รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ยืนยัน ‘ยูเนสโก’ ขึ้นทะเบียน ‘ป่าแก่งกระจาน’ เป็นมรดกโลก

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุ 'ยูเนสโก' ขึ้นทะเบียน 'ป่าแก่งกระจาน' เป็นมรดกโลก

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า กว่า 6 ปี ที่ประเทศไทยมุ่งมั่นผลักดันพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน และเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลก โดยมีการนำเสนอมาแล้วถึง 3 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2559 และ พ.ศ. 2562 จนเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญครั้งที่ 44 ในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นการจัดประชุมผ่านระบบทางไกล ระหว่างวันที่ 16 -31 กรกฎาคม 2564 โดยสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเจ้าภาพ และเป็นที่น่ายินดีว่าในปีนี้พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ภายใต้เกณฑ์ข้อที่ 10 ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งนับเป็นความสำเร็จในการดำเนินการอนุรักษ์พื้นที่ถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีความสำคัญสูงสุดสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในถิ่นกำเนิด รวมไปถึงการเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ ที่มีคุณค่าโดดเด่นเชิงวิทยาศาสตร์ หรือ เชิงอนุรักษ์ระดับโลก

 

นายวราวุธ เปิดเผยต่อว่า พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานนั้น เป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 6 ของประเทศไทย และเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ แห่งที่ 3 ของไทย นับตั้งแต่การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ – ห้วยขาแข้ง ในปี พ.ศ. 2534 และกลุ่มป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่ ในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เนื่องจากเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ ที่ใกล้สูญพันธุ์ และมีคุณค่าโดดเด่นระดับโลกรวมถึงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำปราณบุรี และแม่น้ำภาชี เป็นป่าผืนใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีเนื้อที่ประมาณ 2.5 ล้านไร่ (4,089 ตารางกิโลเมตร) มีความยาวตั้งแต่เหนือสุดถึงใต้สุดของพื้นที่ มากกว่า 200 กิโลเมตร ประเทศไทยในฐานะเจ้าของแหล่ง จะต้องปกป้องรักษาแหล่งที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกให้คงคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลไว้ให้ลูกหลานต่อไป ซึ่งการที่พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกนี้

 

นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีต่อประเทศ และเป็นความภาคภูมิใจของคนในประเทศ ทำให้คนในประเทศเกิดการตระหนัก รู้สึกเป็นเจ้าของและหวงแหนทรัพยากรที่เรามีอยู่ด้วย ประโยชน์หลัก ๆ อีกด้วย เช่น 1) ส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ชนิดพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ ที่มีคุณค่าโดดเด่น เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ และศึกษาวิจัยในระดับสากล  2) ยกระดับการอนุรักษ์พื้นที่ด้วยการบริหารจัดการที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ให้คงคุณค่าของแหล่ง เพื่อส่งต่อไปยังอนุชนรุ่นต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งในระดับประเทศ และระดับท้องถิ่น 3) ส่งเสริมการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ โดยเฉพาะด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การพัฒนาอย่างยั่งยืน และส่งผลดีต่อเศรษฐกิจชุมชน และ 4) สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากกองทุนมรดกโลกได้

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ภูมิธรรม"แจงเหตุเครื่องบิน K-8 เมียนมา บินเฉียดชายแดนไทย ลั่นคุยจบแล้ว ไม่ต้องลงรายละเอียด
จ่อแจ้งข้อหา “วิศวกร” คนเอี่ยวตึกสตง. ถล่ม ล็อตแรก 5 ราย
“รัฐบาล” ย้ำ "โรคแอนแทรกซ์" ไม่ติดต่อจากคนสู่คน ขอประชาชนอย่าเป็นกังวล
สำนักงานจัดหางานจังหวัดฉะเชิงเทรา จัดงาน Chachoengsao Job Fair 2025 เพิ่มโอกาสการมีงานทำแก่ประชาชน
มติก.อ.เป็นเอกฉันท์ แต่งตั้ง "อิทธิพร แก้วทิพย์" เป็นอัยการสูงสุดคนที่ 20
สวนนงนุชพัทยา จัดพิธีเปลี่ยนธงมนตรา ภูฏาน เสริมสิริมงคลรับพลังธรรมชาติ
"ภูมิธรรม" แจงย้ำสั่งทหารไทยถอย "ตาเมือนธม" เหตุเลี่ยงเผชิญหน้าไม่ใช่เปิดช่องให้ถูกรุกล้ำ
เพิ่มพื้นที่สีเขียว พัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งกายและใจเพื่อชาว กทม.
"ดร.พอล" ดิ้นเฮือกสุดท้าย อุทธรณ์ ม.นเรศวร อ้างคำสั่งเลิกจ้างไม่ชอบด้วยกม.
"มท.1" สั่งการ ผู้ว่า-ฝ่ายมั่นคง เฝ้าคุ้มครอง ปชช.ชายแดนใต้ พร้อมเสริมกองกำลังอาสาติดอาวุธเพิ่ม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น