“นพ.ประสิทธิ์”แจงสาเหตุฉีดวัคซีนสลับชนิด ชี้ ช่วยภูมิคุ้มกันสูงไวขึ้นต้านสายพันธุ์เดลต้า

"นพ.ประสิทธิ์"แจงสาเหตุฉีดวัคซีนสลับชนิด ชี้ ช่วยภูมิคุ้มกันสูงไวขึ้นต้านสายพันธุ์เดลตา ยืนยันมีความปลอดภัยสูงมาก

ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยกรณีการให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 สลับชนิดว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดทั่วโลกในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ส่งผลให้พบอัตราผู้ป่วยเพิ่มขึ้นรวดเร็ว แต่อัตราผู้เสียชีวิตไม่ได้เพิ่มขึ้นเร็วเหมือนกับผู้ป่วย ส่วนหนึ่งเป็นผลจากวัคซีนที่ออกแบบมาในเวลานี้ มีส่วนช่วยลดความรุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิตได้

 

สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็นหลักหมื่นต่อวัน และมีผู้เสียชีวิตเป็นหลักร้อยต่อวัน เป็นผลจากจำนวนการเจ็บป่วยและผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากคู่ขนานไปกับศักยภาพการดูแลสุขภาพ ดังนั้น สิ่งสำคัญ คือต้องทำให้จำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตลดลงโดยเร็วที่สุด นั่นคือการเร่งฉีดวัคซีนทั้งประเทศ ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาเพิ่มมากขึ้น และยังพบสายพันธุ์เบตาอยู่บ้าง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ แต่ไทยยังไม่พบสายพันธุ์แลมบ์ดา

 

ขณะที่การปรับสูตรฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 ต่างชนิดกันนั้น นพ.ประสิทธิ์ ชี้แจงว่า วัคซีนเข็มที่ 1 ซึ่งเป็นซิโนแวค ซึ่งเป็นเชื้อตาย จะช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบบีเซลล์ได้ดี แต่กระตุ้นภูมิคุ้มกันทีเซลล์ไม่ดีนัก ดังนั้นหากปรับใช้วัคซีนเข็มที่ 2 คือ แอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบทีเซลล์ได้ดี เมื่อมีการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 เป็นซิโนแวค หลังจากนั้น 3 สัปดาห์ฉีดเข็มที่ 2 เป็นแอสตร้าเซนเนก้า โดยทั่วไปเมื่อผ่านไป 2 สัปดาห์ภูมิคุ้มกันจะขึ้นสูงขึ้น โดยมีงานวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รองรับว่าเมื่อฉีดครบ 2 เข็มนี้ ระบบภูมิคุ้มกันจะสูงขึ้นครอบคลุมสายพันธุ์เดลตา และช่วยลดความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิตได้ ส่วนอีกสูตร หากฉีดแอสตร้าเซนเนก้าทั้งสองเข็ม จะต้องเว้นระยะระหว่างเข็ม 1 และเข็ม 2 เป็นเวลา 10-12 สัปดาห์ และภูมิคุ้มกันจะเพิ่มสูงขึ้นหลังจากฉีดเข็มที่ 2 ไปแล้ว 2 สัปดาห์

 

นพ.ประสิทธิ์ แนะนำว่า ประเทศไทยควรรีบเจรจากับบริษัทที่กำลังพัฒนาวัคซีนรุ่นที่ 2 อย่างเร็วสุดคงเป็นช่วงต้นปีหน้า ซึ่งในช่วงเวลาที่เหลือของปี 64 ต้องบริหารจัดการวัคซีนที่มีอยู่ จึงเป็นที่มาของการคิดสูตรการฉีดวัคซีนซิโนแวค เข็มที่ 1 และฉีดแอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่ 2 และผ่านไปประมาณ 5 สัปดาห์ ทำให้ผู้ที่ได้รับการฉีดมีภูมิคุ้มกันที่ดี และปลอดภัยมากขึ้นจากสายพันธุ์เดลตา ขณะเดียวกันผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคทั้ง 2 เข็ม โดยเฉพาะบุคลากรด่านหน้านั้น ก็ควรจะฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 ซึ่งหลักการเดียวกันที่ควรมากระตุ้นทีเซลล์ คือ วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า หรือวัคซีน mRNA

 

นพ.ประสิทธิ์ กล่าวปิดท้ายว่า ก่อนที่จะฉีดวัคซีนสลับชนิดให้กับประชาชนทั่วไป ได้มีการฉีดในกลุ่มตัวอย่างไปก่อนหน้านี้ 1,000 กว่าราย และมีความปลอดภัยสูงมาก จนถึง ณ วันนี้ยังไม่พบภาวะแทรกซ้อนหรืออาการไม่พึงประสงค์แต่อย่างใด

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"GLO" จัด Kid Dee Roadshow ภาคเหนือ เสริมพลังคนรุ่นใหม่รู้เท่าทันภัยพนันออนไลน์
“ภูมิธรรม” ชี้ชายแดนไทย-กัมพูชายังตึงเครียด ยันยึดมาตรการตามเดิม ไม่มีผ่อนปรนเข้า-ออก ข้ามแดน
"บิ๊กเล็ก" แจงเข้าใจคลาดเคลื่อน ยันคุยทางออกขัดแย้งกัมพูชา ไม่ได้หมายถึง "เตีย เซียฮา" ขอเชื่อมั่น ไว้ใจนำสงบสุขกลับคืน
"อ.ไชยันต์" ซัด "ไอติม พริษฐ์" อ้างเหตุปชน.ไม่ร่วมยื่นซักฟอก "นายกอิ๊งค์" ทำปชช.เสียโอกาส สวนเจ็บ รัฐสภาอังกฤษ เขียนชัด จริยธรรมนักการเมือง อย่าทำไม่รู้เห็น 
ปั๊มน้ำมันระเบิดดังสนั่นทั่วกรุงโรมของอิตาลี
"โฆษกทบ." แจงเหตุ "ทหารพรานไทย" ปะทะคารม "ทหารกัมพูชา" จุดชมวิวภูผี ไม่ถึงขั้นรุนแรง ย้ำต่างฝ่ายต่างยึดข้อตกลง
"จุลพันธ์" อ้างเหตุครม.ใหม่ เตรียมถอนร่างพ.ร.บ.เอ็นเตอร์เทนเมนต์-กาสิโน พิจารณาซ้ำ ยันไม่เกี่ยวปมขัดแย้งกัมพูชา
ดร.เฉลิมชัย ปิดหลักสูตร ปธส. 12 มุ่งสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ท่ามกลางวิกฤตโลกเดือด
"มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์" ร่วมกับสถานีตำรวจภูธรทุ่งหลวง ราชบุรี มอบรถเข็นวีลแชร์ผู้สูงอายุ-ผู้ป่วย ถวายเป็นพระราชกุศลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2568
"หมอวรงค์" สรุปแยกเป็นข้อๆ ไต่สวนแพทย์-พยาบาล รักษา "ทักษิณ" พิรุธหนัก แพทย์อ้างส่งไปรพ.ตร. เพราะ "พยาบาลเวร" วินิจฉัยอาการ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น