No data was found

ลูก “กัดเล็บ ดูดนิ้ว” อย่านิ่งเฉย แพทย์เตือน เสี่ยงฟันผิดรูป

กัดเล็บ ดูดนิ้ว, กรมการแพทย์, ฟันผิดรูป, ฟันเก, ฟันห่าง, ทันตแพทย์, สุขภาพช่องปากและฟัน, ฟัน

กดติดตาม TOP NEWS

ลูก "กัดเล็บ ดูดนิ้ว" อันตรายกว่าคิด อย่านิ่งเฉยเด็ดขาด หากไม่อยากให้ลูกเสียบุคลิกในอนาคต ทันตแพทย์เตือน ดูแลอย่างใกล้ชิด

ลูก “กัดเล็บ ดูดนิ้ว” กรมการแพทย์เผย พฤติกรรมดังกล่าวอันตรายกว่าที่คิด เสี่ยงฟันผิดรูปไม่พอ ยังเสี่ยงต่อเชื้อโรคอีกด้วย ทันตแพทย์ ย้ำ ควรดูแลอย่างใกล้ชิด ติดตามต่อที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคมที่ผ่านมา นายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึง การ “กัดเล็บ ดูดนิ้ว” มือของเด็ก เป็นพฤติกรรมที่ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญและหมั่นใส่ใจ พฤติกรรมเหล่านี้อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากและฟัน เช่น
  • ทำให้ฟันหน้ายื่นหรือฟันไม่สบกัน
  • ฟันสึกมากกว่าปกติ
  • ฟันห่าง
  • มีการกลืนผิดปกติ จากการใช้ลิ้นดันฟันหน้า

 

 

 

กัดเล็บ ดูดนิ้ว, กรมการแพทย์, ฟันผิดรูป, ฟันเก, ฟันห่าง, ทันตแพทย์, สุขภาพช่องปากและฟัน, ฟัน

 

 

 

การแสดงออกด้วยพฤติกรรมดูดนิ้ว อมมือ หรือกัดเล็บ อาจเกิดจากภาวะที่เด็กมีความกังวล จึงทำเพื่อผ่อนคลายอารมณ์ของตัวเอง และบางพฤติกรรมอาจทำให้กลายเป็นนิสัยติดตัวลูกไปจนโต นอกจากนี้ ยังส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพและเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ไวรัสหรือเชื้อโรคที่ติดมากับซอกเล็บหรือนิ้วมืออีกด้วย

 

 

 

กัดเล็บ ดูดนิ้ว, กรมการแพทย์, ฟันผิดรูป, ฟันเก, ฟันห่าง, ทันตแพทย์, สุขภาพช่องปากและฟัน, ฟัน

 

 

 

ทั้งนี้ ผู้ปกครองควรนำบุตรหลานพบทันตแพทย์เป็นประจำ เพื่อตรวจสุขภาพฟัน และฝึกลูกให้เป็นนิสัย เพราะ การใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากและฟันอย่างถูกวิธีตั้งแต่วัยเด็ก จะช่วยส่งผลต่อสุขภาพในช่องปากที่ดีในอนาคตเมื่อเข้าสู่วัยทำงานหรือวัยผู้สูงอายุอีกด้วย

ทันตแพทย์หญิงสุมนา โพธิ์ศรีทอง ผู้อำนวยการสถาบันทันตกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า พฤติกรรมที่เด็กดูดนิ้วมือ กัดเล็บ กัดริมฝีปาก หรือใช้ลิ้นดุนฟัน หากผู้ปกครองพบเห็นพฤติกรรมดังกล่าว ควรฝึกและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูก เพราะ อาจส่งผลต่อการเรียงตัวของฟัน เสี่ยงต่อการเกิดฟันสึก ฟันห่าง ฟันไม่สบกัน และในระยะยาว อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการบดเคี้ยวได้
กัดเล็บ ดูดนิ้ว, กรมการแพทย์, ฟันผิดรูป, ฟันเก, ฟันห่าง, ทันตแพทย์, สุขภาพช่องปากและฟัน, ฟัน
หากพบว่าลูกมีฟันที่ล้มเอียง ผิดรูปทรง ควรได้รับการรักษาทางทันตกรรม เพื่อแก้ไขความผิดปกติที่เกิดขึ้น การดูแลสุขภาพช่องปาก ควรดูแลเอาใจใส่ตั้งแต่ระยะฟันน้ำนม เพราะ จะช่วยให้ฟันแท้ขึ้นในตำแหน่งที่ถูกต้อง ไม่มีปัญหาการบดเคี้ยว สามารถออกเสียงได้ชัดเจน ซึ่งหากเกิดปัญหา หรือมีการสูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนกำหนด อาจทำให้ฟันแท้ ซ้อนเก หรือขึ้นไม่ได้จนกลายเป็นฟันฝังได้ ทั้งนี้ ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานมาพบทันตแพทย์ตั้งแต่อายุ 6 เดือน หรือเมื่อมีฟันน้ำนมขึ้นซี่แรก เพื่อรับคำแนะนำในการแปรงฟัน การดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี การปรับพฤติกรรมการบริโภค เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุ และตรวจสุขภาพฟัน
กัดเล็บ ดูดนิ้ว, กรมการแพทย์, ฟันผิดรูป, ฟันเก, ฟันห่าง, ทันตแพทย์, สุขภาพช่องปากและฟัน, ฟัน
คำแนะนำ
  • ควรเริ่มแปรงฟันทันทีเมื่อเด็กมีฟันน้ำนมขึ้นซี่แรก อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • เลือกแปรงสีฟันที่มีขนแปรงอ่อนนุ่ม ขนละเอียด หัวแปรงต้องมีขนาดพอดีกับช่องปากเด็ก
  • ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ 1,000 ppm ในปริมาณที่เหมาะสมในเด็กแต่ละช่วงอายุ
  • ควรพาบุตรหลานไปพบทันตแพทย์ เพื่อตรวจฟันเป็นประจำทุก 3-6 เดือน

 

 

 

กัดเล็บ ดูดนิ้ว, กรมการแพทย์, ฟันผิดรูป, ฟันเก, ฟันห่าง, ทันตแพทย์, สุขภาพช่องปากและฟัน, ฟัน

 

 

ข้อมูล : กรมการแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ทัพเรือภาคที่ 1 ร่วมกิจกรรมจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567
ตำรวจ รวบหนุ่มเพื่อนบ้าน ถือปืนขู่
ครอบครัววอนช่วยตามหาญาติหายตัวขณะเที่ยวไทย
กองทุนกำลังใจฯ "เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ" เปิดอบรมหลักสูตร Care Giver หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอาย ณ ทัณฑสถานหญิงกลาง
อัยการยื่นฟ้อง "ฮาร์ท- สุทธิพงศ์" เอาผิดคดีม.112 โพสต์หมิ่นเบื้องสูง เมื่อปี 64
FBI ชี้เป้า จับหนุ่มก้ามปู ชาวมะกัน หนีข้ามแดน บีบคอเหยื่อ บังคับค้ากาม หนีกบดานไทย
"แบงค์ ศรราม" เคลียร์ชัดทุกปม หลัง "นุ่น ดำดง" ขอลาออก ทำงงกันทั้งคณะลิเก
นักปีนเขาติดบนหน้าผาในจีน 1 ชม.เหตุแออัด (คลิป)
ของแท้ปังสุด ๆ “ลิซ่า” คนไทยคนแรก สร้างตำนานโบกธงF1 ตามรอยคนดังฝั่งอเมริกา
กัวลาลัมเปอร์โกลาหล ต้นไม้ใหญ่ล้มกลางกรุง ตาย 1 (คลิป)

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น