No data was found

“นักวิชาการ” เผย 3 ประเด็นที่ต้องเข้าใจ “ค่าการกลั่น” น้ำมัน

กดติดตาม TOP NEWS

“นักวิชาการ” เผย 3 ประเด็นที่ต้องเข้าใจ “ค่าการกลั่น” ชี้ เรื่องน้ำมันไม่ใช่แค่พูดเอาหล่อต้องอยู่บนพื้นฐานข้อมูล หลักวิชาการ มองรัฐบีบลดค่าการกลั่นมีทั้งดีเสียช่วยประชาชนแต่นานไปนักลงทุนหนี

ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระ และอาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม สอนพิเศษด้าน ปรัชญาการเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ว่า 3 ประเด็นสำคัญที่ต้องเข้าใจให้ถูกเกี่ยวกับค่าการกลั่น

ข่าวที่น่าสนใจ

นิยามค่าการกลั่น
1. ค่าการกลั่น (Gross Refining Margins) ไม่ใช่ “ค่าแรง/ต้นทุนของโรงกลั่น” และก็ “ไม่ใช่กำไรของโรงกลั่น” ด้วย
2. ค่าการกลั่น = ส่วนต่าง ราคาน้ำมันดิบที่ซื้อเข้ามากลั่น กับ ราคาเฉลี่ยน้ำมันสำเร็จรูปที่ขาย
3. คำว่าราคาเฉลี่ย เพราะน้ำมันดิบซื้อมากลั่น เวลากลั่นจะได้น้ำมันหลายตัว ทั้งน้ำมันคุณภาพสูง (premium) เบนซิน ดีเซล น้ำมันเตา ก๊าซหุงต้ม ซึ่งสองตัวหลังราคาต่ำกว่าน้ำมันดิบ ดังนั้นจึงต้องเอาทั้งหมดมาเฉลี่ยตามปริมาณ จึงจะได้เป็นราคาน้ำมันสำเร็จรูปเฉลี่ย แล้วค่อยนำไปลบกับราคาน้ำมันดิบ
*** ดังนั้นใครที่บอกว่าค่าการกลั่นปัจจุบันเท่ากับ 8 บาท โดยเอาราคาน้ำมันดิบไปลบกับน้ำมันเกรดสูง คือการคำนวนที่ไม่ถูกต้อง
4. จากข้อ 1.1-1.3 กำไรของโรงกลั่นจริงๆ จึงต้องมาจาก ค่าการกลั่น (รายได้) – ต้นทุนต่างๆ ไม่ว่าจะค่าผลิต ค่าไฟ ค่าบริหารจัดการ จึงจะได้เป็นกำไรของแต่ละโรงกลั่น และแต่ละโรงกลั่นมีต้นทุนไม่เท่ากันด้วย และไม่มีใครเปิดเผย เพราะเป็นเรื่องความลับของเอกชนที่ต้องแข่งขันกัน

ราคาน้ำมันขึ้น-ลง ตลอด ต้องใช้การเฉลี่ยช่วงขาดทุนและกำไร ไม่ใช่คิดแบบขายข้าว

1. น้ำมันไม่ใช่อาหารหรือสินค้าที่ราคาคงที่ แต่มีการปรับขึ้น-ลงตลอดเวลา ดังนั้นบางช่วงโรงกลั่นจะขาดทุนหนักแต่ต้องผลิต เพราะมีสัญญาต้องป้อนพลังงานให้ประเทศ หยุดขายแบบร้านขายอาหารหรือกิจการอื่นไม่ได้
2. ค่าการกลั่นปกติก่อนโควิดตกอยู่ที่ 2 บาทกว่า/ลิตร ช่วงโควิดความต้องการใช้น้ำมันน้อยผิดปกติ เพราะคนทำงานจากบ้าน ค่าการกลั่นเหลือแค่ 0.8 บาท/ลิตร โรงกลั่นเข้าเนื้อ ขาดทุนหนัก อย่างปี 2563 ขาดทุนไปปีเดียว 30,000 ล้าน ซึ่งรัฐก็ไม่ได้มีมาตรช่วยเหลือ ดังนั้นช่วงโรงกลั่นมีกำไร เขาจึงต้องเอากำไรนั่นไปเฉลี่ยกับช่วงที่ราคาน้ำมันตกต่ำ เพื่อชดเชยกัน

คุมค่าการกลั่น (บีบคอโรงกลั่น) ได้หรือไม่?

คำตอบคือได้ครับ แต่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือรัฐก็ใช้อำนาจบีบบังคับห้ามโรงกลั่นทำกำไร ต้องยอมเจ็บตัว เพื่อลดภาระประชาชนได้ในบางช่วงที่เหมาะสม หากจำเป็น แต่หากทำแบบนี้นานๆ นักลงทุนจะหนีหมด เพราะไทยจะกลายเป็นรัฐสังคมนิยมที่ขัดกับนักการแข่งขันในตลาดเสรี นักลงทุนก็ไม่มีใครอยากมาลงทุนหากเจอแบบนี้บ่อยๆ หรือหากราคาน้ำมันที่กลั่นในไทยต่ำกว่าต่างประเทศ โรงกลั่นที่ไม่ใช่ของรัฐก็อาจส่งออกไปขายประเทศเพื่อนบ้านใกล้ๆ แทน เพื่อให้ได้ราคาที่ดีกว่า สุดท้ายน้ำมันไหลออก ไทยไม่มีน้ำมันพอใช้ ก็ต้องวิ่งหากันอีก แล้วพอขาดแคลนในตลาด ราคาก็พุ่งอีก

ดังนั้นเรื่องน้ำมันไม่ใช่เรื่องเอาสะใจหรือพูดเท่ๆ เอาหล่อครับ ทุกอย่างต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและหลักวิชาการในการบริหารตลาดเสรีเสมอครับ เพราะเราไม่ใช่เกาหลีเหนือที่ปิดประเทศและจะทำอะไรแบบไม่สนใจใครก็ได้ครับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ทัพเรือภาคที่ 1 ร่วมกิจกรรมจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567
ตำรวจ รวบหนุ่มเพื่อนบ้าน ถือปืนขู่
ครอบครัววอนช่วยตามหาญาติหายตัวขณะเที่ยวไทย
กองทุนกำลังใจฯ "เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ" เปิดอบรมหลักสูตร Care Giver หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอาย ณ ทัณฑสถานหญิงกลาง
อัยการยื่นฟ้อง "ฮาร์ท- สุทธิพงศ์" เอาผิดคดีม.112 โพสต์หมิ่นเบื้องสูง เมื่อปี 64
FBI ชี้เป้า จับหนุ่มก้ามปู ชาวมะกัน หนีข้ามแดน บีบคอเหยื่อ บังคับค้ากาม หนีกบดานไทย
"แบงค์ ศรราม" เคลียร์ชัดทุกปม หลัง "นุ่น ดำดง" ขอลาออก ทำงงกันทั้งคณะลิเก
นักปีนเขาติดบนหน้าผาในจีน 1 ชม.เหตุแออัด (คลิป)
ของแท้ปังสุด ๆ “ลิซ่า” คนไทยคนแรก สร้างตำนานโบกธงF1 ตามรอยคนดังฝั่งอเมริกา
กัวลาลัมเปอร์โกลาหล ต้นไม้ใหญ่ล้มกลางกรุง ตาย 1 (คลิป)

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น