No data was found

“นพ.ธีระวัฒน์”เผย 7 ข้อ เปิดประเทศ 1 พ.ย. นี้ น่าเป็นห่วงหรือไม่?

กดติดตาม TOP NEWS

"นพ.ธีระวัฒน์"เผย 7 ข้อ เปิดประเทศ 1 พ.ย. นี้ น่าเป็นห่วงหรือไม่?

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ระบุว่า เปิดประเทศหนึ่งพฤศจิกายน..ต้องห่วงหรือไม่?
หมอดื้อ
27/10/64
สภาพพื้นฐาน
1- เปิดประเทศหมายความรวมถึงคนไทยและคนต่างประเทศในการใช้ชีวิตและเดินทางสัญจร
2- ตัวเชื้อ: ตัวเลขการติดเชื้อมีความเป็นไปได้สูงที่มากกว่าตัวเลขที่รับทราบในปัจจุบัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการตรวจมากหรือน้อยและการใช้ ATK ซึ่งมีข้อจำกัดและหลุดรอดได้มาก
เชื้อที่อาจหลุดรอดจากต่างประเทศมีความเป็นไปได้ และลักษณะหน้าตาจะผิดเพี้ยนจากที่มีในประเทศและประสมควบรวมกันต่อไป
3- การตรวจ: ในปัจจุบันแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีการตรวจคัดกรองโดยไม่มีพิธีรีตองโดยกระบวนการพีซีอาร์ ที่ต้องทำได้ทั่วทุกหัวระแหง
ทำให้ไม่สามารถสะท้อนสถานการณ์ความเป็นจริงที่อาจจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆได้ และไม่สามารถนำไปสู่การแยกตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4-การแพร่กระจาย: ผลกระทบจากการแพร่ แม้จะไม่มีอาการก็ตาม เปิดโอกาสให้ไวรัสมีการปรับแต่งตัวเองและอาจนำไปสู่ความสามารถในการติดและการดื้อวัคซีนมากขึ้น
5- วัคซีน: จำนวนสองเข็ม ที่ ขณะนี้ 40% ควรต้องพิจารณาถึงสองเข็มที่ฉีดไปนานแล้วโดยเฉพาะที่เป็นเชื้อตาย ดังนั้น ตัวเลข ผู้ที่ยังคงมีภูมิป้องกันการติดเชื้อ จะน้อยกว่า
และนอกจากนั้น เชื้อที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นไปได้สูงที่จะดื้อวัคซีน โดยที่ประสิทธิภาพจะลดลงเรื่อยๆ จนน้อยกว่า 50% หรือแทบไม่ได้เลยโดยเฉพาะกับวาเรียนท์ เบต้า
การฉีดรวดเร็วเชิงรุกคลุม 80-90% และปลอดภัยสูงเป็นการฉีดเข้าชั้นผิวหนังโดยที่ พิสูจน์แล้วทั้งที่เป็นเข็มกระตุ้นตามสองเข็มแรก ที่ไม่ใช่สูตรไขว้ SV AZ ซึ่งได้ผลไม่ดี
การฉีดเข้าชั้นผิวหนังมีการทดสอบแล้วตั้งแต่เป็นเข็มแรกที่เป็น MDN
ถ้าไม่สามารถแก้ไขการฉีดวัคซีนทั่วถึงและอย่างปลอดภัยได้ โอกาสที่การติดเชื้อจะแพร่ระบาดลุกลามไปได้ทุกพื้นที่และอาการสีเหลืองส้มและสีแดงจะเห็นได้ชัดขึ้นเรื่อยๆ
6- การรักษา: ที่ควรต้องทำอย่างยิ่ง คือการใช้สมุนไพรในประเทศในลักษณะของการให้ ตั้งแต่นาทีแรกที่ติดหรือน่าจะติด ทั้งนี้ต้องพิจารณาอย่างรีบด่วน และถ่องแทั ถึงยาทางเลือกตัวอื่น ที่มีข้อขัดแย้งและข้อสนับสนุนในเรื่องประสิทธิภาพ ทั้งๆที่ไม่ติดสิทธิบัตรและสามารถผลิตในประเทศไทยได้เองโดยสามารถทำให้ราคาไม่กี่บาท
สิ่งเหล่านี้จะช่วยตรึงไม่ให้อาการของโรคยกระดับขึ้นจนต้องเข้า โรงพยาบาล และสถานพยาบาลในระดับต่างๆและนำไปสู่การรักษา ด้วยฟาวิพิราเวีย โมลนูพิราเวีย ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่ายาเหล่านี้จะช่วยในกรณีที่อาการเป็นสีเหลืองหรือเหลืองแก่จะดีที่สุดและการใช้อย่างมหาศาล เป็นไปได้ที่จะมีการดื้อยาเกิดขึ้น ยาแอนตี้บอดี้ ที่ยับยั้งไวรัสได้ชั่วคราวรวมทั้งที่ลดการอักเสบมีราคาสูงมาก
7- วินัย: สถานการณ์ที่มีการประกาศทุกวัน ถึงตัวเลขที่ลดลง ความรุนแรงที่ดูน้อยลงตามวัฎจักรของโควิด ที่จะบรรเทาเบาบาง ไประยะหนึ่งเมื่อความหนาแน่นของการติดเชื้อมากขึ้นพร้อมกับการ ผันแปรของรหัสพันธุกรรม จึงจะเห็นตัวจริงอีกครั้ง
สภาพประหนึ่ง เสมือนว่าคลี่คลายบวกกับสภาวะทางเศรษฐกิจที่พังสลายทำให้ต้องมีกิจกรรมทางสังคมและในชุมชนต่างๆเกิดขึ้นรวมทั้งการเปิดโรงเรียน
ผลกระทบ
ถ้าไม่สามารถยกระดับความเข้มแข็งทั้งวัคซีน การตรวจ และการรักษาตั้งแต่นาทีแรกได้
ในระยะไม่นาน อาจเผชิญกับสถานการณ์ดื้อวัคซีนด้วยเชื้อ subvariants จนถึง เชื้อใหม่จากการควบรวมสายต่างๆเข้าด้วยกัน และนำไปสู่วิกฤติของระบบสาธารณสุข ที่กระทบคนป่วยทั้งที่เป็นและไม่เป็นโควิด

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"กกต." เตือน จูงใจ ชี้ชวนให้คนลงสมัครสว.เสี่ยงผิดกฎหมาย
ข่าวดี "นายกฯ" เผยยางพาราแตะ กก.  100 บาทเร็วๆนี้ ลั่นมาจากการทุ่มเททำงาน ไม่ใช่โชคช่วย
สอบสวนกลาง รวบ "หนุ่มดาวทวิต" ลวงเด็กชายถ่ายคลิปสร้างคอนเทนต์ ขายในกลุ่มลับ
จนท.ชุดลาดตระเวนกว่า 20 นาย เร่งติดตาม "แก๊งผ้าเหลือง" ลอบล่าสัตว์ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
สอบสวนกลาง บุกค้นโรงงานรีไซเคิลพลาสติกเถื่อน ชลบุรี สร้างความเดือนร้อนให้ชุมชน
เปิดเบื้องลึก "รมว.ปุ๋ง" ถูกโยกนั่งวธ. รับงานใหญ่ ลุย Soft Power
สุดแปลก ควายเปลี่ยนสีได้ จากสีเผือกกลายเป็นสีดำทั้งตัว ปศุสัตว์ยันไม่ได้ป่วยหรือเป็นโรคผิวหนัง
"เอกสิทธิ์" ผงาด นั่งหน.พรรคพลังปวงชนไทย คนใหม่ พร้อมชูนโยบายทันสมัย ตอบโจทย์คนไทย
"นายกฯ" ลุยตรวจโรงงานสารเคมีระยอง จี้ถามอธิบดีกรมโรงงานลงพื้นที่ช้า สั่ง 5 ข้อแก้-เยียวยา ปชช.
"ผู้บริหารสาว" บริษัทชั้นนำของโลก เมาแล้วขับ เตรียมส่งทนาย ชี้แจงปมทำร้ายตร.-รับทราบข้อกล่าวหา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น