“เอกนัฏ” เปิดเวทีใหญ่สุราษฎร์ ยกระดับอุตสาหกรรมภาคใต้ รับฟังปัญหา ดันพรบ.ปาล์มน้ำมัน วางระบบระยะยาว

"เอกนัฏ" เปิดเวทีใหญ่สุราษฎร์ ยกระดับอุตสาหกรรมภาคใต้ รับฟังปัญหา ดันพรบ.ปาล์มน้ำมัน วางระบบระยะยาว

วันที่ 18 กรกฎาคม 2568 นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นในการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมของผู้ประกอบการในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี โดยมี นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ประธานคณะที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายเอกนิติ รมยานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายบันดาล สถิรชวาล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายเตมีย์ พันธุวงค์ราช ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย พร้อมด้วย ผู้ประกอบ และผู้เข้ารับการอบรม กว่า 500 ราย เข้าร่วม ณ โรงแรมแก้วสมุย รีสอร์ท จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

 

 

 

รัฐมนตรีฯ เอกนัฏ กล่าวว่า “กระทรวงอุตสาหกรรม มีความมุ่งมั่นที่จะปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย สร้างความเท่าเทียม สร้างรายได้ สร้างโอกาส ในการแข่งขันทางธุรกิจ และสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจยุคใหม่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เชื่อมโยงเศรษฐกิจโลกโดยที่ผ่านมากระทรวงฯ ได้เร่งยกระดับการบริการ ปรับบทบาทกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นการส่งเสริมสนับสนุน (Enable) อำนวยความสะดวก (Facilitate) ควบคู่ไปกับการตรวจสอบกำกับดูแลโรงงานตามกฎกติกาอย่างเข้มข้น (Regulate) เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมเติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชนและประชาชน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ขณะเดียวกัน “อุตสาหกรรมศูนย์เหรียญ” และ “ทุนเทา” ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางให้ทุนต่างชาติเข้ามายึดครองภาคบริการและการผลิต แม้ตัวเลขการลงทุน (FDI) จะดูเป็นที่น่าพอใจ แต่เม็ดเงินกลับไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้ประเทศ โดยภาคการผลิตจำนวนมากเป็นการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ และใช้แรงงานต่างด้าว ซึ่งไม่ได้ทำให้ภาคอุตสาหกรรมในไทยเติบโตอย่างแท้จริง จึงเป็นที่มาของคำว่า “ดัมพ์” น่ากลัวกว่า “ทรัมป์” การจัดการอุตสาหกรรมศูนย์เหรียญ จะเป็นการแก้ปัญหา รับมือการขึ้นภาษีแบบ All Win และยั่งยืน กรณีภาษี 36% ที่สหรัฐกำลังจะประกาศบังคับใช้กับไทยในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ ได้สร้างความกังวลใจให้กับประเทศไทยไม่น้อย ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดใหญ่ที่สุดสำหรับประเทศไทย ที่ส่งออกสินค้าไปขายมากที่สุด จากปัญหาที่ประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ กับประเด็นสินค้า ของถูก ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งอันที่จริงแล้ว เราต้องแข่งขันกันทำสินค้าที่ถูกต้อง ถูกมาตรฐาน ถูกหลักสิ่งแวดล้อม ไม่ใช่แข่งขันกันทำ สินค้าราคาถูก แต่ด้อยคุณภาพ ซึ่งเป็นที่มาของการลักลอบนำเข้าสินค้าผิดกฎหมายและไร้คุณภาพ

 

 

 

 

ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งส่งเสริมให้อุตสาหกรรมไทยก้าวสู่ “Green & Safe Industry” ในการขับเคลื่อนนโยบายอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตบนรากฐานของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยการส่งเสริมให้โรงงานและเกษตรกรชาวไร่อ้อย ศึกษาและให้ความสนใจในเรื่องการผลิตไฟฟ้าชีวมวล ที่ผลิตจากใบอ้อย สนับสนุนให้ใบอ้อย ซึ่งถูกปล่อยทิ้ง หรือถูกเผาทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก โดยสนับสนุนผ่านกลไกส่งเสริมการซื้อขายใบและยอดอ้อย เพื่อนำใบและยอดอ้อยไปผลิตไฟฟ้าขายให้กับภาครัฐ ซึ่งจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยอีกทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้ กระทรวงฯ ได้ร่างกฎหมายส่งเสริมอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน โดยจะมีสำนักอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ที่จะเป็นหน่วยงานหลักในการควบคุมดูแลร่างกฎหมายนี้ และอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ใช้ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ ซึ่งเกษตรกรจะได้ผลประโยชน์จากการขายผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มที่แปรรูป อีกทั้งจะมีระบบประกันรายได้และการสร้างระบบซื้อขายอย่างเป็นธรรม ที่สำคัญ จะทำให้เกษตรกรไม่ต้องเร่งขายปาล์มที่ยังไม่สุกเต็มที่ ควบคู่ไปกับมีการควบคุมการชั่งน้ำหนัก คำนวณเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มอย่างเป็นธรรม ซึ่งถือได้ว่าจะช่วยสร้างผลประโยชน์ให้กับเกษตรกรอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมโดยแท้จริง ซึ่งทั้งหมดนี้ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ให้เติบโตอย่างสมดุล เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความพร้อมในการร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน”

 

 

 

 

สำหรับ กิจกรรมในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย การปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “Empowered to Transform: Driving Green Futures through Innovation” การขอรับคำปรึกษา และร่วมแสดงความคิดเห็นด้าน Digital & Green Transformation การร่วมแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในในเวทีเสวนา กับหน่วยงานราชการ ที่พร้อมจะจับมือกันขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน พร้อมอัปเดตเทรนด์และสาระความรู้ เกี่ยวกับ Digital & Green Transformation นอกจากนี้ ยังมีโซนบูธแสดงสินค้า ที่นำมาจัดแสดงและจำหน่ายกว่า 30 บูธ ตลอดจนบูธสถาบันการเงินและหน่วยงาน ที่พร้อมให้บริการและสนับสนุน เพื่อการพัฒนาธุรกิจ โดยเชื่อมั่นว่า ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้ จะได้รับประโยชน์ และแรงบันดาลใจ และเห็นช่องทางในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่าง มั่นคง ยั่งยืน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ห่วงโซ่อุปทานสีเขียวหนุนผู้ส่งออกทุเรียนไทยไปตลาดจีน
จี้สอบ 17 ประเทศปลายทาง ซื้อ Blackchin Tilapia จากไทย
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ทัพนักศึกษาจีนประชันความแม่นกับหุ่นยนต์ 'ชูตบาส'
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ทะเลสาบเปลี่ยนสีเนรมิต 'ดวงตาแดง' กลางทะเลทรายมองโกเลียใน
โครงการบรรพชาอุปสมบท-บวชชีพรหมโพธิ เฉลิมพระเกียรติ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"
“จตุพร” นำทีมพาณิชย์ หารือหน่วยงานเชียงใหม่ เร่งมาตรการช่วยชาวสวนลำไย ขยายตลาดเพิ่มเป้าส่งออก เดินคู่นโยบาย “ไทยทำ ไทยใช้ ไทยช่วยไทย”

ดู LIVE รายการ

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น​