กทม. เร่งเดินหน้าจัดตั้ง “ศูนย์พักคอย” ผู้ป่วยโควิดสีเขียว

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เร่ง จัดตั้งศูนย์พักคอย รองรับผู้ป่วยโควิด-19 สีเขียว ป้องกันการแพร่เชื้อในวงกว้าง มั่นใจ เจ้าหน้าที่และอุปกรณ์การแพทย์มีเพียงพอ

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยมาตรการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ผ่านเฟซบุ๊ก ผู้ว่าฯอัศวิน ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดในตอนนี้ กทม. ได้เร่งนำส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษาใน รพ. มาอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย. จนถึงวันนี้ ส่งผู้ป่วยโควิดเข้า รพ. แล้ว 19,337 ราย แต่การระบาดในแต่ละวัน มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ยังมีผู้ป่วยตกค้างอยู่ ถึงแม้ว่า กทม. ได้เพิ่มจำนวนเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยให้มากที่สุดแล้วก็ตาม

สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะต้องทำอย่างเร่งด่วน เพื่อไม่ให้มีการแพร่ระบาดในครอบครัวและในชุมชนเพิ่มมากขึ้น คือ การแยกผู้ป่วยออกจากครอบครัว โดยการจัดตั้ง “ศูนย์พักคอย” ใช้เป็นสถานที่ให้ผู้ป่วยโควิดสีเขียวอยู่ระหว่างการรอส่งต่อโรงพยาบาล และใช้เป็นสถานที่สำหรับดูแล กลุ่มคนที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษระหว่างรอเตียง เช่น เด็กที่พ่อแม่ติดเชื้อที่ไม่มีคนในครอบครัวดูแล

“ศูนย์พักคอย รอการส่งต่อผู้ป่วยโควิดเข้ารักษาในโรงพยาบาล” หรือ Community Isolation กทม. มีแผนจะจัดตั้งให้ครบทั้ง 6 กลุ่มเขต และจะจัดตั้งให้มากที่สุดทุกเขตทั่วพื้นที่ กทม.

การดูแลผู้ป่วยโควิดที่ศูนย์พักคอยทุกแห่ง จะมีเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) คอยดูแลผู้ป่วยประเมินอาการอย่างใกล้ชิด โดยมีอุปกรณ์ที่จำเป็น ยาและเครื่องมือทางการแพทย์ดูแลอาการผู้ป่วยโควิด ได้แก่

  1. เครื่องวัดค่าออกซิเจนปลายนิ้ว ไว้สำหรับวัดค่าออกซิเจนในเลือด เพราะคนไข้ที่ติดเชื้อโควิด

สีเขียวจำนวนมากที่ไม่แสดงอาการเปลี่ยนเป็นผู้ป่วยเหลืองได้เร็ว แต่หากมีการวัดค่าออกซิเจนในระหว่างที่รอส่ง รพ. และพบว่ามีค่าต่ำกว่าปกติมาก (ต่ำกว่า 95%) จะได้รีบส่งเข้ารักษาใน รพ.

  1. เครื่องออกซิเจน ใช้สำหรับช่วยชีวิตผู้ป่วยที่มีออกซิเจนต่ำกว่า 95% ระหว่างการรอส่งเข้าโรงพยาบาล เพราะผู้ป่วยโควิดเขียว หากมีอาการขึ้นมาจะเปลี่ยนเป็นผู้ป่วยเหลืองได้เร็วมากขึ้น

สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยสมัครใจแยกกักตัวในบ้านที่พักอาศัยของตนเอง หรือ Home Isolation ระหว่างรอเตียงเข้ารักษาในโรงพยาบาล จะต้องผ่านการพิจารณาวินิจฉัยจากแพทย์ว่าสามารถรักษาตัวที่บ้านได้ โดยจะต้องเป็นผู้ป่วยโควิดสีเขียวที่ไม่มีอาการ ไม่มีภาวะอ้วน ไม่มีโรคประจำตัว และไม่เป็นผู้สูงอายุ โดยระหว่างการแยกกักตัวที่บ้าน จะมีเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) คอยดูแลผู้ป่วยประเมินอาการอย่างใกล้ชิด มีการตรวจวัดค่าออกซิเจน และให้ยาตามอาการ ซึ่งถ้าผู้ป่วยมีอาการ เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองจะรีบนำส่งเข้ารักษาในโรงพยาบาลได้อย่างปลอดภัย

ขณะที่ ศูนย์พักคอยฯ” เป็นสิ่งที่จำเป็นมากในสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้ เพื่อเป็นสถานที่ที่ดูแลอาการเบื้องต้นให้กับผู้ป่วยโควิดสีเขียวในชุมชนหรือในพื้นที่ใกล้บ้าน เพื่อกักตัวผู้ป่วยออกจากคนในครอบครัว รอส่งต่อเข้ารักษาใน รพ. สนาม หรือ รพ.หลัก เพื่อลดการติดเชื้อกันในครอบครัวที่จะทำให้แพร่ระบาดต่อไปในชุมชนหรือในที่ทำงานได้

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"GLO" จัด Kid Dee Roadshow ภาคเหนือ เสริมพลังคนรุ่นใหม่รู้เท่าทันภัยพนันออนไลน์
“ภูมิธรรม” ชี้ชายแดนไทย-กัมพูชายังตึงเครียด ยันยึดมาตรการตามเดิม ไม่มีผ่อนปรนเข้า-ออก ข้ามแดน
"บิ๊กเล็ก" แจงเข้าใจคลาดเคลื่อน ยันคุยทางออกขัดแย้งกัมพูชา ไม่ได้หมายถึง "เตีย เซียฮา" ขอเชื่อมั่น ไว้ใจนำสงบสุขกลับคืน
"อ.ไชยันต์" ซัด "ไอติม พริษฐ์" อ้างเหตุปชน.ไม่ร่วมยื่นซักฟอก "นายกอิ๊งค์" ทำปชช.เสียโอกาส สวนเจ็บ รัฐสภาอังกฤษ เขียนชัด จริยธรรมนักการเมือง อย่าทำไม่รู้เห็น 
ปั๊มน้ำมันระเบิดดังสนั่นทั่วกรุงโรมของอิตาลี
"โฆษกทบ." แจงเหตุ "ทหารพรานไทย" ปะทะคารม "ทหารกัมพูชา" จุดชมวิวภูผี ไม่ถึงขั้นรุนแรง ย้ำต่างฝ่ายต่างยึดข้อตกลง
"จุลพันธ์" อ้างเหตุครม.ใหม่ เตรียมถอนร่างพ.ร.บ.เอ็นเตอร์เทนเมนต์-กาสิโน พิจารณาซ้ำ ยันไม่เกี่ยวปมขัดแย้งกัมพูชา
ดร.เฉลิมชัย ปิดหลักสูตร ปธส. 12 มุ่งสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ท่ามกลางวิกฤตโลกเดือด
"มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์" ร่วมกับสถานีตำรวจภูธรทุ่งหลวง ราชบุรี มอบรถเข็นวีลแชร์ผู้สูงอายุ-ผู้ป่วย ถวายเป็นพระราชกุศลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2568
"หมอวรงค์" สรุปแยกเป็นข้อๆ ไต่สวนแพทย์-พยาบาล รักษา "ทักษิณ" พิรุธหนัก แพทย์อ้างส่งไปรพ.ตร. เพราะ "พยาบาลเวร" วินิจฉัยอาการ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น