ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ปรับลง 2 เดือนต่อเนื่อง-ต่ำสุดรอบ 11 เดือน ขอรัฐเร่งแก้ขาดแรงงาน

เอกชนแนะรัฐเร่งฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน พร้อมลดข้อจำกัด SME เข้าถึงสินเชื่อ หลังดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ปรับตัวลดลง 2 เดือนต่อเนื่อง และต่ำสุดในรอบ 11 เดือน

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2564 อยู่ที่ระดับ 82.3 ปรับตัวลดลงจากระดับ 84.3 ในเดือนเมษายน 2564 และต่ำที่สุดในรอบ 11 เดือน นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 โดยค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 จากสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 ที่ยังไม่คลี่คลายและยังเกิดคลัสเตอร์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต
ขณะที่การฉีดวัคซีนให้กับประชาชนยังมีความล่าช้า และภาครัฐมีการยกระดับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังชะลอตัวและอุปสงค์ในประเทศยังฟื้นตัวช้า ด้านผู้ประกอบการต้องเผชิญกับปัญหาต้นทุนประกอบการปรับตัวสูงขึ้น ทั้งราคาวัตถุดิบและราคาน้ำมัน รวมถึงปัญหาขาดแคลนแรงงาน

ประธานส.อ.ท.  กล่าวว่า ถ้าเป็นไปได้ อยากให้ภาครัฐดูเรื่อง MOU การจ้างแรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้องเข้ามา เชื่อว่าภาคเอกชนยินดีในการออกค่าใช้จ่ายในเรื่องต่างๆ อาทิ state quarantine การตรวจร่างกาย โดยถ้าสามารถที่จะใช้วิธีนี้ขึ้นมาเพื่อไม่ให้มีการแพร่ระบาด และเพื่อป้องกันการขาดแคลนแรงงานด้วย เชื่อว่าจะมีหลายบริษัทขึ้นทะเบียน และรับแรงงานต่างด้าวพวกนี้ และยินดีออกค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขที่เกิดขึ้น

ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการ SMEs ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินและขาดเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ ในด้านการส่งออกยังมีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และอัตราค่าระวางเรือที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงปัญหาการขาดแคลนชิปอิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรม ยานยนต์และไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ฯ

 

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ผ่านโครงการเราชนะ ม.33 เรารักกัน และเพิ่มเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐช่วยสนับสนุนกำลังซื้อในประเทศ ขณะที่เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ในหลายประเทศเริ่มคลี่คลายและเริ่มทยอยเปิดเมือง โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีน มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากความสามารถในการรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-19ได้ดี และความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนให้กับประชาชน รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทำให้การส่งออกของไทยได้รับอานิสงค์มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 92.8 จากระดับ 91.8 ในเดือนเมษายน 2564 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนโควิด-19 ของภาครัฐซึ่งจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันหมู่และควบคุมสถานการณ์โควิด-19ให้คลี่คลายลง ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการลงทุนของภาครัฐ และการขยายตัวของการส่งออกจะช่วยสนับสนุนให้ภาวะเศรษฐกิจไทยมีทิศทางที่ดีขึ้น

ด้านข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ประกอบด้วย

1. เร่งควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และเร่งกระจายวัคซีนให้กับประชาชนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่โดยเร็วที่สุด
2. ออกมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งลดเงื่อนไขและข้อจำกัดในการเข้าถึงสินเชื่อ
3. ออกมาตรการลดค่าน้ำค่าไฟ และค่าสาธารณูปโภคร้อยละ 30 เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs
4. เร่งแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น อาทิ ภาคก่อสร้าง อุตสาหกรรมอาหาร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น รวมทั้งส่งเสริมการจ้างงานโดยเชื่อมโยงอุปสงค์และอุปทานด้านแรงงาน

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ดิโอโก้ โชต้า นักเตะลิเวอร์พูลเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์
เริ่มแล้ว งานมหกรรมถนนอาหาร "อุดรเลิศรส" พร้อมเสิร์ฟเมนูเด็ด ทั้งอาหารคาว-หวานและเครื่องดื่ม สายกินต้องไม่พลาด
ช็อกวงการลูกหนัง! ดิโอโก้ โชตา ดาวยิงลิเวอร์พูล เสียชีวิตกะทันหันในอุบัติเหตุสุดสลด
ลุ้นป่วยจริงหรือปลอม พรุ่งนี้ ศาลฎีกา นัดไต่สวนกลุ่มแพทย์-พยาบาล ร่วมดูแล รักษา "ทักษิณ" ชั้น14
"สภาองค์การนายจ้างฯ" ครบรอบ 48 ปี มุ่งยกระดับแรงงานไทย รับมือเปลี่ยนแปลงสู่ยุค AI
“เดชอิศม์” เข้ามหาดไทยพรุ่งนี้ พร้อมดูแลทุกกรม-บำบัดทุกข์บำรุงสุขปชช. มั่นใจเสถียรภาพรัฐบาลมั่นคง
จีนประกาศเตือนภัยน้ำท่วมฉับพลันทางเหนือ-ตะวันตก
สวนสัตว์เปิดเขาเขียวจัดใหญ่ “ฉลองวันเกิดหมูเด้ง” อายุ 1 ขวบ เด็กเที่ยวฟรี 4 วันเต็ม 10–13 ก.ค.นี้!
"พรรค ปชน." ประกาศ 7 ข้อจุดยืนทางออกประเทศ ถ้า "นายกฯอิ๊งค์" หลุดตำแหน่ง
มติครม. เห็นชอบ “ภูมิธรรม” รักษาการนายกฯ เบอร์หนึ่ง “สุริยะ-พีระพันธุ์ -พิชัย -ประเสริฐ” ตามลำดับ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น