No data was found

‘หมอเพจดัง’ จี้สธ. แก้ทั้งระบบเคส กรณีเด็ก 12 ปี ผ่าไส้ติ่งช้าจนเสียชีวิต

กดติดตาม TOP NEWS

หมอเพจดัง ชี้เคสเด็ก 12 ปี ผ่าไส้ติ่งช้าจนเสียชีวิต ไม่ควรจบแค่แสดงความเสียใจ แนะ สธ. แก้ทั้งระบบ ทำให้เคสผ่าตัด ไม่มากระจุกตัวที่จังหวัด

เพจ เรื่องเล่าจากโรงพยาบาล แสดงความคิดเห็นกรณี เด็กอายุ 12 ปี เสียชีวิตหลังจากผ่าไส้ติ่ง ที่รพ.บุรีรัมย์ ระบุว่า กรณีไส้ติ่งเสียชีวิตควรทบทวนแก้ไข จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ความเห็น คำวิจารณ์มากมาย สามารถสรุปได้ว่า สิ่งที่แทบทุกคนเห็นตรงกันก็คือ เป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น เป็นเรื่องที่ต้องมีการแก้ไข

โรงพยาบาล มีความ ‘บกพร่อง’ ที่ทำให้ เด็กคนนี้ได้รับการรักษาที่ล่าช้าไป ทั้งหมดนั้น ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นหมอ เป็นบุคลากรการแพทย์ รวมทั้งผมก็เห็นตรงกันหมด แต่มันมีบางประเด็น ที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อน ซึ่งผมอยากจะปรับความเข้าใจกันสักหน่อย ย้ำอีกที ผมเองก็เห็นว่า กรณีเคสนี้มีช่องโหว่ บกพร่องแน่นอน แต่บางประเด็นต้องปรับความเข้าใจกันก่อน

#เคสอื่นเสร็จก็ควรผ่าไส้ติ่งต่อ ตามคำแถลง มีเคสผ่าตัดอยู่ 3 เคส เคสไส้เลื่อนอุดตันจนเน่า ,เคสผ่าคลอด ซึ่งเด็กมีสัญญาณบ่งบอกว่าอยู่ในภาวะอันตราย และสุดท้ายเคสกระดูกหัก มีแผลเปิด ซึ่งเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อในกระดูก

แต่ 3 เคสนี้ เป็นเคสศัลยกรรม 1 เคส (เคสไส้เลื่อน) เคสหมอสูติ 1 เคส (ผ่าคลอด) เคสหมอออร์โธ – ศัลยกรรมกระดูก 1 เคส ( กระดูกหัก) โดยทั่วไป นอกเวลาราชการ จะมีหมอขึ้นเวรแต่ละแผนก เพียง 1 คน (วันที่ 29 พ.ค. คือ วันอาทิตย์
รพ.ศูนย์ รพ.จังหวัด มีห้องผ่าตัดเป็นสิบ แต่อย่าลืมว่าหมอขึ้นเวรแค่ แผนกละ 1 คน) ดังนั้น หมอที่จะผ่าตัดเคสไส้ติ่ง ก็คือ หมอคนที่ผ่าเคสลำไส้อุดตัน เพราะฉะนั้นเคสอื่นผ่าตัดเสร็จ ก็ใช่ว่า จะนำ เคสไส้ติ่งเข้าไปผ่าได้ ยกเว้นว่า รพ. นั้นๆ มีหมอศัลย์ ขึ้นเวรมากกว่า 1 คน หรือมีแพทย์ประจำบ้านฝึกหัด , มีแพทย์เพิ่มพูนทักษะ (หรือเรียก หมออินเทิร์น หมอจบใหม่) ที่สามารถทำการผ่าตัดได้ เปิดห้องผ่าตัดไปได้เลย

ข่าวที่น่าสนใจ

สิ่งที่ควรตรวจสอบก่อน คือ ที่ รพ.บุรีรัมย์ หมอศัลย์ ขึ้นเวรกันอย่างไร ? ถ้าขึ้นคนเดียว ลำดับที่จะทำได้ ก็คือ เคสผ่าไส้เลื่อนเสร็จก็ต่อด้วยไส้ติ่ง ผ่าไส้เลื่อนที่ลำไส้อุดตันและเน่า เป็นการผ่าตัดที่ไม่ง่ายและต้องใช้เวลามาก ในข่าวไม่ได้ระบุว่า ใช้เวลาผ่ากี่ชั่วโมง ทำให้ เคสไส้ติ่งไม่ได้ผ่าต่อ ผ่าเที่ยงคืน เสร็จตี 4 ตี 5 ? จนทีมไม่สามารถผ่าต่อได้ ? หากเป็นอย่างนั้น ทำไมไม่นำเคสเข้าผ่าตอนเช้า แทรกคิวห้องผ่าตอนเช้า ดูตามเวลา คือเช้าวันจันทร์ที่ 30 พ.ค.

กรณีแบบนี้ ที่ผ่านมา รพ. หรือ หมอ มีแนวทางปฏิบัติอย่างไร ? หมอที่รับผิดชอบเคส ถ้าผ่าไม่ไหว ต้องฝากหมอท่านอื่นมาผ่าตอนเช้าไหม ? เช้าวันจันทร์ ตารางห้องผ่าตัด คงเต็มและยาวเหยียด แต่เคสฉุกเฉินย่อมแทรกได้เสมอ เพราะฉะนั้น คำถามใหญ่ๆ คือ เหตุใด เคสไส้ติ่ง จึงได้ผ่า ตอนบ่ายโมงของอีกวัน ?

เรื่องต่อไปที่อยากทำความเข้าใจ #กรณีเคสร่อนพิบูลย์เกี่ยวอย่างไร? พอมีข่าวแบบนี้ หลายคน คนทั่วไป คงเห็นหมอพูดกันถึง เคสร่อนพิบูลย์ หลายคนคงงงว่า มันคืออะไร ขอเล่าให้ฟัง ร่อนพิบูลย์ คือ เคสผ่าไส้ติ่งแล้วเสียชีวิต มีการฟ้องหมอเป็นคดีอาญา คำตัดสินในศาลชั้นต้น ปี 2550 ออกมาว่า หมอมีความผิด ที่ทำการผ่าตัดโดยไม่ได้มาตรฐาน คือ ไม่มีวิสัญญีแพทย์ (หมอดมยา) ในทางปฏิบัติดั้งเดิม ใน รพ.อำเภอนั้น เราไม่มี หมอดมยา ประจำ รพ. หมอทั่วไปที่เรียนจบ 6 ปี ได้เรียน/ฝึก เรื่องการให้ยา ในการผ่าตัดมาเบื้องต้น โดยเฉพาะการบล็อกหลัง เราได้เรียน/ฝึก การผ่าตัดพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ผ่าไส้ติ่ง ผ่าคลอด ทำหมัน

ดังนั้นในอดีต จึงมีการผ่าไส้ติ่ง ผ่าคลอดที่ รพ.อำเภอ เป็นเรื่องปกติ คำตัดสินในคดีร่อนพิบูลย์ จึงสร้างบรรทัดฐานใหม่ขึ้นมา เนื่องจาก ไม่มีวิสัญญีแพทย์ จึงผิดรพ.อำเภอ จึงทยอยปิดห้องผ่าตัด (แม้ปีต่อมาคือ 2551 จะมีคำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์ ให้ยกฟ้องตามมา ก็ดูเหมือน สายน้ำจะไม่ย้อนกลับแล้ว สารภาพกันตามตรงผมเอง ยังมารู้หลังจากนั้นหลายปี ว่า คดียกฟ้องไปแล้ว เพราะมันยังถูกพูดถึง

แต่อย่างไรก็ดี มันเป็นคดีความ ก็เข้าใจได้ว่า ไม่ว่าใครก็คงไม่อยาก ที่จะให้เกิดปัญหา ยกฟ้อง ไม่ได้แปลว่า เกิดเรื่องขึ้นมา จะไม่ถูกฟ้อง เพราะฉะนั้น ก็เลี่ยงเสียดีกว่า) บาง รพ. อาจเปิดผ่าตัดต่อไปได้ นโยบายแต่ละแห่ง ศักยภาพแต่ละแห่ง ก็แตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่ปิด เคสผ่าตัดก็ส่งเข้า รพ.จังหวัด รพ.ศูนย์ กันหมด

แนวทางการสอน การฝึกใน โรงเรียนแพทย์ ก็ปรับกันไป นักศึกษาแพทย์ ไม่ได้ฝึกผ่าไส้ติ่งกันแล้ว หมอที่จบใหม่ จึงทำไม่ได้ ออกไปอยู่ตามอำเภอ ไม่ได้ทำ ไม่มีให้ทำ ไม่มีใครให้ทำ ก็เป็นอันว่า ไม่ต้องเรียน ไม่ต้องฝึก หากเทียบเคียงกับ เคสครั้งนี้ จึงมีคนคิดถึงคดีนั้นขึ้นมา หากยังมีการผ่าตัดที่ รพ.อำเภอ ผ่าไปตั้งแต่วันแรกที่เจอ ไม่ต้องส่งมารอที่ตัวจังหวัด ผลมันจะดีกว่าไหม ? หรือกระทั่งใน รพ.จังหวัด ปกติหมอจบใหม่ พอได้ฝึกสักระยะ ก็สามารถผ่าไส้ติ่งได้เองแล้ว ใน รพ.จังหวัดที่มีพยาบาลช่วยเก่งๆ หมอศัลย์ผ่าเคสหนักไป น้องจบใหม่ก็ผ่าไส้ติ่งไปเลย ก็ยังทำกันบ่อยๆ (ในอดีต) แต่ปัจจุบันใครจะกล้า ? ทำไม่เป็นกันแล้ว

ส่วนตัวแล้ว ถึงจะคิดถึงคดีนั้น แต่ในฐานะหมอ เราจะมัวโทษ คดีร่อนพิบูลย์ที่ผ่านมา เกือบ 15 ปี ก็คงไม่ถูก ระบบ และเวลาเดินไปข้างหน้า กระทรวง ต้องแก้ไขระบบให้ดีขึ้น ทำอย่างไร ให้ เคสผ่าตัด ไม่มากระจุกตัวที่ ตัวจังหวัด ทำยังไง ที่จะเพิ่มศักยภาพ รพ.อำเภอได้ ที่เขียนมายืดยาว เพราะรู้สึกว่า เราไม่ควรจบเรื่องนี้ ด้วยคำกล่าวแค่ว่า แสดงความเสียใจ แต่เราต้องทำอะไรเพื่อป้องกัน ไม่ให้มันเกิดขึ้นอีก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

นายกฯกราบ “พระอาจารย์ต้อม” วัดท่าสะแบง ร้อยเอ็ด รับปากชาวบ้าน รัฐบาลเร่งแก้ยาเสพติด-ดูแลน้ำท่วม
ไม่ดูอีกต่อไป “ครูแหม่ม” ซัดแรง “โน้ส อุดม” หากินแขวะ ศก.พอเพียง ไร้สำนึก คนเห็นตัวตนแท้จริงหมดแล้ว
เพจดังโพสต์คลิปชายทุบขวดริมทะเลบางแสน เตือนภัย สุดอันตรายหากนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมได้รับบาดเจ็บ
สนั่น เก๋งยูเทิร์นกระทันหัน กระบะ และ เก๋ง ตามมาเบรกไม่ทันชน ยับ
พ่อเลี้ยงพาลูก 5 ขวบ มาทิ้งวัด แผลเต็มทั่วร่างกาย เจอตัวแม่เด็ก อ้างแค่อยากดัดนิสัยลูก
สอบสวนกลาง รวบ "หนุ่มนักเทรด" หลอกขายบัญชีม้าให้ขบวนการหลอกลงทุน
แควนตัส ยอมจ่ายค่าปรับ ชดเชยขายเที่ยวบินยกเลิก
อินโดนีเซีย ทีมอาสาฝ่าช่วยสัตว์เลี้ยง หลังภูเขาไฟปะทุ
บราซิล น้ำท่วมหนัก ดับพุ่งเป็น 78 ราย
เจอตัวแล้ว "แม่ใจร้าย" คลอดลูกทิ้งในห้องน้ำสาธารณะ ย่านบางกะปิ อ้างตั้งครรภ์ไม่พร้อม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น