“พิสิฐ” เสนอ ก.แรงงานเป็นแนวร่วมสอง ต่อสู้กับโควิด

ดร.พิสิฐ เสนอให้กระทรวงแรงงานเป็นแนวร่วมที่สองช่วยประชาชนตกงาน  ขาดรายได้ ในการต่อสู้กับวิกฤตโควิด

วันที่ 15 ก.ค.- เมื่อวานนี้ ( 14ก.ค.) คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ได้พิจารณางบประมาณในส่วนของกระทรวงแรงงานร่วมกับปลัดกระทรวงแรงงาน โดย ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม ในฐานะรองประธานกรรมาธิการ ได้แสดงความเห็นว่า ในวิกฤตโควิดทั่วโลกขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขย่อมเป็นแนวหน้าในการแก้วิกฤตกับคนป่วย แต่กระทรวงแรงงานควรเป็นแนวสองในการแก้ผลที่ตามมาจากการที่ประชาชนตกงานหรือขาดรายได้ ซึ่งประเทศต่าง ๆ จะมีมาตรการเยียวยาแรงงานโดยตรงเพื่อไม่ให้นายจ้างปลดลูกจ้างด้วยการให้งบประมาณสนับสนุน

 

ดร.พิสิฐ กล่าวว่า แต่ในกรณีของไทยน่าเสียดายที่กระทรวงแรงงานกลับไม่ได้ active มากนัก แถมงบประมาณ 2565 ถูกปรับลดลง จาก 6.9 หมื่นล้านบาทเหลือ 4.9 หมื่นล้าน หากแยกส่วนของประกันสังคมที่ถูกปรับลดลงมากจาก 6.4 หมื่นล้านบาทเหลือ 4.5 หมื่นล้านบาทก็ยังถูกปรับลดลง 500 ล้านบาท ขณะเดียวกัน งบเงินกู้จากพระราชกำหนด 2 ฉบับที่ใช้เงินรวม 1.5 ล้านล้านบาท ก็ไม่ปรากฎมีงบช่วยแรงงานที่ถูกกระทบโดยตรง คงเป็นงบที่แจกเป็นการทั่วไปต่างจากประเทศในยุโรปที่มีการอุดหนุนให้นายจ้างเก็บคนงานไว้ ประเทศเหล่านี้ถือว่าการรักษาการจ้างงานเป็นเป้าหมายเศรษฐกิจที่สำคัญ เหตุผลหนึ่งที่เรายังไม่ได้ทำอาจเป็นเพราะข้อมูลของแรงงานโดยเฉพาะนอกระบบยังไม่ได้เก็บอย่างเป็นระบบที่มาใช้การได้

.

ดร.พิสิฐ กล่าวอีกว่า ดังนั้นจึงเสนอให้กระทรวงใช้วิกฤตนี้เป็นโอกาสในการจัดเก็บข้อมูลแรงงานให้สมบูรณ์ เพื่อให้คนไทยทุกคนได้รับหลักประกันจากการดูแลของรัฐ โดยเฉพาะให้แรงงานนอกระบบเข้าระบบประกันสังคมอย่างถ้วนหน้า โดยอาจจะร่วมมือกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่กำลังจะจัดทำสำมะโนประชากร ส่วนที่กรมการจัดหางาน ตั้งเป้าส่งแรงงานไปต่างประเทศถึง 1 แสนคนต่อปีนั้น ตนไม่เห็นด้วย เพราะเศรษฐกิจไทยกำลังขาดแคลนแรงงาน ตามประชากรไทยที่ลดลง การลงทุนที่ถดถอยทุกวันนี้ส่วนหนึ่งมาจากความไม่สามารถหาแรงงานได้  ซึ่งฟิลิปปินส์เป็นตัวอย่างที่มุ่งส่งแรงงานไปต่างประเทศ แต่เศรษฐกิจภายในประเทศกลับถูกทอดทิ้ง ตรงกันข้ามเราควรชักชวนแรงงานไทยที่อยู่ในต่างประเทศ จำนวน 2 แสนคนให้กลับมาพัฒนาประเทศ

 

ดร.พิสิฐ กล่าวต่อว่า สำหรับแรงงานต่างด้าว ขอให้กระทรวงทบทวนสิทธิประโยชน์ชราภาพที่ยังให้เงินเลี้ยงดูตลอดชีวิตหลังเกษียณ ทั้งที่คนงานไทยที่อยู่นอกระบบยังไม่ได้สิทธิ รวมทั้งเสนอให้มีการสังคายนาระบบประกันสังคมด้านชราภาพให้มีความยั่งยืนโดยแยกหน่วยบริหารการเงินลงทุนให้เป็นอิสระคล้าย กบข. และปรับเปลี่ยนจากระบบกองทุนแบบกำหนดประโยชน์ทดแทน (defined benefit) ในปัจจุบันเป็นระบบกำหนดเงินสมทบ (defined contribution)

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

หนุ่มนักตกปลา ตาไม่ดี เดินพลาดตกช่องลิฟท์ ที่จอดรถอัตโนมัติ
"โฆษกภูมิใจไทย" สวนกลับเพื่อไทย ไม่ต้องหวาดระแวง ยัน "อนุทิน" ไม่เคยเสนอตัวแย่งชิงนายกฯ
เด็ดปีก ! นักค้ารายย่อย และ เครือข่าย จับเสพ 9 ราย เป็นลูกจ้าง อบต. 1 ราย ซัดทอดขยายผลจับนักค้า 2 ราย นักค้าอีก 2 รายไหวตัวหลบหนี
สระแก้ว มนุษยธรรมเหนือปัญหาชายแดน! ไทยเปิดด่านอรัญประเทศชั่วคราว ช่วยนายพลกัมพูชาป่วยฉุกเฉิน
ผู้นำเขมรสำนึกมั๊ย กองกำลังบูรพา เปิดด่านคลองลึก เป็นกรณีพิเศษ นำ "บิ๊กทหาร" ระดับระดับรองเจ้ากรมกิจการชายแดน กัมพูชา ป่วยฉุกเฉินส่งรพ.ในไทย
การประชุมสุดยอดบริกส์เปิดฉากที่บราซิลโดยผู้นำจีนไม่เข้าร่วม
อิลอน มัสก์ประกาศตั้งพรรค “อเมริกัน” ชนทรัมป์
สหรัฐประกาศเขตพิบัติหลังน้ำท่วมฉับพลันที่เท็กซัส
การเคหะแห่งชาติ เน้นย้ำบทบาทผู้นำด้านการพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัย คว้ารางวัลเกียรติคุณ “องค์กรที่มีคุณูปการแก่วงการอสังหา ริมทรัพย์ไทย” ปี 2568 จากเวทีระดับนานาชาติ
ด้วยพระอัจฉริยภาพ "สมเด็จเจ้าฟ้า ฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี " รพ.จุฬาภรณ์​ ทำสำเร็จ​ ผลิตยารักษา"มะเร็ง" ตำรับแรกในไทย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น