No data was found

“มาลาเรียโนวไซ” แพร่จากลิงสู่คน เตือน ยอดป่วยพุ่ง 70 รายแล้ว

มาลาเรียโนวไซ, ยุงก้นปล่อง,​ ลิง, ไข้มาลาเรีย

กดติดตาม TOP NEWS

"มาลาเรียโนวไซ" กรมควบคุมโรค เตือน อันตรายถึงตาย ย้ำ ผู้มีประวัติสัมผัสลิง รีบพบแพทย์ด่วน เผยยอดผู้ป่วยในไทยพุ่ง 70 รายแล้ว  

“มาลาเรียโนวไซ” มาแรง สธ. ถึงกับต้องประกาศเตือน หลังพบยอดผู้ป่วยพุ่งถึง 70 ราย มีประวัติสัมผัสลิงที่รับเชื้อจากยุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค ย้ำ หากมีประวัติเข้าป่าหรือสัมผัสลิง แล้วมีอาการป่วย รีบพบแพทย์ด่วน ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคมที่ผ่านมา นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ไข้มาลาเรียชนิดโนวไซ (Plasmodium knowlesi) ติดต่อจากลิงสู่คน โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะ กัดลิงที่มีเชื้อแล้วมากัดคน ซึ่งในปัจจุบัน ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนว่า ยุงสามารถนำเชื้อจากคนสู่คนได้ โดยลิงที่เป็นสัตว์รังโรคในไทย ได้แก่

  • ลิงกัง
  • ลิงวอก
  • ลิงเสน
  • ลิงแสม
  • ลิงอ้ายเงี๊ยะ

 

 

 

มาลาเรียโนวไซ, ยุงก้นปล่อง,​ ลิง, ไข้มาลาเรีย

 

 

 

ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อดังกล่าวในไทยครั้งแรกเมื่อปี 2547 เฉลี่ยปีละ 10 คนมาโดยตลอด จนกระทั่งปีนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 – 31 มีนาคม 2565 กลับพบผู้ป่วยจากเชื้อดังกล่าวแล้วถึง 70 คน โดยจังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่

  • ระนอง
  • สงขลา
  • ตราด

ดังนั้น ผู้ที่มีประวัติสัมผัสลิงในป่าในพื้นที่จังหวัดดังกล่าว แล้วมีดังต่อไปนี้

  • อาการไข้สูง
  • ปวดศีรษะ
  • หนาวสั่น
  • เหงื่อออกมาก

ขอให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย และแจ้งประวัติเข้าป่า เพื่อให้การรักษารวดเร็ว หากล่าช้าอาจจะมีอาการแทรกซ้อนร้ายแรงและเสียชีวิตได้ สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง หรือผู้ทำงานในป่า นักท่องเที่ยว ควรป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด โดยการสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ทายากันยุง และนอนในมุ้ง

 

 

 

มาลาเรียโนวไซ, ยุงก้นปล่อง,​ ลิง, ไข้มาลาเรีย

ด้านนายแพทย์อภิชาต วชิรพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเสริมว่า กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค ได้ดำเนินมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมไข้มาลาเรียอย่างเข้มแข็ง โดยใช้เทคโนโลยีรายงานผู้ป่วยผ่านระบบมาลาเรียออนไลน์ในการเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งแจ้งเตือนภัยทุกสัปดาห์

 

 

 

มาลาเรียโนวไซ, ยุงก้นปล่อง,​ ลิง, ไข้มาลาเรีย

 

 

 

หากพบผู้ป่วยแต่ละราย จะใช้มาตรการ 1-3-7 คือ

  • รายงานผู้ป่วย ภายใน 1 วัน
  • ติดตามสอบสวนการป่วย ภายใน 3 วัน
  • ดำเนินการควบคุมกำจัดการแพร่เชื้อโรคไข้มาลาเรียอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใน 7 วัน รวมถึงมียารักษาที่เพียงพอ

จากการสอบสวนโรค ระหว่าง กองโรคติดต่อนำโดยแมลง ได้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนองและสงขลา ดำเนินการสอบสวนโรคผู้ป่วยไข้ “มาลาเรียโนวไซ” ที่พบเพิ่มมากขึ้นอย่างละเอียด เพื่อวางแผนป้องกันควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งจะได้ประสานดำเนินการกับกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อสำรวจและควบคุมโรคในลิงที่เป็นรังโรคด้วย

 

 

 

 

 

 

ข้อมูล : กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กระทรวงสาธารณสุข

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ชาวบ้านย่านอ่อนนุชผวา เสาสะพานชำรุดแตกหัก วอนหน่วยงานเกี่ยวข้องแก้ไขด่วน
"สพท." แตะมือ "สสส." ร่วมหนุนเสริมโครงการ Gig Worker กระทรวงแรงงาน หวังบรรเทาปัญหาปากท้อง "แรงงานอิสระ" สู้วิกฤตเศรษฐกิจเปราะบาง
สุดตื่นตา โขลงช้างป่าละอู กว่า 30 ตัว เล่นน้ำคลายร้อน นทท.แห่ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก
วิกฤตภัยแล้งน้ำแห้งคลองชาวสวนทุเรียนขาดน้ำ ผลผลิตร่วงเสียหายต้นทุเรียนตาย ต้องซื้อน้ำรดพอประทังผลผลิตที่เหลือ วอนภาครัฐเข้าช่วยเหลือและเยียวยา
รวบแล้ว ไอซ์ ห้วยยายพรม ก่อเหตุยิงปืนขึ้นฟ้า ลักรถชาวบ้าน ขณะนั่งไลฟ์สดเย้ยตำรวจ
กลุ่มติดอาวุธ จับทหารเมียนมาหลายร้อยนาย หลังโจมตี-ยึดพื้นที่ตะวันตกของรัฐยะไข่ได้สำเร็จ
สะเทือนใจเด็กชายวัย 12 ปี ถูกแม่เมาสุราใช้มีดขว้างใส่ถูกคมมีดบาดขาเป็นแผลได้รับบาดเจ็บ เพื่อนบ้านเกรงเด็กได้รับอันตรายจึงขอความช่วยเหลือมูลนิธิเป็นหนึ่ง
เมียนมา กลุ่มติดอาวุธจับทหารเมียนมาหลายร้อยนายที่รัฐยะไข่
"ภูมิธรรม" ลั่น "ชลน่าน" ยังอยู่ในใจเสมอ ย้ำ 3 รัฐมนตรีหลุดครม. ไม่ได้ลาออกจากเพื่อไทย
บลูมเบิร์กชี้จีนจะมีบทบาทมากที่สุดต่อเศรษฐกิจโลกในอีก 5 ปี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น