ในที่สุดก็ไปไม่รอด หลังตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี บุกเข้าจับกุมนายสหรัฐ เจริญสิน และ นายอุกฤษฎ์ สันติประสิทธิกุล ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้ต้องหาทั้งสองรายได้โพสต์ ข่าวลืออันเป็นอัปมงคลเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ จนมีการแชร์ต่อๆกันเป็นจำนวนมาก
ภายหลังมีการโพสต์ข้อความอัปมงคล ตำรวจ ปอท. ได้รวบรวมหลักฐานพร้อมสืบสวนหาตัวผู้ปล่อยข่าวดังกล่าวกระทั่งนำกำลังไปจับกุมตัวได้ทั้งสองคนพร้อมตั้ง 2 ข้อหาคือความผิดตามมาตรา 112 และ ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
โดยก่อนหน้านี้ เพจเฟซบุ๊ก “ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี – PMOC” โพสต์ข้อความเปิดเผยบัญชีต้องห้ามตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 และเป็นแหล่งข่าวปลอม โดยระบุว่า รัฐบาลเคร่งครัดการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ และความผิดเกี่ยวกับข่าวปลอม (Fake news) อย่างต่อเนื่อง เฉพาะวันที่ 13 พ.ค.2564 ที่ผ่านมา มีคำสั่งศาล 2 คำร้อง 63 URLS สรุปได้ดังนี้
1.ผู้กระทำความผิดทางเฟซบุ๊ก จำนวน 43 URLs
2.ผู้กระทำความผิดทางทวิตเตอร์ จำนวน 20 URLs
3.เป็นความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นสถาบัน และการข่มขู่คุกคามการทำงานของศาล/ผู้พิพากษา ในเว็บไซต์เฟซบุ๊ก จำนวน 10 บัญชี โดยมีรายชื่อผู้กระทำความผิด อยู่ในความสนใจของสังคม เช่น Pavin Chachavalpongpun, Andrew MacGregor Marshall, รอยัลสิสต์มาร์เก็ตเพลส-ตลาดหลวง, Suda Rangkupan, ป้าหนิง DK, Aum Neko, KTUK-คนไทยยูเค, Pixel HELPER, อานนท์ นำภา และ เพนกวิน-พริษฐ์ ชิวารักษ์ ParitChiwarak เป็นต้น
4.เป็นการแจ้งเตือนผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งอยู่ระหว่างรอการพิจารณาของศาล จำนวน 15 คำร้อง เมื่อศาลมีคำสั่งออกมาอย่างไร ก็จะสามารถดำเนินการบังคับใช้ตามกฎหมายได้ทันที
สำหรับ ช่วงเดือน ก.พ.- มี.ค.2564 มีคำสั่งศาลให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและแพลตฟอร์มดำเนินการปิดกั้น หรือลบข้อมูล จำนวน 111 URLs แบ่งเป็น 1.เฟซบุ๊ก จำนวน 59 URLs ปิดแล้ว 24 URL คงเหลือ 35 URLs 2.YouTube จำนวน 9 URLS ปิดแล้ว 9 URL 3.ทวิตเตอร์ 41 URLs ปิดแล้ว 12 URLs คงเหลือ 29 URLs ส่วนที่ผู้ให้บริการฯ/แพลตฟอร์มยังไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาล ก็จะมีความผิดตามกฎหมายต่อไป