้าดวงตา, ตาแห้ง, แสบตา, ตาไม่สู้แสง , ปวดกระบอกตา, ตาพร่า, ตาปรับโฟกัสได้ช้าลง, จ้องหน้าจอเ, สายตา, ไม่สบายตา,​ กระพริบตา,​ พักสายตา

 

นายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ยุคปัจจุบันสังคมออนไลน์มีการใช้สมาร์ทโฟนในการอัพเดทข่าวสาร ข้อมูลตลอดเวลา ให้กับทันเหตุการณ์ ทำให้ต้องใช้สายตาในการจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน อาจจะใช้เวลาเกือบทั้งวันจ้องแต่หน้าจอสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงแท็บเล็ต ถ้าไม่แบ่งเวลาให้เหมาะสมอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะดวงตาที่ต้องรับภาระจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • การนั่งทำงาน
  • หรือการประชุมผ่านอินเตอร์เน็ต
  • อาจเป็นปัญหาต่อดวงตาที่พบจากการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ได้

 

, ปวดกระบอกตา, ตาพร่า, ตาปรับโฟกัสได้ช้าลง, จ้องหน้าจอเ, สายตา, ไม่สบายตา,​ กระพริบตา,​ พักสายตา

 

นายแพทย์อาคม ชัยวีระวัฒนะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กล่าวเพิ่ม ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ท สมาร์ตโฟน เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น เชื่อว่าหลายคนอาจเคยประสบปัญหาในอาการเหล่านี้ เช่น

  • ทำให้ปวดเมื่อยตา
  • ตาแห้ง ตาล้า
  • แสบตา เคืองตา
  • ตาพร่ามัว
  • โฟกัสได้ช้าลง
  • ตาสู้แสงไม่ได้
  • ปวดกระบอกตา ปวดศีรษะ
  • หรือบางครั้งมีอาการปวดหลัง ปวดไหล่ หรือปวดต้นคอร่วมด้วย

อาจส่งผลต่อการนอนหลับได้ หากมีอาการที่กล่าวข้างต้น ร่วมกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานในแต่ละวัน อาจบ่งบอกว่าอาจอยู่ในกลุ่มอาการที่เรียกว่า computer vision syndrome แม้ว่ากลุ่มอาการนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อดวงตาหรือการมองเห็น แต่มักก่อให้เกิดความไม่สบายตา และอาจเป็นปัญหารบกวนการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันได้

 

, ปวดกระบอกตา, ตาพร่า, ตาปรับโฟกัสได้ช้าลง, จ้องหน้าจอเ, สายตา, ไม่สบายตา,​ กระพริบตา,​ พักสายตา

ภาวะ computer vision syndrome คืออะไร?

  • กลุ่มอาการทางตา ที่เกิดจากการใช้สายตากับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน โดยจะมีอาการดังกล่าวข้างต้น
  • มีการศึกษาพบว่าประมาณ 90% ของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องมากกว่า 3 ชั่วโมง/วัน มักเคยประสบกับกลุ่มอาการนี้

สาเหตุของอาการ computer vision syndrome (CVS) จาก “โรคติดจอ”

อาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น

  • การกระพริบตาลดลงขณะใช้คอมพิวเตอร์ ทำให้ตาแห้ง
  • แสงสว่างภายในห้องไม่เหมาะสม รวมทั้งการมีแสงสะท้อนจากจอคอมพิวเตอร์
  • การที่ตัวอักษรบนจอคอมพิวเตอร์ไม่คมชัดจึงทำให้ต้องใช้ความพยายามในการโฟกัสมากขึ้นจึง ก่อให้เกิดอาการตาเมื่อยล้าได้
  • ระยะห่างจากหน้าจอที่ไม่เหมาะสม
  • รวมถึงระดับสายตาในการมองจอคอมพิวเตอร์
  • ท่าทางในการนั่งที่ไม่เหมาะสม

 

, ปวดกระบอกตา, ตาพร่า, ตาปรับโฟกัสได้ช้าลง, จ้องหน้าจอเ, สายตา, ไม่สบายตา,​ กระพริบตา,​ พักสายตา

 

วิธีช่วยป้องกันหรือหลีกเลี่ยงภาวะ computer vision syndrome ได้แก่

1. กะพริบตาให้บ่อยขึ้น

  • การนั่งจ้องหน้าจอนาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นจอคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน จะทำให้อัตราการกะพริบตาลดลงจาก 20 – 22 ครั้ง/นาที เหลือเพียง 6 – 8 ครั้ง/นาทีเท่านั้น
  • ซึ่งอาจทำให้ตาแห้งได้ ดังนั้น จึงควรกะพริบตาให้บ่อยขึ้น หรืออาจใช้น้ำตาเทียม เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตาก็ได้เช่นกัน

2. ปรับความสว่างในห้องทำงานและหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม

  • โดยลดแสงสว่างจากภายนอก หรือแสงจากในห้องทำงานที่สว่างมากเกินไป
  • ซึ่งอาจทำให้เกิดแสงสะท้อนที่จอคอมพิวเตอร์ ทำให้ไม่สบายตาได้
  • ปรับเพิ่มความแตกต่างของสีระหว่างตัวอักษรกับพื้นจอภาพ เพื่อให้อ่านง่าย และปรับความสว่างของหน้าจอให้สบายตา

3. พักสายตาทุก ๆ ชั่วโมง

  • โดยยึดหลัก 20 – 20 – 20
  • คือ การละสายตาจากหน้าจอ และมองออกไปไกลระยะ 20 ฟุตทุก ๆ 20 นาที เป็นเวลา 20 วินาทีต่อครั้ง
  • จะช่วยลดอาการตาล้าได้

 

, ปวดกระบอกตา, ตาพร่า, ตาปรับโฟกัสได้ช้าลง, จ้องหน้าจอเ, สายตา, ไม่สบายตา,​ กระพริบตา,​ พักสายตา

 

4. ปรับระดับการมองจอคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสม

  • โดยจุดศูนย์กลางของจอคอมพิวเตอร์ควรห่างจากตาประมาณ 20-28 นิ้ว
  • และต่ำลงจากระดับสายตาประมาณ 4-5นิ้ว

5.ใส่แว่นแก้ไขสายตาที่เหมาะสม

  • เนื่องจาก การมีสายตาที่ผิดปกติ แล้วต้องเพ่งหน้าจอนาน ๆ อาจทำให้ปวดกระบอกตาได้
  • ดังนั้น ในสถานการณ์ที่ต้องทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน ประชุมออนไลน์จนดึกดื่น และไม่รู้ว่าจะต้องอยู่ที่บ้านไปอีกนานเท่าไหร่ แนะนำดูแลสุขภาพตัวเอง จัดตารางการทำงาน และชีวิตส่วนตัวให้เหมาะสม
  • หากรู้สึกว่าดวงตามีอาการผิดปกติ ควรปรึกษาจักษุแพทย์ ตรวจเช็คดวงตา เพื่อที่จะได้รับการรักษาได้ทันท่วงที

ข้อมูล : กรมการแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้บริหาร "บีทีเอส" เสียดายแทนปชช.ศาลยกฟ้องประมูลรถไฟฟ้าสีส้ม
"อนุทิน" น้อมสำนึกพระมหากรุณาธิคุณ รับพระราชทานเครื่องราชย์
"ก้าวไกล" รอดคมดาบซ้ำรอยคดี "พิธา" ถือหุ้นสื่อ หรือ "ศาลรัฐธรรมนูญ" หักปากกาเซียนยุบพรรค
"อธิบดีกรมราชทัณฑ์" เตรียมคุมตัว “ทักษิณ” เข้าเรือนจำ หากวืดประกัน คดี 112
"ก๊วนเชื่อมจิต" ส่งทนายขอเลื่อนไต่สวนคดี หลังพม.ยื่นร้องคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ล่าสุดศาลไม่อนุญาตให้เลื่อน
"สุรพงษ์" ยันผลตรวจ "รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" ปลอดภัย เปิดให้บริการตามปกติ
"ภูมิธรรม" ปลื้มผลประมูลข้าว 10 ปี เอกชนดันราคาสูง 19,070 บาทต่อตัน
ฟาสต์ ออโต โชว์ 2024 มั่นใจตลาดรถมือสองยังตอบโจทย์คนไทยใช้วิกฤตพลิกสู่โอกาสทั้งของผู้ประกอบการและผู้บริโภค
กวาดล้างให้เกลี้ยง ตร.บุกทลาย 100 เครือข่ายยานรก รวบผู้ต้องหา 21 ราย ยึดของกลางยาบ้า 36 ล้านเม็ด
"รมช.ศธ." ห่วงเด็กเล่นพนันบอล กำชับโรงเรียนดูแลใกล้ชิด ยึดมาตรการ 3ป. คุมเข้ม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น