“ยาฆ่าพยาธิ VS โควิด” 2565 ไอเวอร์เม็กติน ข้อมูลอันผิดพลาด

"ยาฆ่าพยาธิ VS โควิด" ผลศึกษา 2565 ไอเวอร์เม็กติน ไม่มีประสิทธิภาพลดเข้ารักษาตัวใน รพ. เปิดทางหันไปทุ่มเทค้นคว้าและพัฒนาแนวทางรักษาอื่น ๆ ดีกว่า

“ยาฆ่าพยาธิ VS โควิด” ไอเวอร์เม็กติน (Ivermectin) ยากำจัดพยาธิในคนและสัตว์ ฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ในห้องปฏิบัติการ เป็นข้อมูลแพร่หลายไปในวงกว้าง แต่ล่าสุด TOP News มีข้อมูลใหม่ ผลการศึกษาจากคณะนักวิจัยนานาชาติและ ออสเตรเลีย พบ ไอเวอร์เม็กติน ไม่มีประสิทธิภาพลดการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจาก โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19)

ข่าวที่น่าสนใจ

การศึกษา “ยาฆ่าพยาธิ VS โควิด” ฉบับดังกล่าวเผยแพร่ในวารสารการแพทย์ นิว อิงแลนด์ (New England) เมื่อวันพฤหัสบดี (31 มีนาคม 2565) โดยเป็นผลลัพธ์จากการทดลองแบบปกปิดข้อมูลสองทาง (Double-blind) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวน 3,515 ราย

ผู้ป่วย 679 ราย จำนวน 2 กลุ่ม ที่มีอาการของโรคโควิด-19 นานถึง 7 วัน และมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้โรคลุกลามอย่างน้อยหนึ่งปัจจัย ถูกสุ่มให้รับประทานยาไอเวอร์เม็กติน วันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน หรืออาจได้รับยาหลอก

นักวิทยาศาสตร์จากเซอร์ทารา (Certara) บริษัทชั้นนำด้านการจำลองทางชีวภาพ และอดีตนักวิจัยของมหาวิทยาลัยโมนาช ศาสตราจารย์ เครก เรย์เนอร์ ซึ่งร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการดังกล่าวผ่านแพลตฟอร์มการทดลองนานาชาติ ทูเกเธอร์ คลินิคัลไทรอัลส์ (TOGETHER ClinicalTrials) เผยกับ สำนักข่าวซินหัว ว่า การศึกษาพบการรักษาด้วยยาไอเวอร์เม็กตินในกลุ่มผู้ป่วยนอกที่ถูกวินิจฉัยว่าป่วยโรคโควิด-19 ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ไม่ได้ลดความจำเป็นของการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล

ยาฆ่าพยาธิ VS โควิด
แฟ้มภาพซินหัว : บุคลากรการแพทย์อินโดนีเซียสวมชุดป้องกันขณะเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งเพื่อตรวจโรคโควิด-19 ในจังหวัดชวาตะวันตกของอินโดนีเซีย วันที่ 24 ก.ย. 2020

“การทดลองแบบปกปิดข้อมูลสองทางมีความสำคัญ โดยช่วยรับประกันว่าผลลัพธ์นั้นเป็นจริง และไม่ได้รับผลกระทบจากการปัจจัยอื่น เนื่องจากทั้งผู้ป่วยและผู้ให้บริการด้านการรักษาพยาบาลไม่ทราบถึงการแทรกแซง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการขจัดอคติที่อาจเกิดขึ้น” เรย์เนอร์ ระบุ

ทั้งนี้ ข้อมูลอันผิดพลาดเกี่ยวกับยาไอเวอร์เม็กตินนั้นแพร่หลายเป็นวงกว้าง หลังจากมีการพบว่ายาตัวนี้สามารถฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ในห้องปฏิบัติการ ทว่าปัจจุบันไม่มีหลักฐานทางคลินิกใดที่บ่งชี้ว่ามันสามารถฆ่าเชื้อไวรัสฯ ในร่างกายมนุษย์ได้

เรย์เนอร์ ทิ้งท้ายว่า การศึกษาข้างต้นจะช่วยให้เหล่านักวิทยาศาสตร์หันไปทุ่มเทเวลาและกำลังกับการค้นคว้าและพัฒนาแนวทางการรักษาโรคโควิด-19 ที่มีศักยภาพอื่น ๆ มากกว่า

ยาฆ่าพยาธิ VS โควิด
แฟ้มภาพซินหัว : ประชาชนรอรถรางในนครซิดนีย์ของออสเตรเลีย วันที่ 30 มี.ค. 2022

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เหลี่ยมจัด “ฮุนเซน” แนะเจ้าของปั้มกัมพูชา หยุดซื้อน้ำมันไทย ให้นำเข้าจากแหล่งอื่น แต่ไม่ต้องเปลี่ยนชื่อ
“เฉลิมชัย” สั่งการ อส. ปม. เร่งแก้ปัญหาชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ตามมาตรา 64 และ 121 พร้อมพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ประชาชนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน
ดิโอโก้ โชต้า นักเตะลิเวอร์พูลเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์
เริ่มแล้ว งานมหกรรมถนนอาหาร "อุดรเลิศรส" พร้อมเสิร์ฟเมนูเด็ด ทั้งอาหารคาว-หวานและเครื่องดื่ม สายกินต้องไม่พลาด
ช็อกวงการลูกหนัง! ดิโอโก้ โชตา ดาวยิงลิเวอร์พูล เสียชีวิตกะทันหันในอุบัติเหตุสุดสลด
ลุ้นป่วยจริงหรือปลอม พรุ่งนี้ ศาลฎีกา นัดไต่สวนกลุ่มแพทย์-พยาบาล ร่วมดูแล รักษา "ทักษิณ" ชั้น14
"สภาองค์การนายจ้างฯ" ครบรอบ 48 ปี มุ่งยกระดับแรงงานไทย รับมือเปลี่ยนแปลงสู่ยุค AI
“เดชอิศม์” เข้ามหาดไทยพรุ่งนี้ พร้อมดูแลทุกกรม-บำบัดทุกข์บำรุงสุขปชช. มั่นใจเสถียรภาพรัฐบาลมั่นคง
จีนประกาศเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันทางเหนือ-ตะวันตก
สวนสัตว์เปิดเขาเขียวจัดใหญ่ “ฉลองวันเกิดหมูเด้ง” อายุ 1 ขวบ เด็กเที่ยวฟรี 4 วันเต็ม 10–13 ก.ค.นี้!

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น