No data was found

สธ. ร่วม วิศวะจุฬาฯ พัฒนาเครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติแม่นยำสูง

กดติดตาม TOP NEWS

“อนุทิน” ชมการสาธิตเครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนอัตโนมัติ พัฒนาโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และภาคเอกชน ช่วยดูดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า แบ่งบรรจุลงเข็มฉีดยาได้แม่นยำ รวดเร็ว 4 นาทีทำได้ 12 เข็ม ทำให้มีวัคซีนเพิ่มขึ้น 20 % เตรียมหารือนำมาใช้งานจริง

วันที่4 ส.ค. 2564 นายอนุทิน  ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ร่วมรับชมการสาธิตต้นแบบเครื่องแบ่งและบรรจุวัคซีนด้วยระบบอัตโนมัติ (Automate Vaccine) ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่พัฒนาร่วมกันโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และภาคเอกชน

 

 

นายอนุทินให้สัมภาษณ์ว่า วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนชนิดบรรจุหลายโดส (Multiple Dose Vial) โดย 1 ขวดใช้สำหรับฉีด 10 โดส โดสละ 0.5 มิลลิลิตร แต่ผู้ผลิตบรรจุวัคซีนมาให้เกิน คือ บรรจุมา 6.5 มิลลิลิตร ที่ผ่านมาบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝน มีทักษะสามารถดูดวัคซีนได้มากถึง 11-12 โดสต่อขวด โดยต้องใช้เข็มฉีดยาชนิดที่ลดปริมาณยาคงค้างในกระบอกฉีดยา (Low Dead Space Syringe) ซึ่งทั่วโลกมีความต้องการใช้จำนวนมากทำให้เกิดความขาดแคลน ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จึงร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และภาคเอกชน พัฒนานวัตกรรมเครื่องแบ่งและบรรจุวัคซีนด้วยระบบอัตโนมัติ ทำให้การดูดวัคซีนและแบ่งบรรจุวัคซีนแต่ละโดสมีความแม่นยำตามที่กำหนด

 

นายอนุทินกล่าวต่อว่า การแบ่งบรรจุวัคซีนนั้น เจ้าหน้าที่จะเตรียมเข็มฉีดยาวางไว้บนแท่นจำนวน 12 หลอด จากนั้นนำขวดวัคซีนวางไว้ในจุดที่กำหนด เครื่องจะดูดวัคซีนออกมาจนหมดขวดโดยใช้หัวดูดสุญญากาศใช้หลักการดูดของเหลวโดยมี Air Cushion ทำให้วัคซีนไม่สัมผัสกับหัวดูดโดยตรงแล้วจะเคลื่อนไปแบ่งบรรจุลงเข็มฉีดยาตามจำนวนที่กำหนด คือ 0.5 มิลลิลิตรเท่ากันทั้ง 12 หลอด โดยเครื่องทำงานแบบสายพาน ทำให้แบ่งบรรจุวัคซีนลงหลอดฉีดยาอย่างต่อเนื่อง แม่นยำ และรวดเร็ว โดยใช้เวลาประมาณ 4 นาที จากนั้นปิดหลอดด้วยเข็มฉีดยา และนำมาเก็บใส่ถาดบรรจุวัคซีนเพื่อนำไปใช้ฉีดต่อไป

“เครื่องแบ่งบรรจุวัคซีนช่วยแบ่งเบาบุคลากรทางการแพทย์ในการดูดวัคซีนออกจากขวดได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ทำให้มีวัคซีนในการฉีดเพิ่มขึ้น 20% ช่วยให้จุดฉีดการฉีดวัคซีนในจุดขนาดใหญ่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยลดการใช้ Low Dead Space Syringe นอกจากนี้ ยังมีความปลอดภัยเพราะกระบวนการไม่ทำให้เกิดการปนเปื้อน เข็มและหลอดฉีดยาที่แบ่งบรรจุจะถูกเปลี่ยนใหม่ทุกครั้ง จึงไม่มีโอกาสเจือปนกันของวัคซีนแต่ละขวด ส่วนการนำมาใช้งานจริงจะมีการหารือกันต่อไป” นายอนุทินกล่าว

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

โปรไฟล์ไม่ธรรมดา "มาริษ" อดีตนักการทูต แคนดิเดต รมว.ต่างประเทศ
คอหวยแห่ส่องเลขเด็ด ว่าวแก้บนหลวงปู่สรวง ทำแผงขายล็อตเตอรี่หน้าวัดไพรพัฒนา ขายหมดเกลี้ยง
สมัครด่วน! กรมพัฒน์ ร่วมกับสมาคมฯ วัตถุอันตราย เปิดอบรมบุคลากรโลจิสติกส์ ฝึกฟรี! มีงานรองรับ
หดหู่ใจ แม่ใจยักษ์ โยนลูกวัยแรกเกิดลงทะเล ร่างถูกคลื่นซัดเข้าฝั่ง "หาดแสงจันทร์"
สลดใจ พบศพทารกเพศหญิงแรกเกิด ถูกแม่ใจโหดโยนทิ้งทะเล ถูกคลื่นซัดเข้าฝั่งชายหาดแสงจันทร์ แหล่งท่องเที่ยวกลางเมืองระยอง
เดือดระอุ "โจรใต้" สุดเหี้ยม บึ้มก่อนยิงถล่มซ้ำใส่ "จนท.นปพ.นธ.33" บาดเจ็บ 4 นาย
“อดีตบิ๊กข่าวกรอง” เทียบชัด ๆ "รองนายกฯ" ควบ "รมว.ตปท." เป็นเพียงกรณีเฉพาะตัว -เฉพาะปท. ไม่ใช่แนวปฏิบัติสากล
"ไทยภักดี" เลือก "ดร.กรรญดา" นั่งหน.พรรค "หมอวรงค์" เป็นประธาน เดินหน้าสอบนโยบายรัฐ
คุมตัวโชเฟอร์แท็กซี่เมาชนตำรวจสน.บางเขนดับ ส่งฝากขังศาล
หนุ่มคนสนิท แจงปมคลิปฉาว เป็นขนบประเพณีคนมุสลิม โต้เหตุ "รองผู้ว่าฯยะลา" โดนย้ายเข้ากรุ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น