5 ข้อมูลส่วนตัว อย่าเผยแพร่ในโซเชียล เสี่ยงถูกหลอกโดยไม่รู้ตัว

รองโฆษกรัฐบาล เตือนประชาชนระมัดระวัง อย่าเผยแพร่ 5 ข้อมูลส่วนบุคคลสำคัญในโซเชียลมีเดีย เสี่ยงเกิดการรั่วไหลถูกจารกรรมจากมิจฉาชีพ สูญเสียเงินและทรัพย์สิน

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เนื่องจากขณะนี้ได้พบกรณีประชาชนถูกหลอกลวงจากมิจฉาชีพผ่านช่องทางออนไลน์และโซเชียลมีเดีย ซึ่งพบว่ามีลักษณะคล้ายกันคือการได้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน ให้มิจฉาชีพที่แสดงตัวในรูปแบบต่าง เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่รัฐ และนำไปสู่การถูกจารกรรมทรัพย์สินต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินในบัญชีเงินฝาก

ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวงหรือจารกรรมข้อมูลในเบื้องต้น สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ได้มีคำเตือนให้ประชาชนระมัดระวังการให้ข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคคลอื่นบนช่องทางออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะบุคคลที่ไม่รู้จัก และหลีเลี่ยงการร่วมกิจกรรมบนโซเชียลมีเดียที่มีลักษณะการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในที่สาธารณะ เช่น การรับรหัส ATM นำโชค ที่มีการแจกให้กับผู้มีความเชื่อเกี่ยวกับตัวเลข ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้

 

ข่าวที่น่าสนใจ

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ข้อมูลส่วนบุคคลสำคัญ 5 ประเภท ที่ สพร. เตือนให้ระมัดระวังไม่เปิดเผยต่อบุคคลอื่น ประกอบด้วย 1)หมายเลขข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เลขบัตรประชาชน เลขหนังสือเดินทาง เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เลขหนังสือเดินทาง 2)ข้อมูลพิกัดที่อยู่อาศัย เบอร์โทรศัพท์ อีเมล 3)ข้อมูลธนาคาร เช่น เลขบัญชี รหัส ATM, เลขบัตรเครดิต 4)ข้อมูลทางชีวมิติ เช่น ลายนิ้วมือ ข้อมูลแสดงม่านตา 5)ข้อมูลอุปกรณ์ เช่น IP Address, Mac Address, Cookie ID

นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ ที่ทั้งเจ้าของข้อมูลและผู้ทำหน้าที่รักษาข้อมูลก็ต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้เกิดการรั่วไหล เนื่องจากเป็นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน อาทิ ข้อมูลทรัพย์สินของบุคคล เช่น ทะเบียนรถยนต์ โฉนดที่ดิน, ข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ เช่น วันเดือนปีเกิด เชื้อชาติ ข้อมูลทางการแพทย์ ข้อมูลทางการศึกษา ข้อมูลการจ้างงาน ข้อมูลประเมินผลการทำงานหรือความเห็นของนายจ้างต่อการทำงานของลูกจ้าง ข้อมูลบันทึกต่างๆ ที่ใช้ติดตามตรวจสอบกิจกรรมของบุคคล ตลอดจนข้อมูลที่สามารถใช้ในการค้นหาข้อมูลส่วนบุคคลอื่นในอินเตอร์เน็ต

 

“ข้อมูลส่วนบุคคลโดยเฉพาะหมายเลขส่วนบุคคล ข้อมูลธนาคาร เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่เจ้าของข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวัง ไม่บอกให้กับผู้อื่นทราบ ไม่โพสต์เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต หรือบนเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะเสี่ยงต่อการที่ข้อมูลรั่วไหล หรือ ถูก Phishing ข้อมูลจากมิจฉาชีพ ที่อาจนำไปสู่การจารกรรมข้อมูลและเกิดการสูญเสียเงินและทรัพย์สิน” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ตร.จ่อแจ้ง 2 ข้อหาหนัก "ผอ.รพ." เมาซิ่งชน "2 ผู้ช่วยช่างภาพทีวี" เจ็บสาหัส
"เครือข่ายปชช." ยื่นหนังสือถึงกองทัพ ก่อนประชุม GBC แนะเจรจาปมเขตแดนก่อน ขอรบ.ยึดมั่นประโยชน์ประเทศ
ไฟไหม้ตลาดเสื้อผ้าชื่อดังกลางเมืองหลวงจอร์เจีย
“พล.ท.นันทเดช” ชี้กฎกรรมเริ่มทำงาน คนผิดไม่มีทางหลุดพ้น เชื่อไม่รอดถึงตั้งกาสิโน
ปชช.หลั่งไหลวัดโสธรพาครอบครัวขอพรวันแรงงาน
ผู้การแปดริ้ว มอบใบประกาศเกียรติการปฏิบัติงานดีเด่นด้านงานปราบปรามสถานีตำรวจภูธรแสนภูดาษ
อนุ กมธ.การเงิน การคลัง เสนอแนวทางแก้ไขปัญหารายได้การยาสูบแห่งประเทศไทยตกต่ำ เหตุซื้อภายในประเทศมีการผูกขาด
กรมควบคุมโรคเตือน! เฝ้าระวังติดเชื้อ "แอนแทรกซ์" หลังคร่าชีวิตชาวมุกดาหาร 1 ราย เจอกลุ่มเสี่ยงอีก 247 คน
“สมศักดิ์” จ่อฟันโทษ "ผอ.รพ.ชัยภูมิ" เมาแล้วขับชนสื่อ ชี้ผิดร้ายแรง ทำเป็นคดีตัวอย่าง สั่งดูแลคนเจ็บเต็มที่
"หมอวรงค์" เตือนเสี่ยงถึง "นายกอิ๊งค์" ถ้าศาลฎีกาฯ ไต่สวนเชื่อได้ว่า "ทักษิณ" ป่วยทิพย์

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น