สภาฯ รับหลักการวาระ 1 ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองพยาน

รัฐสภา 7 ก.ค.- รมว.ยุติธรรม ดันร่างพ.ร.บ.คุ้มครองพยานคดีอาญาผ่านสภาฯวาระ 1 รับหลักการแก้เพิ่มความปลอดภัย-ค่าตอบแทน ปรับบทบัญญัติให้สอดคล้องการปฏิบัติงาน

ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….ที่คณะรัฐมนตรี เป็นผู้เสนอ โดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า ขอเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….ต่อที่ประชุมสภาฯ โดยมีหลักการแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 คือ 1.แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 3 เพิ่มบทนิยามคำว่าพยาน และเพิ่มบทนิยามคำว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ในมาตรา 3 2.แก้ไขเพิ่มเติมมาตรการทั่วไปในการคุ้มครองพยานเกี่ยวกับการประเมินพฤติการณ์ความไม่ปลอดภัยและการขยายระยะเวลาการคุ้มครองพยาน โดยแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 6 วรรคสอง 3.แก้ไขเพิ่มเติมมาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยานเกี่ยวกับคดีความที่พยานอาจได้รับความคุ้มครอง การจ่ายค่าเลี้ยงชีพ และเหตุที่อาจสั่งการให้คุ้มครองพยานสิ้นสุดลง โดยแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 8 (2) และ (3) และมาตรา 10 และเพิ่มเติมมาตรา 12 (6) 4.แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของสำนักงานคุ้มครองพยานและกำหนดอำนาจชองพนักงานเจ้าหน้าที่ในการคุ้มครองความปลอดภัยของพยาน โดยแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 13 และเพิ่มเติมมาตรา 13/1 5.แก้ไขเพิ่มหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่พยาน แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 17 ทั้งนี้พ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญาพ.ศ. 2546 มีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามพ.ร.บ.ดังกล่าว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับมาตรการทั่วไปและมาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยาน หน้าที่ และอำนาจของสำนักงานคุ้มครองพยานและอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่และหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่พยาน เพื่อให้พยานเกิดความเชื่อมั่น ได้รับความคุ้มครอง และได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมยิ่งขึ้น เชื่อว่าชั้นกรรมาธิการจะปรับเพื่อให้เกิดความเหมาะสม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในประชุมครั้งนี้ ส.ส.ได้อภิปรายอย่างกว้างขวาง และส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะมีการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ โดยมีการเสนอแนะรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติ และมองว่าพระราชบัญญัตินี้ยังเกิดข้อขัดข้องในการปฎิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพยาน ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของพยานในกระบวนการคุ้มครองจึงต้องมีการปรับกฎหมายฉบับนี้ขึ้นมาและรัฐธรรมนูญ 2560 บัญญัติว่ารัฐต้องบริหารกระบวนการยุติธรรมทุกด้านให้มีประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติและประชาชนเข้าถึงความยุติธรรมได้สะดวก รวดเร็ว ไม่เสียค่าใช้จ่าย เพราะการคุ้มครองพยานถือเป็นความจำเป็นและเป็นหัวใจของกระบวนการยุติธรรม โดยกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายปฏิรูป เมื่อส.ส.ดูเนื้อหาสาระแล้วมีความจำเป็น และหลายคนก็สนับสนุนแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัดตอนนี้คดีอาญามีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งคดียาเสพติด คดีเพศ คดีความมั่นคง ซึ่งต้องทำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการคุ้มครองพยาน ซึ่งจากสถิติคดีอาญานั้นสามารถลงโทษคนที่กระทำความผิดได้จริง ไม่ใช่ไปยกฟ้อง เพราะปราศจากพยานที่จะมายืนยัน เนื่องจากพยานเอกสารไม่สำคัญเท่าพยานบุคคลพระราชบัญญัตินี้เป็นหลักการที่ดี แต่อยากให้มีการประชาสัมพันธ์และให้ค่าคุ้มครองพยานอย่างเหมาะสม

ด้านนายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กล่าวชี้แจงว่า ในการทำงานคุ้มครองพยานกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้ทำความตกลงหรือเอ็มโอยูร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ 7 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการปกครอง กระทรวงกลาโหม ดีเอสไอ กรมราชทัณฑ์ กรมพินิจฯ และสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำให้การบริหารงานด้านการคุ้มครองพยานที่ผ่านมาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ส่วนเรื่องสถิติการคุ้มครองพยานที่ผ่านมาตั้งแต่เราใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานฉบับนี้ก็มีการอนุมัติคุ้มครองพยานไป 2,846 ราย และสิ้นสุดการคุ้มครองพยานไปแล้ว 2,754 ราย ขณะนี้อยู่ระหว่างการคุ้มครอง 92 ราย มีความปลอดภัย 100% ในการดูแลและมีผลทางคดีเสร็จสิ้นลงโทษพิพากษลงโทษไปแล้วกว่า100 คดี ยกฟ้องเพียง 13 ราย พยานมีความเชื่อมั่น 94% และความพึงพอใจของพยานอยู่ที่ 92% ทั้งนี้กฎหมายเดิมไม่ได้คุ้มครองพยาน แต่กฎหมายที่แก้ไขจะสามารถคุ้มครองจำเลยที่อ้างตนเองเป็นพยานได้ รวมถึงร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่สามารถให้พยานเบิกค่าใช้จ่ายได้ด้วยนอกจากค่าตอบแทนแล้ว สำหรับประเด็นอื่นๆที่เป็นข้อเสนอแนะของส.ส. ตนขอรับไว้เพื่อประกอบการพิจารณาในชั้นกรรมาธิการต่อไป

จากนั้นในเวลา 12.15 น. ที่ประชุมลงมติรับหลักการในวาระแรก โดยมีส.ส.เห็นด้วย 301 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง ไม่ลงคะแนนเสียง 2 เสียง และตั้งกมธ.วิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.คุ้มครองพยานฯ จำนวน 25 คน ใช้ระยะเวลาแปรญัตติ 7 วัน

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เจอแล้ว! “รั้วกั้น-หมุดหลักเขต” นับ 100 หมุด ชี้ชัด 3 ปราสาทอยู่ในแผ่นดินไทย
จีน-เมียนมา-ไทยยกระดับกวาดล้างเครือข่ายคอลเซ็นเตอร์
“ภูมิธรรม” รักษาการนายกฯ ลงนามแบ่งงานรองนายกฯ-รมต.ประจะสำนักนายกฯ ตัวเองคุมกลาโหม-มหาดไทยม "พ่อมดดำ" ดูสำนักพุทธฯ-อสมท.
จนท.เร่งสอบขยายผล เก๋งต้องสงสัยคาร์บอมบ์ ถูกเผาทิ้งกลางดึกที่รือเสาะ นราธิวาส
เปิดข้อมูล "ฮุน เซน" สั่งแบนสินค้าไทย แต่ให้นายทุนนำเข้าจากชายแดนลาว ทำราคาพุ่ง ด้าน "คนเขมร" แห่ข้ามแดนช่องจอม ขอทำงานกลุ่มทุนจีน
ผุ้นำญี่ปุ่นลั่นไม่ยอมอ่อนข้อให้ทรัมป์ง่ายๆปมภาษี
"เทพมนตรี" ตอกหน้า "ฮุน มาเนต" โชว์หลักฐานข้อเขียน-แผนที่ "นักสำรวจชาวฝรั่งเศส" ยัน "ปราสาทตาเมือนธม" เป็นของไทย
ทหารพราน ทพ.1303 สกัดจับชาวกัมพูชา 2 ราย กำลังขนบุหรี่เถื่อนเกือบ 16,000 ซอง ลักลอบข้ามชายแดน
หนุ่มนักตกปลา ตาไม่ดี เดินพลาดตกช่องลิฟท์ ที่จอดรถอัตโนมัติ
"โฆษกภูมิใจไทย" สวนกลับเพื่อไทย ไม่ต้องหวาดระแวง ยัน "อนุทิน" ไม่เคยเสนอตัวแย่งชิงนายกฯ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น