No data was found

“ติดเชื้อโควิดซ้ำ” รอบ 2 สาเหตุ Omicron แล้วยัง Omicron อีก

ติดเชื้อโควิดซ้ำ, โควิด, Omicron, โอไมครอน, โอมิครอน, Delta, เดลตา, รับวัคซีน, ATK, เป๋าตัง

กดติดตาม TOP NEWS

"ติดเชื้อโควิดซ้ำ" หมายถึงอะไร อาการ สาเหตุ 3 ข้อปฏิบัติ หลังกลับจากสงกรานต์ หลักเกณฑ์ขอรับชุดตรวจ ATK ฟรี ผ่าน เป๋าตัง สิทธิเบิกเงินทดแทนการขาดรายได้

“ติดเชื้อโควิดซ้ำ” หมายถึง ผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อ แต่ต่อมาติดเชื้อซ้ำอีก TOP News เกาะติดสถานการณ์ โควิด-19 Omicron (โอไมครอน หรือ โอมิครอน) หลัง เทศกาลสงกรานต์ แนะนำ 3 ข้อปฏิบัติ หลังกลับจากสงกรานต์

  • สังเกตอาการตนเอง 7 วัน สงสัยติดเชื้อ ตรวจ ATK

  • หลีกเลี่ยงคนจำนวนมาก หากพบผู้อื่น สวมหน้ากากตลอดเวลา

  • กำหนด WFH ตามความเหมาะสม

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

สาเหตุ “ติดเชื้อโควิดซ้ำ”

  1. มักเกิดในช่วงที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ในคนที่ไม่ได้รับวัคซีน ได้รับไม่ครบ รับวัคซีนเข็มสุดท้ายนานกว่า 6 เดือน หรือมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  2. เชื้อที่มีการระบาดในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากเชื้อเดิม
  3. ผู้ป่วยลดมาตรการป้องกันตัวและมีพฤติกรรมเสี่ยง

ทั้งนี้ Omicron (โอไมครอน หรือ โอมิครอน) พบการ “ติดเชื้อโควิดซ้ำ” สูงกว่า Delta (เดลตา) 3 – 6 เท่า

ติดเชื้อโควิดซ้ำ, โควิด, Omicron, โอไมครอน, โอมิครอน, Delta, เดลตา, รับวัคซีน, ATK, เป๋าตัง

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงทุกสิทธิการรักษารับชุดตรวจ ATK ฟรี ผ่านแอป เป๋าตัง

หลักเกณฑ์

  1. มีไข้หรือวัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 37.5 °C ขึ้นไป ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ มีเสมหะ ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก ตาแดง ผื่น ถ่ายเหลว
  2. มีประวัติอาศัยหรือเดินทางเข้าไปในพื้นที่ระบาดหรือสถานที่ที่พบผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ในช่วง 14 วัน
  3. ช่วง 2 – 3 วันก่อนมีอาการ มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับสมาชิกครอบครัว, เพื่อน, เพื่อนร่วมงาน ที่เป็นผู้ติดเชื้อเข้าข่ายหรือผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ โควิด-19

* เน้นย้ำ ให้นำชุดตรวจ ATK ที่ได้รับมาตรวจหาเชื้อทันที เนื่องจากเหตุเป็นกลุ่มเสี่ยง พร้อมให้บันทึกผลการตรวจในระบบทันที ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถขอรับชุดตรวจ ATK ในครั้งต่อไปได้ หากต้องตรวจหาเชื้อ โควิด-19 ซ้ำ สามารถขอรับชุดตรวจ ATK เพิ่มเติมได้โดยเว้นระยะห่างกัน 14 วัน รับเพิ่มได้ 1 ชุด

ติดเชื้อโควิดซ้ำ, โควิด, Omicron, โอไมครอน, โอมิครอน, Delta, เดลตา, รับวัคซีน, ATK, เป๋าตัง

เป็นโควิดประกันสังคมจ่ายไหม ?

สำนักงานประกันสังคม เน้นย้ำ พร้อมช่วยเหลือ ผู้ประกันตน ทุกมาตรา ม.33 ม.39 ม.40 ที่ติดเชื้อ โควิด-19 โดยครอบคลุมการรักษาของ ผู้ประกันตน มาตรา 33 และ 39 รวมทั้งการจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ให้แก่ ผู้ประกันตน ทุกมาตรา

ผู้ประกันตน มาตรา 33 และ มาตรา 39

  • จะได้รับการช่วยเหลือครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลทางการแพทย์ประเภทผู้ป่วยใน ดังนี้
  1. ค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  2. ค่าดูแลการให้บริการผู้ประกันตน (ค่าอาหาร 3 มื้อ การติดตามอาการ และการให้คำปรึกษา)
  3. ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น เช่น ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และอุปกรณ์อื่น ๆ
  4. ค่ายาที่ใช้รักษา
  5. ค่าพาหนะเพื่อรับหรือส่งต่อผู้ป่วยระหว่างที่พัก โรงพาบาลสนาม และสถานพยาบาล
  6. ค่าบริการ X-ray
  7. ค่า oxygen ตามดุลยพินิจของแพทย์

* โดย สปส. จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลกับทางโรงพยาบาลตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ

ค่าทดแทนเมื่อขาดรายได้

สำหรับ ผู้ประกันตน มาตรา 33

  1. กรณีลาป่วย 30 วันแรก จะได้รับค่าจ้างจากนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
  2. กรณีจำเป็นต้องหยุดพักรักษาตัวนานเกินกว่า 30 วัน สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคมตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย โดยรับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ตามใบรับรองแพทย์ ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน หากป่วยเรื้อรังได้รับไม่เกิน 365 วัน

สำหรับ ผู้ประกันตน มาตรา 39

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคำนวณจากฐานค่าจ้างอยู่ที่จำนวน 4,800 บาท ตามใบรับรองแพทย์ ครั้งละไม่เกิน 90 วันปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคเรื้อรัง จะสามารถได้เงินทดแทน ไม่เกิน 365 วัน

* ต้องมีการส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนวันเข้ารับการบริการทางการแพทย์

สำหรับ ผู้ประกันตน มาตรา 40

  • ได้รับเงินทดแทนตามทางเลือก ดังนี้
  1. เงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 300 บาท กรณีรับการรักษาประเภทผู้ป่วยในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม และ Hospitel ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไปแต่ไม่เกิน 30 วัน/ปี (สำหรับทางเลือกที่ 1 และ 2) และไม่เกิน 90 วัน/ปี (สำหรับทางเลือกที่ 3)
  2. เงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท กรณีแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวที่บ้าน ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปแต่ไม่เกิน 30 วัน/ปี (สำหรับทางเลือกที่ 1 และ 2) และไม่เกิน 90 วัน/ปี (สำหรับทางเลือกที่ 3)
  3. เงินทดแทนการขาดรายได้ครั้งละ 50 บาท ไม่เกิน 3 ครั้ง/ปี กรณีไม่ได้เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในหรือไม่ได้กักตัว มีใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อสำนักงาน (เฉพาะทางเลือกที่ 1 และ 2 เท่านั้น สำหรับทางเลือกที่ 3 ไม่คุ้มครอง)

หมายเหตุ ผู้ประกันตน มาตรา 40 การรักษาพยาบาลใช้สิทธิของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

เป็นโควิด, เป็นโควิดประกันสังคมจ่ายไหม, ประกันสังคม, ม.33, ม.39, ม.40, ค่าทดแทนเมื่อขาดรายได้, ผู้ประกันตน, ติดเชื้อโควิดซ้ำ, โควิด, Omicron, โอไมครอน, โอมิครอน, Delta, เดลตา, รับวัคซีน, ATK, เป๋าตัง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ตะวัน-แฟรงค์" นอนคุกต่อ ศาลอาญาไม่อนุญาตประกันตัว
"ทีมโฆษกภท." แถลงพรรคคิดรอบคอบกม.กัญชาเพื่อการแพทย์ สร้างประโยชน์ศก. พร้อมถกรัฐร่วมดันผ่านสภาฯ
"ออมสิน" ประกาศผลรางวัลใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ "ชาวนครปฐม" สุดเฮง รับเละ 111 ล้าน
"ทนายด่าง" เผย 3 สาเหตุ "บุ้ง ทะลุวัง" เสียชีวิตก่อนถึงรพ. พร้อมขอประวัติการรักษาย้อนหลัง
ลอวเรนซ์ หว่อง ลั่นจะรับใช้ปชช.ด้วยหัวใจ สิงคโปร์ผลัดใบครั้งแรกในรอบ 20 ปี
รัสเซีย ยึดหมู่บ้านสำคัญเชิงสัญลักษณ์
ศุลกากรร่วมกับกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดจันทบุรี กอ.รมน. แถลงข่าวการจับกุมร้านลักลอบจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า 2 แห่ มูลค่ากว่า 1 ล้านบาท
9 ขวบรอดฉิวเฉียดกระสุนทะลุห้องฝุ่นตลบ (คลิป)
"สมศักดิ์" หนุนนำกัญชาต่อยอดการแพทย์ สร้างประโยชน์ศก. รับฟังทุกเสียงค้านขึ้นบัญชียาเสพติด
จีนเปลี่ยน ‘ฟาง’ เป็น ‘พลังงาน’ หนุนรักษ์สิ่งแวดล้อม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น