“ดีอี” เตือนอย่าเชื่อ ข่าวปลอม “จังหวัดฝั่งอันดามัน เฝ้าระวังสึนามิ-แผ่นดินไหวรุนแรง จากภูเขาไฟใต้น้ำ” สร้างความตื่นตระหนก ให้ ปชช.

"ดีอี" เตือนอย่าเชื่อ ข่าวปลอม “จังหวัดฝั่งอันดามัน เฝ้าระวังสึนามิ-แผ่นดินไหวรุนแรง จากภูเขาไฟใต้น้ำ” สร้างความตื่นตระหนก ให้ ปชช.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ตรวจพบข่าวปลอมรายสัปดาห์ ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดอันดับที่ 1 เรื่อง “ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ เฝ้าระวังสึนามิ และแผ่นดินไหวรุนแรง ที่ภูเขาไฟใต้น้ำ” รองลงมาคือเรื่อง “รัฐบาลใช้ฝนเทียม เพื่อสลายการชุมนุม” โดยขอให้ประชาชน อย่าหลงเชื่อข่าวปลอม เลือกเชื่อ เลือกแชร์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ อาจทำให้เกิดความตื่นตระหนก วิตกกังวล สับสน และเข้าใจผิดในสังคม

นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (BDE) ในฐานะโฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กล่าวถึงผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 4 – 10 กรกฎาคม 2568 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 1,039,175 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 638 ข้อความ

สำหรับช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 606 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 29 ข้อความ และช่องทาง Facebook จำนวน 3 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 209 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 87 เรื่อง

ทั้งนี้ กระทรวงดีอี ได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย

กลุ่มที่ 1 : นโยบายรัฐบาล ข่าวสารทางราชการ ความสงบเรียบร้อยของสังคม ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศ จำนวน 98 เรื่อง

กลุ่มที่ 2 : ผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมายจำนวน 31 เรื่อง

กลุ่มที่ 3 : ภัยพิบัติ จำนวน 14 เรื่อง

กลุ่มที่ 4 : เศรษฐกิจ จำนวน 7 เรื่อง

กลุ่มที่ 5 : กลุ่มอาชญากรรมออนไลน์ จำนวน 59 เรื่อง

นายเวทางค์ กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาจากข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจในลำดับต้นๆ ในสัปดาห์นี้ เป็นข่าวเกี่ยวกับเรื่องของภัยพิบัติ ความมั่นคงภายในประเทศ และระหว่างประเทศ ข่าวการให้บริการของหน่วยงานรัฐ ซึ่งมีผลกระทบต่อสังคมส่วนใหญ่ ทำให้เกิดความตื่นตระหนก วิตกกังวล สับสน เข้าใจผิดได้ โดยข่าวที่ได้รับความสนใจจากประชาชนมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

อันดับที่ 1 : เรื่อง ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ เฝ้าระวังสึนามิ และแผ่นดินไหวรุนแรง ที่ภูเขาไฟใต้น้ำ

อันดับที่ 2 : เรื่อง รัฐบาลใช้ฝนเทียม เพื่อสลายการชุมนุม

อันดับที่ 3 : เรื่อง เดือนกรกฎาคม 68 จะมีคนชุมพรและนราธิวาส เสียชีวิตเพราะสึนามิเป็นแสนคน

อันดับที่ 4 : เรื่อง เกิดแผ่นดินไหวขนาด 5.1 แมกนิจูด ลึก 10 กม. ในแนววงแหวนแห่งไฟบริเวณทะเลอันดามัน

อันดับที่ 5 : เรื่อง แจ้งผู้ว่าฯ 7 จังหวัด ชายแดนไทย-กัมพูชา เตรียมแผนอพยพประชาชน
อันดับที่ 6 : เรื่อง เกิดแผ่นดินไหวล้อมไทย ภาคเหนือ-อีสาน-ใต้ ต้องเฝ้าระวัง

อันดับที่ 7 : เรื่อง คนต่างด้าวทำบัตรประชาชนคนไทยได้แล้ว

อันดับที่ 8 : เรื่อง กัมพูชาสั่งห้ามไทย ส่งยาให้ผู้ป่วยผ่านด่านช่องจอม

อันดับที่ 9 : เรื่อง ธนาคารออมสิน เปิดโครงการใหม่ กู้ออนไลน์ ได้ทุกอาชีพ วงเงิน 70,000 บาท

อันดับที่ 10 : เรื่อง เผยคลิปลับ เจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เป็นเพื่อนกับเจ้าของร้านอาหารชาวจีน

สำหรับอันดับ 1 เรื่อง “ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ เฝ้าระวังสึนามิ และแผ่นดินไหวรุนแรง ที่ภูเขาไฟใต้น้ำ” กระทรวงดีอี โดยกรมอุตุนิยมวิทยา ตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นข้อมูลเท็จ โดยขอชี้แจงว่า ในช่วง 10 วันที่ผ่านมา (นับจากวันที่ 3 กรกฎาคม 2025) ไม่พบรายงานการปะทุของภูเขาไฟบนเกาะนิโคบาร์ หรือบริเวณหมู่เกาะอันดามัน และจากแหล่งข้อมูลภูเขาไฟสำคัญ เช่น Global Volcanism Program ก็ไม่พบบันทึกเหตุการณ์ระดับเชิงลึกหรือแผนที่ความร้อนใหม่ใด ๆ ในช่วงนี้ อย่างไรก็ตาม กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหวรวมถึงหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องยังเฝ้าระวังแผ่นดินไหวและสึนามิอยู่ตลอดเวลาและได้มีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ

ด้านข่าวปลอมอันดับ 2 เรื่อง “รัฐบาลใช้ฝนเทียม เพื่อสลายการชุมนุม” กระทรวงดีอี ได้ประสานงานร่วมกับกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นข้อมูลเท็จ โดยขอชี้แจงว่า ข้อมูลที่มีการเผยแพร่ดังกล่าวเป็นข่าวปลอม ซึ่งสร้างขึ้นมาเพื่อหวังปลุกปั่นยุยง

 

 

ทั้งนี้ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีการปฏิบัติการฝนหลวง ในวันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน 2568 จำนวน 1 หน่วยปฏิบัติการ ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดลพบุรี และมีฝนตกบริเวณพื้นที่การเกษตรจังหวัดลพบุรี (อำเภอโคกเจริญ) จังหวัดนครสวรรค์ (อำเภอไพศาลี อำเภอท่าตะโก) จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอวิเชียรบุรี) ซึ่งการปฏิบัติการฝนหลวงไม่มีผลกระทบกับพื้นที่กรุงเทพมหานครแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ดีอี มีความห่วงใยประชาชน เรื่องความตระหนักรู้เท่าทันข่าวปลอมที่ถูกแพร่กระจายบนสื่อออนไลน์ โซเชียล ซึ่งหากขาดความรู้เท่าทันส่งต่อข้อมูลข่าวปลอม ทำให้เกิดการหลงเชื่อ สร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เกิดความวิตกกังวล หรืออาจสร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน หรือข้อมูลส่วนบุคคล และอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง ดังนั้นจึงควรตรวจสอบข้อเท็จจริงของข่าวหรือลิงก์เว็บไซต์ให้แน่ชัด

สามารถแจ้งเบาะแส ข่าวปลอม และอาชญากรรมออนไลน์ทุกรูปแบบ โทรสายด่วน 1111 (24 ชม.)
| Line ID: @antifakenewscenter | เว็บไซต์ www.antifakenewscenter.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ราชกิจจาฯ" ประกาศรายชื่อ 19 แพลตฟอร์มชื่อดัง คุมเข้มขายสินค้าออนไลน์ พบเสี่ยงสูงห่วง “ถูกหลอกเงิน”
"เครือซีพี" หนุนพนักงาน–ชุมชน 13 ทีม ร้อยเรียงความดีร่วมแข่งขันเก็บขยะเชิงสร้างสรรค์ SPOGOMI ขับเคลื่อน Zero Waste เพื่อพรุ่งนี้ที่ดีกว่า
สถาบันการสร้างชาติฯ แถลงดัชนีการมีอิทธิพลต่อการสร้างชาติของผู้สูงอายุ 2025
"ยูเนสโก" รับรอง "พระปรางค์วัดอรุณฯ" เข้าสู่บัญชีเบื้องต้น อีกหนึ่งก้าวสำคัญการขึ้นทะเบียนมรดกโลก
"อ.แก้วสรร" แย้มข่าวใหญ่กกต.จ่อชี้มูลผิด "ทักษิณ" คดีครอบงำพรรค ชี้โผล่เวทีทอล์ค คือดิ้นเฮือกสุดท้าย
ตำรวจตามรวบ 2 คนจีน - 2 คนไทย อุ้มปล้นชาวจีน อ้างรับงาน ซัดทอดผู้ว่าจ้าง ผู้การเมืองชล ลั่น ไม่ใช่ตำรวจ!
ยังไร้เงา "เจ้าอาวาสวัดใหญ่จอมปราสาท" หลังมีเส้นทางเงินโยง "สีกากอล์ฟ" ชาวบ้านเรียกร้องให้กลับมาพิสูจน์
"ดีอี" เตือนอย่าเชื่อ ข่าวปลอม “จังหวัดฝั่งอันดามัน เฝ้าระวังสึนามิ-แผ่นดินไหวรุนแรง จากภูเขาไฟใต้น้ำ” สร้างความตื่นตระหนก ให้ ปชช.
เรือนจำจังหวัดสระแก้ว จู่โจมตรวจค้นกรณีพิเศษ ปฏิบัติการ "อรุณรุ่ง ที่ทุ่งด่าน" หาสิ่งของต้องห้าม อาวุธ และสิ่งผิดกฎหมายในเรือนจำฯ
ตำรวจพัทยา รวบแล้ว 3 ผู้ต้องหา แก๊งโจรอุ้มปล้นนักท่องเที่ยวจีนกลางพัทยา เตรียมแถลงสรุปคดี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น