คปภ. สั่งทีมกฎหมาย ตรวจสอบโพสต์จ้างเด็กเอ็นฯ ติดโควิด หวังเคลมประกัน!

คปภ. สั่งทีมกฎหมาย ตรวจสอบโพสต์จ้างเด็กเอ็นฯ ติดโควิด หวังเคลมประกัน!

วันนี้(12 ม.ค.65) ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า กรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อสังคมออนไลน์ประกาศจ้างเด็กเอ็น โดยขอเป็นเด็กเอ็นฯที่ต้องติดเชื้อโควิดเท่านั้น และมีผลตรวจ ATK ยืนยันผล เพื่อต้องการติดเชื้อโควิดและเรียกร้องเอาเงินประกันภัยจากบริษัทประกันภัย การกระทำในลักษณะนี้ อาจเข้าข่ายเป็นการฉ้อฉลประกันภัยและอาจเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย

สำนักงาน คปภ. ได้ส่งทีมสายกฎหมายและคดีเข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงและพบตัวผู้โพสต์ข้อความดังกล่าวแล้ว ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า ผู้โพสต์ดังกล่าวได้มีการเอาประกันภัยโควิด (covid-19) กับบริษัทแห่งหนึ่งด้วย

ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. จะเร่งตรวจสอบและหากพบการกระทำความผิดจะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป นอกจากผู้โพสต์ข้อความดังกล่าวจะกระทำความผิดต่อกฎหมายแล้ว ยังเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ในปัจจุบัน อาจสุ่มเสี่ยงเป็นอันตรายถึงชีวิต และเป็นเหตุให้ไม่ได้รับเงินตามกรมธรรม์ประกันภัย(โควิด-19) หากเข้ากรณีการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ทั้งหากเข้าลักษณะทุจริต ก็อาจถูกดำเนินคดีกรณีเข้าข่ายเป็นการฉ้อฉลประกันภัยอีกด้วย

ซึ่งการนำเข้าข้อมูลผ่านสื่อสารสนเทศ สามารถตรวจสอบหมายเลข IP Address ของผู้โพสต์ได้ และเมื่อทราบตัวผู้กระทำความผิด ก็จะสามารถทราบได้ว่าผู้กระทำจงใจกระทำความผิดเอง หรือเข้ามาพิมพ์ด้วยความคึกคะนอง หรือมีผู้ใช้ให้เข้ามาปล่อยข่าวให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจประกันภัย

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ธุรกิจประกันวินาศภัยมีกลไกการป้องกันที่กำหนดให้บริษัทประกันวินาศภัยสามารถกระทำได้ คือ ตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการชดใช้เงิน หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยของบริษัทประกันวินาศภัย พ.ศ. 2559

โดยให้บริษัทมีระบบตรวจทานความถูกต้องของการรับประกันภัยและข้อมูลเกี่ยวกับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนฯ ที่ชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้ ส่วนในเงื่อนไขกรมธรรมประกันภัย เจอ จ่าย จบ จะมีกำหนดเงื่อนไขทั่วไป “กรณีมีเหตุสงสัยว่าการเรียกร้องเป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่ ให้บริษัทฯ มีสิทธิตรวจสอบและขยายระยะเวลาการจ่ายออกไปตามความจำเป็นไม่เกิน 90 วัน” ซึ่งอาจจะกระทบต่อการจ่ายเคลมเพราะบริษัทมีสิทธิอ้างเป็นเหตุใช้เวลาในการตรวจสอบ

เลขาธิการ คปภ. ฝากย้ำเตือนประชาชนว่ากรณีเมื่อทำประกันภัยแล้ว และเข้าไปที่เสี่ยงเพื่อหวังผลให้ติดเชื้อแล้วเคลมประกันหรือเอาตัวเองไปเสี่ยงรับเชื้อ เพื่อหวังเงินประกันภัย บริษัทอาจจะอ้างเหตุไม่จ่ายสินไหมทดแทนได้ เนื่องจากเป็นกรณีมีการเจตนา จงใจ โดยใช้สิทธิโดยไม่สุจริต หากมีหลักฐาน และถ้าเข้าข่ายเป็นการฉ้อฉลประกันภัยจะมีความผิดทางอาญาด้วย มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ประกาศปิด "จุดชมวิวภูชี้ฟ้า" ชั่วคราว หลังเกิดเสียงปืนใกล้ชายแดนไทย-ลาว
"อนุทิน" บอก "ผู้ว่าฯอำนาจฯ" แจ้งกลุ่มคนอ้างเป็นดีเอสไอ บังคับอดีตผู้สมัครปมฮั้ว สว. ชี้เป็นการรายงานตามปกติ
“ภูมิธรรม” เสียใจไทยพุทธ-มุสลิม ประสบเหตุความรุนแรงพื้นที่ชายแดนใต้ เผยยินดีเจรจาแต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข
กอล์ฟเยาวชนรายการ SAT-GPS JUNIOR TOUR 2025 สนามที่ 4 ด้วยครับ ขอบคุณครับ ตันติกร ฟอร์มฮอตทำสกอร์ 7 อันเดอร์ คว้าแชมป์สนามที่ 4 SAT-GPS Junior Tour 2025
ราคาทองเปิดตลาดเช้านี้ พุ่งปรี๊ด 950 บาท รูปพรรณขายออก 53,200 บาท
"หนองบัวลำภู" ระส่ำ! แผ่นดินไหวขนาด 3.0 ลึก 4 กม. 2 หมู่บ้าน รับรู้แรงสั่นสะเทือน
BRN ออกแถลงการณ์ เสียใจเหตุรุนแรงในปาตานี ยันไม่มุ่งโจมตีพลเรือน
ระทึก ฝนถล่มภูเก็ต ลมกระโชกแรง ชาวบ้านเกาะหลังคาสู้ชีวิตกลางพายุ
ย้อนนาที “ฮุนเซน” สั่งกองทัพขน BM21 หลัง “สปป.ลาว” ส่งทหารยึดพื้นที่
ทั่วไทยเจอฝนฟ้าคะนอง 42 จว.อ่วม ฝนถล่ม เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก กทม.เจอฝน 30%

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น