“สมอง เสื่อม” งีบกลางวันนาน แพทย์เตือน อันตรายกว่าที่คิด

สมอง เสื่อม, โรคสมองเสื่อม, ภาวะสมองเสื่อม, งีบนาน, งีบกลางวัน, งีบบ่อย, งีบ, งีบหลับกลางวัน, หมอธีระวัฒน์

"สมอง เสื่อม" หมอธีรวัฒน์หรือหมอดื้อ เตือนภัยใกล้ตัว คนที่ชอบนอนงีบบ่อย ๆ งีบนาน ๆ ชี้ เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมโดยไม่รู้ตัว

“สมอง เสื่อม” หมอธีรวัฒน์ เตือนภัยร้ายใกล้ตัว การนอนงีบบ่อย ๆ นาน ๆ ช่วงกลางวัน ที่หลายคนคนทำบ่อยจนเป็นกิจวัตรประจำวัน เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคร้ายโดยไม่รู้ตัว ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยโรคร้ายใกล้ตัวอย่างโรค “สมอง เสื่อม” เกิดได้จากพฤติกรรมที่หลายคนชอบทำโดยไม่รู้ตัวว่าอันตรายกว่าที่คิด โดยระบุว่า การงีบนอนช่วงกลางบ่อย ๆ เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมจริง ทั้งนี้ไม่ทราบกลไกชัดเจน

 

 

 

จากการศึกษาก่อนหน้านี้ สมองของคนอัลไซเมอร์ พบว่า มีการเสื่อมสลายของกลุ่มเซลล์ที่กระตุ้นให้ตื่น จากการตรวจจีโนมของประชากรประมาณ 450,000 ราย พบ 123 ตำแหน่งที่สัมพันธ์กับการงีบหลับกลางวันบ่อย และเชื่อมโยงกับสภาวะสุขภาพแย่และสมองเสื่อม

 

 

 

สมอง เสื่อม, โรคสมองเสื่อม, ภาวะสมองเสื่อม, งีบนาน, งีบกลางวัน, งีบบ่อย, งีบ, งีบหลับกลางวัน, หมอธีระวัฒน์

 

 

 

การติดตามประชากรตั้งแต่ปี 2005 ถึง 2020 อายุเฉลี่ย 81.4 ปีเป็นจำนวนประมาณ 1400 ราย และรายงานในปี 2022 พบว่า ถ้างีบบ่อยงีบนาน ส่อให้เห็นสภาพว่าเริ่มมีหรือมีสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ จากการติดตามพบ

  • ปกติ 76%
  • เริ่มมีอาการก้ำกึ่ง 20%
  • และมีสมองเสื่อมแล้ว 4%

 

 

 

เมื่อติดตามพบว่าคนปกติงีบประมาณ 11 นาที คนที่สมองเริ่มก้ำกึ่งงีบ 24 นาทีและคนที่มีภาวะสมองเสื่อมจะงีบกลางวัน 69 นาที/วัน เมื่อติดตามคนที่เริ่มต้นปกติและเกิดสมองเสื่อมใน 6 ปี พบว่า

  • ถ้างีบนานกว่า 1 ชั่วโมงจะเพิ่มความเสี่ยง 40%
  • ถ้างีบบ่อยมากกว่า 1 ครั้งจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 40%

ทั้งนี้ คล้องจองกับรายงานในปี 2019 ที่ศึกษาในผู้ชายและพบว่า ถ้างีบกลางวัน 2 ชั่วโมงจะมีโอกาสเสี่ยงสมองเสื่อมมากกว่ากลุ่มที่งีบ 30 นาที/วัน

 

 

 

สมอง เสื่อม, โรคสมองเสื่อม, ภาวะสมองเสื่อม, งีบนาน, งีบกลางวัน, งีบบ่อย, งีบ, งีบหลับกลางวัน, หมอธีระวัฒน์

การงีบหลับกลางวันตามธรรมดาแล้วจะพบในกลุ่มที่นอนไม่ดีหรือนอนไม่มีคุณภาพ เช่น ในกลุ่มที่ทำงานไม่เป็นเวลา และข้อสำคัญคือมีโรคประจำตัวเมตาบอลิค รวมทั้งกลุ่มที่เป็นแล้วหรือกำลังจะเป็นโดยเฉพาะที่ครอบครัวมีสมองเสื่อมอยู่แล้ว และตนเองอาจกำลังเพาะบ่มสมองเสื่อมอยู่

 

 

 

การงีบหลับกลางวันบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น จำเป็นต้องวิเคราะห์สุขภาพ หาสาเหตุที่ทำให้นอนกลางคืนไม่มีคุณภาพ มีการใช้ยาไม่เหมาะสม ดื่มเหล้า สูบบุหรี่จัด กลางคืนมีการหายใจติดขัดทำให้ออกซิเจนไม่ไปสมอง

  • ระยะการนอนที่เหมาะสมอยู่ที่ 6-8 ชั่วโมงโดยมีช่วงหลับลึกอยู่ที่ 13 ถึง 23%

 

 

 

สมอง เสื่อม, โรคสมองเสื่อม, ภาวะสมองเสื่อม, งีบนาน, งีบกลางวัน, งีบบ่อย, งีบ, งีบหลับกลางวัน, หมอธีระวัฒน์

 

 

 

เน้นกินอาหารที่เข้าใกล้มังสวิรัติที่ไม่ก่อให้เกิดการอักเสบ พยายามหมั่นออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ งดเว้นบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้มีสุขภาพดี โดยการนอนที่มีคุณภาพ สามารถป้องกันภาวะสมองเสื่อมและโรคทางกายอื่น ๆ ด้วย

 

 

 

ข้อมูล : ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ตรวจหวย ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 2 พฤษภาคม 2568
MEA ผนึกกำลังสมาคมฟุตบอลฯ หนุน "ฟุตซอลไทยลีก 2025" พร้อมเปิดลีกอย่างเป็นทางการ
มุ่งเป้าเจาะชั้นใต้ดิน จุดที่คาดว่าผู้สูญหายติดค้างอยู่ อีกไม่เกิน 2 สัปดาห์ เคลียร์ชั้นใต้ดินได้หมด
กรมส่งเสริมสหกรณ์ แจงพร้อมช่วยเหลือสมาชิกเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมสหกรณ์การเกษตรแม่ทา จำกัด หลังประสบปัญหาขายนมไม่ได้ โต้! ผู้ประกอบการบางรายทำผิด MOU ซื้อขายน้ำนม
ระยอง เชิญเที่ยว เทศกาลผลไม้และของดีจังหวัดระยอง 2568 15-18 พ.ค.นี้ ชู ไฮไลต์ทุเรียนหมอนทอง-เที่ยวสวนเกษตร
"แอ็คมี่ วรวัฒน์" สร้างประวัติศาสตร์คนไทยคนแรก คว้ารางวัลเวทีระดับโลกที่ดูไบ
"ชูศักดิ์"ยัน"ราชทัณฑ์"ส่งตัวนักโทษรักษา ไม่ต้องขออนุญาตศาล เชื่อไต่สวนชั้น 14 ไม่กระทบรัฐบาล
"นฤมล" ย้ำผลงาน 3 หน่วยงาน ร่วมมือวางแผนเปิดกรีดยางช้า ดันราคายางโลกขึ้นไม่หยุด
"ปศุสัตว์นครพนม" สั่งคุมเข้มชายแดน สกัดเชื้อ "แอนแทรกซ์" ระวังการลอบนำเข้า "โค-กระบือ" จากพื้นที่เสี่ยง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น