ทำไมเราถึงต้องสนใจเรียน”วิชาประวัติศาสตร์”

"ผมเริ่มกลับมาให้ความสนใจวิชาประวัติศาสตร์อีกครั้ง เมื่อมาเรียนกฎหมายในระดับมหาวิทยาลัย"

วิชาประวัติศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาโปรดของผมเมื่อเด็ก ๆ เพราะมันมีคำถามซ่อนอยู่มากมาย เช่น คนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไต เด็กอย่างผมก็จะถามทันทีว่ามันอยู่ตรงไหนครับ คุณครูก็จะเอาลูกโลกมาชี้ให้ดูว่ามันอยู่ตอนเหนือของมองโกเลีย หรือตอนใต้ของรัสเซีย “ประมาณนั้น” คำถามตามมาอีกว่า โห…ทำไมเรามาไกลขนาดนี้วะ เดินมาเป็นกลุ่มใหญ่ๆต้องเป็นสิบปีแน่เลย แล้วเรามาจากตอนใต้ของรัสเซีย ทำไมหน้าตาเราไม่ละม้ายคล้ายฝรั่งเลยวะ อย่างผมงี้ดำเชียว เพื่อนจำนวนมากก็ตี๋หมวย ฯลฯ

แต่สรุปคือเราต้องจำและตอบคำถามในข้อสอบว่าคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต ไม่งั้นไม่ได้คะแนน และเพราะคะแนนคือพระเจ้าสำหรับเด็กทุกคน ใครคะแนนดีจะเป็นที่ชื่นชม ใครคะแนนไม่ดีก็จะถูกตำหนิ จึงไม่มีเด็กคนไหนออกนอกแถวเพียงเพราะท่องว่าเรามาจากอัลไตไม่ได้หรอกน่า มันง่ายจะตาย

ผมขมขื่นและเหน็ดเหนื่อยกับการเป็นผู้ดีตกยากมาจากเทือกเขาอัลไตมานับแต่นั้น

 

แต่เชื่อไหมว่างานวิจัยระดับรางวัลชิ้นหนึ่งของสถาบันฝึกอบรมชั้นสูงที่ผมได้รับมาเมื่อสามสี่ปีก่อน หนาเกือบสิบ ซม เขายังเริ่มต้นว่าคนไทยมาจากเทือกเขาอัลไตอยู่เลย อ่านถึงตรงนั้นผมเลยไม่มีความรู้สึกอยากอ่านต่อ เหมือนโลกของผู้วิจัยหยุดนิ่งอยู่กับที่ จนบัดนี้แล้วยัง reference ว่าคนไทยมาจากอัลไตอีก ข้างในจะประหลาดพิศดารพันลึกอะไรต่อไปละเนี่ยะ จะให้ใครไปก็ไม่กล้ายืนยันคุณภาพ สุดท้ายมันอยู่ในกล่องไหนสักกล่องอย่างสงบ ไม่สมเจตนาของผู้วิจัยและเจ้าของทุนวิจัยที่ต้องการให้ผลงานเป็นที่ระบือลือลั่นในยุทธภพเลย

ที่จะบอกคือประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ต้องอธิบายกันด้วยเหตุด้วยผล ไม่ใช่ท่องจำ จึงไม่ต่างอะไรจากวิทยาศาสตร์เลย แต่ระบบของเรามุ่งให้ท่องจำ จำปี พ.ศ. จำชื่อคน จำสถานที่ จำมันเข้าไป เรียนประถมมัธยมจำเหมือนกันหมด เหมือนภาษาอังกฤษที่สอนแต่แกรมม่า เทนส์ ตั้งแต่อนุบาลยันปริญญาตรี เก่งแกรมม่าไว้จับผิดกัน แต่สื่อสารไม่ได้ เจรจาต้าอ้วยกับใครเขาก็สู้ไม่ได้

เนื่องจากมันไม่มีอะไรใหม่นอกจากการท่องจำ (ซึ่งจำได้อยู่แล้ว) ความสนใจในวิชาประวัติศาสตร์ (รวมทั้งภาษาอังกฤษ) ในระบบโรงเรียนของผมจึงหยุดอยู่ในราว ป. 6 เท่านั้น

ผมเริ่มกลับมาให้ความสนใจวิชาประวัติศาสตร์อีกครั้ง เมื่อมาเรียนกฎหมายในระดับมหาวิทยาลัย โชคดีนะที่ไม่มีการสอนวิชากฎหมายในระดับประถม มัธยม วิชากฎหมายเป็นเรื่องใหม่ในชีวิต และเมื่อเรียนไปก็พบว่ากฎหมายมันมีวิวัฒนาการตามบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไป ไม่หยุดนิ่ง การจะเข้าใจกฎหมายได้ดีจึงต้องเข้าใจประวัติศาสตร์หรือบริบทแต่ละยุคสมัยที่เปลี่ยนไปด้วย ทั้งของไทยและของต่างประเทศ ผมจึงศึกษาประวัติศาสตร์ (รวมทั้งภาษาต่างประเทศ) ใหม่ด้วยตัวเอง

รวมทั้งศึกษากระบวนการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในระบบการศึกษาของต่างประเทศด้วย ว่าเขาสอนยังไง ต่างกับบ้านเรายังไง สรุปคือต่างกันมากกกกกกกกกกก

ของบ้านเราท่านลองไปถามลูกหลานดูว่ามันต่างจากสมัยที่เราเรียนเมื่อเด็ก ๆ ไหม ส่วนของต่างประเทศ ประวัติศาสตร์ของประเทศตัวเองนี่เขาจบตั้งแต่มัธยมต้น อย่าง A Level มัธยมปลายเขาเรียนหลัก ๆ ดังนี้ ครับ

1 Conquest, control and resistance in the medieval world
2 Religion and the state in early modern Europe
3 Revolutions in early modern and modern Europe
4 Challenges to the authority of the state in the late eighteenth and nineteenth centuries
5 Communist states in the twentieth century
6 Searching for rights and freedoms in the twentieth century
7 Nationalism, dictatorship and democracy in twentieth-century Europe
8 Democracies in change: Britain and the USA in the twentieth century

แล้วเวลาเรียนนี่เขาไม่ได้สอนให้ท่องจำปี ค.ศ. จำชื่อตัวคน จำชื่อสถานที่นะครับ แต่สอนว่ามันมีเหตุผลความเป็นมาอย่างไร นึกภาพไม่ออก ให้ไปเปิดคลิปสารคดีใน YouTube ดูด้วย เวลาสอบเขาใช้ “เขียนตอบ” ไม่ได้กาถูกผิด ก ข ค ง จ เขียนตอบก็ต้องวิเคราะห์ เช่น เขาจะให้ชุดเอกสารสั้น ๆ มาสี่ห้าชุด แล้วให้นักเรียนวิเคราะห์ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร จาก source ไหน ดูสนุกมากสำหรับผม (แต่สำหรับนักเรียนคงไม่สนุกด้วย)

ดังนั้น เมื่อนักเรียนจบมัธยมปลายแล้วไปต่อปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย เขาจึงเรียนคิดวิเคราะห์ต่อเนื่องไปได้เลย ไม่ต้องมาเรียนอารยธรรมตะวันตกตะวันออกกันใหม่ (ซึ่งก็จำเหมือนเดิม)

ที่เล่ามาเป็นประสบการณ์ส่วนบุคคลของผม พลางจินตนาการไปด้วยว่าถ้าเรา “พัฒนา” วิธีการเรียนการสอนอย่างเขาได้บ้าง มันคงจะดีไม่น้อย แต่ไม่มีความหวังให้เกิดการปฏิรูปปฏิคลำอะไรอีก เห็นปฏิรูปกันมาตั้งแต่ปี 40 ผลลัพธ์ก็ชัดเจนอยู่ตำตา

อีกอย่างคือ “แก่” แล้ว.

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ตุลาการศาลรธน. เริ่มประชุมแล้ว คดีรับคำร้องสว.ยื่นถอดถอน 'แพทองธาร' พ้นตำแหน่งนายกฯ ปมคลิปเสียงคุย 'ฮุนเซน'
"นายกฯ" มั่นใจเว้นวรรค "รมว.กลาโหม" ไม่กระทบดูแลมั่นคงชายแดน ครม.เห็นชอบเรียงลำดับรองนายกฯ ทำหน้าที่รักษาการแทนนายกฯ
ระทึก ไฟไหม้ "โรงงานผลิตกระดาษทิชชู" นิคมฯ เหมราช สระบุรี เสียชีวิต 8 ราย สูญหาย 2 ราย
ดันแพลตฟอร์มข้อมูลที่อยู่อาศัยระดับชาติ "การเคหะแห่งชาติ" ลุยเชื่อมโยงข้อมูลทุกพื้นที่ พัฒนาที่อยู่อาศัยของประเทศอย่างยั่งยืน
กรมโยธาธิการและผังเมือง เร่งตรวจสอบคันกั้นน้ำ กำจัดผักตบชวา ยกระดับระบายน้ำ รับมือฤดูฝน
นายกฯงดแถลง หลังประชุมครม. ลุ้นศาลรธน. สั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ แจงปมไม่ตั้งรมว. กลาโหม บอกมี "บิ๊กเล็ก" อยู่แล้ว
"ภูมิธรรม" โยนนายกฯแจง เหตุผลเว้นเก้าอี้รมว.กลาโหม เชื่อฝีมือ "บิ๊กเล็ก" ทำหน้าที่ดูแลปัญหาชายแดนได้
‘ทนายวิญญัติ’ เผย ‘ทักษิณ’ ต้องมาศาลสู้คดี ม.112 ย้ำเจ้าตัวประสงค์ เข้าฟังการพิจารณาทุกนัด เชื่อจะมีการพิสูจน์คลิปคุยกับสื่อเกาหลี
"สุริยะ" แจง "พงศ์กวิน" หลานชาย นั่งรมว.แรงงาน ผ่านพิจารณาของนายกฯ ชี้มีผลงานในเพื่อไทยต่อเนื่อง
"ทักษิณ" มาแล้ว ฟังศาลสืบพยานโจทก์นัดแรกคดี 112-พ.ร.บ.คอมฯ เข้าประตูข้าง เลี่ยงเจอสื่อมวลชน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น